• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รู้จักกันดีพอหรือยัง ใครต้องเสียเท่าไหร่กันบ้าง?

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รู้จักกันดีพอหรือยัง ใครต้องเสียเท่าไหร่กันบ้าง?

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รู้จักกันดีพอหรือยัง ใครต้องเสียเท่าไหร่กันบ้าง?

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รู้จักกันดีพอหรือยัง ใครต้องเสียเท่าไหร่กันบ้าง?

รู้จักภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะเริ่มใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป แทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่นที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ถูกยกเลิกไป Sanook Money ได้ทำเป็น Q&A เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้

คำถาม : ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร?

  • คำตอบ : เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องเสียภาษีที่กฎหมายกำหนดไว้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คำถาม : เริ่มจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อไหร่?

  • คำตอบ : ในปี 2563 กระทรวงมหาดไทยประกาศขยายระยะเวลาการดำเนินการเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฯ เช่น การเลื่อนกำหนดจ่ายภาษีจากเดือนเมษายน 2563 เป็นเดือนสิงหาคม 2563 เพื่อให้หน่วยงานท้องถิ่นมีเวลาทำงานมากขึ้น เพราะปัจจุบันกฎหมายลูกอีก 8 ฉบับยังไม่เรียบร้อย

คำถาม : ประเภทที่ดินที่ต้องเก็บภาษี?

  • คำตอบ : ที่ดินมี 4 ประเภท ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, อื่นๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรม-ที่อยู่อาศัย (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และรกร้างว่างเปล่า

ภาษีที่ดิน

คำถาม : ที่ดินเกษตรกรรมแบ่งเก็บภาษีอย่างไร?

  • คำตอบ : มูลค่าที่ดิน 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% หรือเสียภาษีล้านละ 100 บาทต่อปี

                   มูลค่าที่ดิน 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% หรือเสียภาษีล้านละ 300 บาทต่อปี

                   มูลค่าที่ดิน 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% หรือเสียภาษีล้านละ 500 บาทต่อปี

                   มูลค่าที่ดิน 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% หรือเสียภาษีล้านละ 700 บาทต่อปี

                   มูลค่าที่ดิน 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1% หรือเสียภาษีล้านละ 1,000 บาทต่อปี

คำถาม : มีข้อยกเว้นสำหรับที่ดินเกษตรกรรมของบุคคลธรรมดาหรือเปล่า?

  • คำตอบ : มี คือ ไม่ต้องเสียภาษีใน 3 ปี แรก (ปี 2563-2565) และ ปีที่ 4 เป็นต้นไป (2556) ได้รับการยกเว้นภาษีในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาทเป็นการถาวร

คำถาม : ภาษีบ้าน-คอนโด เก็บกลุ่มไหน?

  • คำตอบ : เก็บภาษีในกลุ่มคนที่มีบ้านมากกว่า 1 หลัง โดยจะยกเว้นคนมีบ้านหลักแรกเท่านั้น

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

คำถาม : ประเภทที่อยู่อาศัยเป็นเจ้าของที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (บ้าน+ที่ดิน) เก็บภาษีอย่างไร?

  • คำตอบ : บ้านหลังหลักมีมูลค่า 10 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ทั้งในกลุ่มบ้าน และบ้าน+ที่ดิน (ถ้าเป็นบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไปเสียภาษี 0.02% เท่ากับ 200 บาทต่อปี

                      บ้านหลังหลักมีมูลค่า 10-50 ล้านบาท บ้าน+ที่ดิน จะได้รับการยกเว้น แต่เฉพาะตัวบ้าน อัตราภาษี 0.02% หรือล้านละ 200 บาท (ส่วนบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไปเสียภาษี 0.02%)

                      บ้านหลังหลักมูลค่า 50-75 ล้านบาท ตัวบ้าน, บ้าน+ที่ดิน รวมถึงบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป อัตราภาษี 0.03% หรือล้านละ 300 บาท

                      บ้านหลังหลักมูลค่า 75-100 ล้านบาท ตัวบ้าน, บ้าน+ที่ดิน รวมถึงบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป อัตราภาษี 0.05% หรือล้านละ 500 บาท

                      บ้านหลังหลักมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป ตัวบ้าน, บ้าน+ที่ดิน รวมถึงบ้านหลังที่ 2 เป็นต้นไป อัตราภาษี 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท

คำถาม : กรณีไหนบ้างที่ไม่ต้องเสียภาษีบ้าน-ที่ดิน?

  • คำตอบ : บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน มีชื่อในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคม 2563 และบ้านมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี กรณีเป็นเจ้าของเฉพาะบ้านอย่างเดียวมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี

*กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่บุคคลธรรมดามีชื่อเป็นเจ้าขจอง แต่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและไม่ได้ไปให้เช่า ถือเป็นบ้านหลังอื่นต้องเสียภาษีตามปกติ

 

ที่ดิน

คำถาม : ประเภทที่ดินกลุ่มอื่นๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) เก็บภาษีอย่างไร?

  • คำตอบ : ที่ดินกลุ่มอื่นๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างเก็บภาษีในรูปแบบเดียวกัน ดังนี้

                      มูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3% หรือเสียภาษีล้านละ 3,000 บาท

                      มูลค่า 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4% หรือเสียภาษีล้านละ 4,000 บาท

                      มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5% หรือเสียภาษีล้านละ 5,000 บาท

                      มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6% หรือเสียภาษีล้านละ 6,000 บาท

                      มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7% หรือเสียภาษีล้านละ 7,000 บาท

*ภาษีที่รกร้างว่างเปล่าปรับเพิ่มในอัตรา 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 3%

คำถาม : มีทรัพย์สินหรือที่ดินอื่นใดได้รับการยกเว้นภาษีอีกหรือไม่?

  • คำตอบ : ทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี คือ ทรัพย์สินของรัฐที่ไม่ได้หาผลประโยชน์ทรัพย์สินที่ใชเพื่อประโยชน์สาธารณะ (รัฐ/เอกชน), สหประชาชาติ สถานฑูต และทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดหมู่บ้านจัดสรร และนิคมอุตสาหกรรม

คำถาม : ในเมื่อภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้างเข้ามาแทนที่การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่นที่และภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้เสียภาษีเดิมต้องทำอย่างไร?

  • คำตอบ : นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง บอกว่า การบรรเทาภาระภาษี ผู้ที่เคยเสียภาษีโรงรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ และต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิมเนื่องจากกฎหมายนี้ จะได้บรรเทาภาระภาษีของส่วนต่างเมื่อเทียบกับภาษีที่เคยเสียในปี 2562 ดังนี้

                      ปีที่ 1: ภาษีเดิมปี 2562 + 25% ของส่วนต่าง

                      ปีที่ 2: ภาษีเดิมปี 2562 + 50% ของส่วนต่าง

                      ปีที่ 3: ภาษีเดิมปี 2562 + 75% ของส่วนต่าง

คำถาม : ผู้ที่เสียภาษีที่ดินควรดำเนินการทำอย่างไร และมีขั้นตอนหรือกระบวนการอะไรบ้าง?

  • คำตอบ : ผู้ที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องเช็กบัญชีรายการที่ดินของตนเองให้ถูกต้อง หากไม่ถูกต้องสามารถยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้องได้ทันที, ตรวจสอบพื้นที่แบบประเมิน และชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด

คำถาม : จะประเมินมูลค่าที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ห้องชุดอย่างไร ใช้หลักเกณฑ์ใดประเมิน?

  • คำตอบ ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมธนารักษ์มาใช้ และสำหรับปี 2563 นี้ให้นำบัญชีราคาประเมินฯ ปี 2559 - 2562 มาใช้

คำถาม : เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ที่ไหน? 

  • คำตอบ เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.), กรุงเทพมหานคร, เมืองพัทยา (ไม่รวมองค์การบริหารส่วนจังหวัด) เพื่อนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่น

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับซื้อบ้านหรือคอนโด ยกเว้นภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.sanook.com

 2630
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

องค์กรที่ก้าวหน้าอย่างยอดเยี่ยมนั้นมักจะมีผู้นำที่ดีเป็นหัวเรือองค์กรเสมอ ตลอดจนใส่ใจในผู้นำระดับล่างๆ ลงมาที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพในการบริหารงานและบริหารคนได้อย่างดีเยี่ยมไปพร้อมๆ กัน ผู้นำในยุคเก่านั้นอาจต้องเชี่ยวชาญในการใช้อำนาจสั่งการ บริหารคนให้อยู่ในระบบระเบียบ
1173 ผู้เข้าชม
ไม่มีการนิยามความหมายภาษาไทยชัดเจนสำหรับคำว่า Company Outings แต่มนุษย์ออฟฟิศส่วนใหญ่เข้าใจความหมายและชื่นชอบคำนี้กันเป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า Outings (เอาท์ติ้ง) ซึ่งนี่ก็คือกิจกรรมที่ออกไปทำอะไรร่วมกันประจำปีของบริษัทนั่นเอง
3286 ผู้เข้าชม
ใครที่รู้ตัวว่ามีรายได้ที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี รับรองว่าบทความนี้มีประโยชน์ต่อคุณแน่นอน เพราะวันนี้เรามี 10 วิธีที่จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าอะไรที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามแบบฉบับมนุษย์เงินเดือน พราะค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวีตประจำวันสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้มากมาย อีกทั้งยังมีประกันลดหย่อนภาษีที่คุณอาจยังไม่รู้มาก่อนอีกเช่นกัน
772 ผู้เข้าชม
รวบรวมคำศัพท์สายอาชีพ และตำแหน่งงานในแต่ละสายอาชีพทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ได้แก่ งานบัญชี งานธุรการ งานเลขานุการ งานเกษตรกรรม งานประมง งานเหมืองแร่ งานสายการบิน งานการเงิน งานธนาคาร งานก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานที่ปรึกษา งานนักวิเคราะห์ งานบริการลูกค้า งานวิศวกร เป็นต้น
2745 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์