ยื่นภาษี หัก ณ ที่จ่าย กรอกเอกสารอย่างไร

ยื่นภาษี หัก ณ ที่จ่าย กรอกเอกสารอย่างไร

ภ.ง.ด.3 คือแบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคล ที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) จะต้องหักออกจากค่าจ้างที่จ้างบุคคลภายนอกให้มาทำงานให้บริษัท

ส่วนภ.ง.ด.53 คือแบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน ซึ่งเอกสารที่ว่านี้จะต้องนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปทุกเดือน หากเดือนไหนไม่มีการหักก็ไม่ต้องนำส่ง แต่ถ้ามีการหักแต่ไม่นำส่ง ก็จะถูกเสียค่าปรับนะจ๊ะ

เจ้าของธุรกิจต้องรู้อะไรบ้าง

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเข้าอยู่ในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องว่าจ้างให้ทำของหรือใช้บริการ ยกตัวอย่าง จ้างฟรีแลนซ์ (บุคคลทั่วไป) ให้ทำเว็บไซต์ ออกแบบกราฟิก จ้างช่างมาซ่อมแอร์

หรือการว่าจ้างบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี บริษัทออกแบบโฆษณา หรือค่าบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันภัยสินค้า ค่าประกันขนส่ง ค่าเช่าออฟฟิศ ฯลฯ

รายจ่ายเหล่านี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจะมีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ของเงินค่าจ้างของผู้ให้บริการออกมาด้วย โดยที่เงินนี้จะไม่ใช่เงินของเรา แต่เป็นเงินที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร

การหัก ณ ที่จ่าย จะหักตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด แบ่งเป็นรายการประเภทที่ต้องหัก คือ

ค่าขนส่ง ร้อยละ 1
ค่าประกันภัย ร้อยละ 1
ค่าโฆษณา ร้อยละ 2
ค่าบริการ/ค่าจ้างทำของ ร้อยละ 3
ค่าเช่า ร้อยละ 5

ส่วนใหญ่แล้วพ่อค้าแม่ขายจะเจอกับค่าบริการ และค่าเช่าแน่นอน จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจต้องทำความเข้าใจเรื่องภาษี หัก ณ ที่จ่าย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

และเป็นเหตุผลที่ทำให้เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องเก็บเอกสารให้ครบทุกครั้งเมื่อมีการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในธุรกิจของเราเสมอ เพราะในทุกๆ เดือน ทั้งผู้ให้บริการเรา รวมถึงตัวเราซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจต่างก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีให้กรมสรรพากรนั่นเอง เมื่อเจ้าของธุรกิจทำการหัก ณ ที่จ่าย มาแล้ว ก็ต้องทำหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ให้กับบุคคลหรือบริษัทที่มาทำงานให้เรา

จากนั้นเอาเอกสารตัวจริงให้เขา เราเก็บสำเนาเอาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บไว้คู่กันกับใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี จากนั้นเก็บเอกสารทั้งหมดในห้องบัญชี เพื่อเอาไว้ใช้เป็นหลักฐานและเป็นข้อมูลเวลาที่จะต้องทำภ.ง.ด.3 และภ.ง.ด.53 นำส่งกรมสรรพากร

ส่งเมื่อไหร่

ทั้งภ.ง.ด.3 และภ.ง.ด.53 จะนำส่งต่อเมื่อระหว่างเดือนมีการหัก ณ ที่จ่าย ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ถ้าเดือนนี้ไม่หักบุคคลใด หรือบริษัทไหนเลย ก็ไม่ต้องส่ง

หรือถ้าเดือนนี้มีแต่รายการหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะบุคคล ก็ส่งเฉพาะภ.ง.ด.3 หรือถ้ามีหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะนิติบุคคล ก็นำส่งเฉพาะภ.ง.ด.53

แต่ถ้ายื่นผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถยืดเวลาออกไปได้อีก 8 วัน (ถึงวันที่ 15) และสามารถเช็กย้อนหลังหลังส่งแล้วได้ 3 วัน

ทำยังไง     

เริ่มแรก แยกเอกสารรายรับรายจ่ายของเดือนที่จะนำส่งภาษีออกเป็น 2 กอง เลือกเฉพาะกองเอกสารรายจ่ายทั้งหมดมาคัดเอกสารดูว่า เอกสารรายจ่ายชุดไหนที่เรามีการทำหัก ณ ที่จ่าย ไปบ้าง

จากนั้นแยกเอกสารรายจ่ายออกเป็น เอกสารรายจ่ายที่มีหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่เป็นบุคคล และเอกสารรายจ่ายที่มีหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่เป็นนิติบุคคล

เวลาส่งกรมสรรพากร หากนำส่งเฉพาะภาษี หัก ณ ที่จ่าย ของบุคคลธรรมดา จะมีเอกสารภ.ง.ด.3 (ใบปะหน้า) ใบแนบภ.ง.ด.3 (สำหรับลงรายละเอียด) ถ้าหากนำส่งเฉพาะภาษีหัก ณ ที่จ่ายของนิติบุคคล จะมีเอกสารภ.ง.ด.53 และใบแนบภ.ง.ด.53 ถ้าในเดือนนั้นมีการหักทั้งบุคคลและนิติบุคคลก็ต้องนำส่งเอกสารทั้งหมด

การทำ ภ.ง.ด.3 

เอาข้อมูลจากหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่หักจากบุคคลธรรมดา มาใส่ใน ใบแนบภ.ง.ด.3 โดยใส่ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ที่อยู่ วันเดือนปีที่ออกหนังสือฉบับนี้ ประเภทของเงินได้ (เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าเช่า) อัตราภาษีที่หัก จำนวนเงินที่จ่าย และภาษีที่เก็บจากเขามา

ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบ ภ.ง.ด.3
ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบภ.ง.ด.3

ส่วน ใบภ.ง.ด.3 ใส่ข้อมูลของกิจการของเรา เดือนที่จ่าย (เช่น ส่งของรอบเดือนมกราคมก็ใส่เครื่องหมายลงช่องมกราคม) ใส่รายละเอียดว่ามีใบแนบมากี่ใบ ยอดรวมของเงินได้ และยอดรวมของภาษี

การทำ ภ.ง.ด.53

ทำแบบภ.ง.ด.3 เช่นเดียวกัน โดยใส่ข้อมูลเฉพาะนิติบุคคล

ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบ ภ.ง.ด.53

ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบภ.ง.ด.53

เจ้าของธุรกิจทำเองได้ไหม

ได้ เพราะเจ้าของธุรกิจเป็นผู้หัก ณ ที่จ่ายด้วยตนเอง ก็จะถือว่าเป็นผู้ที่รู้กิจกรรมต่างๆ ของกิจการดีที่สุด แต่ถ้าคิดว่าไม่สะดวกก็จ้างสำนักงานบัญชีทำให้ก็ได้ หากต้องเช็กดูตัวเลขให้ดีว่าส่งครบอย่างเรียบร้อย

ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถลดความกังวลเรื่องการคำนวณผิดพลาดโดยใช้โปรแกรมบัญชีช่วยคำนวณตัวเลขให้อัตโนมัติได้

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้

ที่มา : flowaccount.com

 6063
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

พนักงานทุกคนจะต้องถูกหัก 5% ของเงินได้ในแต่ละเดือน เพื่อนำส่งในกับสำนักงานประกันสังคม เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม แบ่งไปไหนบ้าง! เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น
6151 ผู้เข้าชม
นื่องจากความเชื่อข้างต้น ก็เลยทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้เงิน เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ โดยเริ่มต้นจากเรื่องของเงินเดือนเป็นอันดับแรก ให้เงินเดือนเพราะต้องการให้พนักสร้างผลงานให้กับองค์กร จากนั้นก็ต่อด้วยเรื่องของการให้คอมมิชชั่นสำหรับพนักงานขาย ใครที่ขายได้มาก ก็ยิ่งได้เงินมากขึ้น ระยะหลังๆ มานี้ก็เริ่มมีสิ่งที่เรียกกว่า pay for performance เกิดขึ้น โดยเอาผลงานของพนักงานมาเป็นพื้นฐานและผูกด้วยระบบการจ่ายค่าจ้างที่เป็นไปตามผลงาน ใครทำงานได้ดี ก็ได้รับเงินรางวัลที่สูงกว่าคนที่ทำผลงานได้ไม่ดีพอ โดยบางแห่งก็กำหนดเป็นเรื่องของโบนัสตามผลงาน คำถามก็คือ เงินรางวัลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราสามารถใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในระยะยาวได้จริงๆ หรือ
1181 ผู้เข้าชม
มีการเผยแพร่บทความที่น่าสนใจเรื่อง 6 People Strategies for Startups โดย Shefali Anand อดีตผู้สื่อข่าวของ Wall Street Journal ในประเทศอินเดีย เขามีโอกาสติดตามข่าวสารด้านการลงทุนต่างๆ ของนักลงทุนหน้าใหม่ตลอดเวลา จึงมีข้อมูลนำมาประมวล จนสรุปคำแนะนำที่น่าจะสร้างแนวคิดหรือประโยชน์แก่คนที่อยากเป็นเถ้าแก่รุ่นใหม่มือใหม่ของบ้านเรา
1866 ผู้เข้าชม
กระบวนการสมัครงานของคุณได้ผ่านพ้นไปแล้วตั้งแต่ขั้นตอนการส่งประวัติส่วนตัวไปยังนายจ้างการสัมภาษณ์งานในแต่ละรอบ จนตอนนี้คุณคือผู้ถูกเลือกจากนี้ไปคุณต้องทำอะไรบ้าง ตรวจสุขภาพ บางบริษัทอาจส่งคุณไปตรวจร่างกาย ว่าคุณมีสุขภาพดีสามารถทำงานให้เขาได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง ส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหา ได้ทำงานแน่นอน หาผู้ค้ำประกัน หากเป็นงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเงิน ๆ ทอง ๆ อาจต้องมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งบางแห่งไม่อนุญาตให้ญาติเป็นผู้ค้ำประกัน ผู้สมัครงานจึงต้องหาผู้ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับนับถือมาเป็นผู้ค้ำประกันให้ ทำสัญญาว่าจ้าง โดยทั่ว ๆ ไปเป็นสัญญามาตรฐานว่ามีการตกลงว่าจ้างงานกัน รวมถึงเรื่องอัตราค่าจ้าง ผลตอบแทนต่าง ๆ และข้อบังคับของบริษัท ทดลองงาน แม้คุณจะได้เข้าทำงานแล้ว แต่คุณยังไม่ได้เป็นพนักงานเต็มตัว ต้องผ่านการทดลองงานเสียก่อน โดยปกติแล้วใช้เวลา 3-6 เดือน จึงจะได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ
3491 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์