หน้าคลาสสิฟายด์ในหนังสือพิมพ์หลายฉบับล้วนเป็นเป้าหมายของคนหางานทั้งสิ้น ฉะนั้นการมองหาตัวช่วยอื่น เช่น การขอข้อมูลตำแหน่งว่างจากเพื่อนที่เป็นคนวงในบริษัทที่คุณหมายปอง จะช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์เข้าถึงงานได้ดีกว่าการหว่านสมัครไปทั่วราชอาณาจักร
แต่ถ้าเพื่อนเก่าก็ไม่ค่อยมี ก็ต้องหัดใช้ประโยชน์จากงานสังคม เช่น ปาร์ตี้วันเกิดเพื่อน งานเลี้ยงส่งเพื่อนร่วมงาน งานแต่งงานเพื่อน ฯลฯ เพื่อสร้างคอนเน็กชั่นกับคนใหม่ๆ เอาไว้บ้าง เผื่อวันหน้าวันหลังจะได้เป็นช่องทางดีๆ ในการหางานใหม่ไงล่ะ
สมมติว่างานที่คุณทำอยู่ตอน นี้คือหัวหน้าฝ่ายการตลาด แล้วอยากเปลี่ยนงานใหม่ แต่บังเอิญไม่มีบริษัทไหนเปิดรับตำแหน่งนี้เลย ก็ควรลองมองหางานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปพลางๆ เช่น ไปสมัครเป็นอาจารย์สอนวิชาด้านการตลาด หรือหากใครที่เป็นพนักงานธนาคารก็อาจหางานที่เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน เป็นต้น
ถ้าคุณพร้อมจะเปลี่ยนแปลง คิดว่าตัวเองมีศักยภาพในการเรียนรู้สิ่งใหม่และมุ่งมั่นจะทำสิ่งนั้นให้ดีขึ้นได้ ควรเทคคอร์สอบรมเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพใหม่ โดยเฉพาะงานที่ส่อแววว่าจะเติบโตขึ้นชนิดสวนกระแสเศรษฐกิจตกต่ำ เช่น งานเกี่ยวข้องกับด้านสิ่งแวดล้อม ก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
ไหนๆ ก็ไปสมัครและสัมภาษณ์ตำแหน่งงานที่แม้ไม่โดนใจคุณมากนัก อาจเพราะเป็นงานชั่วคราวที่ต้องต่อสัญญาระยะสั้น 3 เดือน 6 เดือน ซึ่งนายจ้างจะคอยติดตามผลงานของคุณเป็นระยะๆ หรือด้วยเหตุผลใดก็ตาม นาทีนี้ได้งานอะไรก็ต้องคว้าเอาไว้ก่อน เพราะอย่างน้อยจะได้นำเงินเดือนมาซัพพอร์ตค่าครองชีพ แต่ในระหว่างทำงานก็ควรเต็มที่กับงานนั้นๆ และต้องไม่ปล่อยให้เวลาของการหางานใหม่ผ่านไปอย่างไร้ค่าเช่นกัน
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้
ที่มา : www.jobdst.com