มีรายได้มาจากต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีอย่างไร

มีรายได้มาจากต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีอย่างไร

ทุกคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วนะคะ ว่าถ้าหากเรามีรายได้ในประเทศ เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องนำรายได้นั้นไป ยื่นภาษี และเสียภาษีตามเกณฑ์ที่ กรมสรรพากร กำหนด แต่ถ้าเรามีรายได้จากต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วยละ เราจำเป็นจะต้องเอาเงินตรงนั้นมาเสียภาษีด้วยหรือเปล่า


แหล่งเงินได้ในประเทศ vs แหล่งเงินได้จากต่างประเทศ

ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่า เงินได้ในประเทศและเงินได้จากต่างประเทศมีความแตกต่างกันยังไง

1. แหล่งเงินได้ในประเทศ

ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคแรก ได้กำหนดไว้ว่า แหล่งเงินได้ในประเทศ คือ เงินที่เกิดจากการทำงานที่ก่อให้เกิดรายได้ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น

  • เงินค่าจ้าง
  • เงินจากการให้เช่าทรัพย์สิน
  • เงินที่ได้จากการทำกิจการในประเทศไทย
  • ค่าลิขสิทธิ์
  • เงินที่มาจากกิจการในประเทศไทย แต่มีการทำงานที่ทำให้เกิดรายได้ในต่างประเทศ แต่การทำงานนั้นเป็นไปเพื่อทำให้เกิดรายได้ในประเทศไทย

ตัวอย่างเช่น

นางสาวกระต่าย ทำงานให้บริษัท A ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนั้น รายได้จากค่าจ้างของนางสาวกระต่าย จึงเป็นแหล่งรายได้ในประเทศ

นายแรบบิท ทำงานให้บริษัท A ซึ่งเป็นบริษัทไทย แต่ต้องไปปฏิบัติงานอยู่ที่สาขาญี่ปุ่น ซึ่งในกรณีนี้ยังถือว่าเป็นการทำรายได้ให้กับบริษัท A ที่อยู่ประเทศไทยอยู่ ดังนั้น รายได้จากค่าจ้างของนายแรบบิท จึงเป็นแหล่งเงินได้ในประเทศ

2. แหล่งเงินได้จากต่างประเทศ

ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 41 วรรคสองและวรรคสาม ได้กำหนดไว้ว่า แหล่งเงินได้จากต่างประเทศ ได้แก่

  • การทำงานในต่างประเทศ ให้กับนายจ้างที่อยู่ต่างประเทศ หรือ ทำงานในประเทศไทยแล้วส่งงานให้กับนายจ้างที่อยู่ต่างประเทศ
  • การไปประกอบกิจการในต่างประเทศ และส่งเงินเข้ามาในประเทศไทย
  • การนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ เช่น หุ้นหรือพันธบัตร
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการส่งสินค้าในประเทศไทยออกไปขายยังต่างประเทศ

ตัวอย่างเช่น

นางสีส้ม เป็นคนไทย ทำงานให้กับบริษัท B ซึ่งเป็นบริษัทเกาหลีที่ตั้งอยู่ในประเทศเกาหลี แต่นางสีส้มทำงานอยู่ในสาขาประเทศไทย ที่ต้องส่งผลงานไปยังบริษัทแม่ที่ประเทศเกาหลี ดังนั้น รายได้จากค่าจ้างของนายแรบบิท จึงเป็นแหล่งเงินได้จากต่างประเทศนั่นเอง

เมื่อเรารู้ความแตกต่างของเงินได้ทั้ง 2 ประเภทแล้ว เรามาดูกันดีกว่าว่า ถ้าคุณมีเงินได้จากต่างประเทศแล้ว คุณจะต้องเสียภาษีอย่างไรบ้าง


เงินได้จากต่างประเทศ เสียภาษีอย่างไร

ถึงแม้คุณจะมีเงินได้จากต่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องนำรายได้ส่วนนั้นมา คำนวณภาษี ทุกกรณีนะคะ โดยสำหรับแหล่งเงินได้จากต่างประเทศที่เข้าเกณฑ์เสียภาษี คือ

ผู้ที่มีรายได้พักอยู่อยู่ในประเทศไทยในปีเป็นเวลา  180 วัน ซึ่งอาจจะอยู่อย่างต่อเนื่องหรือไม่ก็ได้ แต่รวมระยะเวลาแล้วได้ถึง  180 วัน โดยยึดระยะเวลาตามพาสปอร์ตของผู้มีรายได้

แปลว่า ถ้าคุณมีเงินที่ได้จากการทำงานในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เงินจากกิจการที่ตั้งอยู่ต่างประเทศ และทรัพย์สินอื่นๆที่อยู่ต่างประเทศ คุณจะต้องเสียภาษีก็ต่อเมื่อ คุณอยู่ในประเทศไทย 180 วันขึ้นไป และนำเงินรายได้ที่ได้รับ เข้ามาในประเทศไทยในปี ภาษี เดียวกันกับที่เกิดรายได้ หากไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวก็ไม่จำเป็นจะต้องเสียภาษีเงินได้ค่ะ

ตัวอย่างเช่น

นายสมคิด เป็นนักกีฬาอาชีพ ที่ทำรายได้จากการแข่งขันในต่างประเทศในปี พ.ศ. 2560 และนำเงินนั้นเข้ามาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 เช่นกัน และนายสมคิดใช้เวลาอยู่ฝึกซ้อมในประเทศไทยเป็นเวลา 7 เดือน ดังนั้น นายสมคิดก็จำเป็นจะต้อง นำรายได้มาเสียภาษี ตามอัตราที่กำหนดค่ะ


อนุสัญญาภาษีซ้อน ป้องกันการเสียภาษีซ้ำๆ

การเก็บภาษีเงินได้จากต่างประเทศนั้น มีข้อตกลงทางภาษีระหว่างประเทศที่คุณควรรู้จัก คือ อนุสัญญาภาษีซ้อน หรือ Double Taxation Agreement (DTAs)

อนุสัญญาภาษีซ้อน คือ สนธิสัญญาทางภาษีแบบทวิภาคี (Bilateral Treaties) ที่เป็นการลงนามระหว่างประเทศไทย และ ประเทศคู่สัญญาต่างๆ เพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อน ในกรณีที่เงินได้ของบุคคลหนึ่งเข้าเกณฑ์การเสียภาษีมากกว่า 1 ครั้ง ภายใต้กฎหมายภาษีอากรของประเทศมากกว่า 1 ประเทศขึ้นไป

พูดง่ายๆ คือ

ถ้าคุณมีรายได้จากต่างประเทศที่เป็นประเทศคู่สัญญานี้แล้วละก็ คุณอาจจะสามารถเสียภาษีในประเทศไทยน้อยลงได้ เนื่องจากสัญญานี้จะช่วยลดภาระการจ่ายภาษีที่ซ้ำซ้อนลง แถมยังช่วย ลดการหลีกเลี่ยงภาษี ระหว่างประเทศ และช่วยส่งเสริมการค้าการลงทุน ให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศกันได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ตัวอย่างเช่น

นางสาวเอมมี่ เป็นชาวเยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศคู่สัญญากับประเทศไทย เธอได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2560 และไปกลับประเทศเยอรมันอยู่ประจำ แต่โดยรวมแล้วเธอพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลารวมๆ 8 เดือน ซึ่งในปี พ.ศ. 2560 นางสาวเอมมี่ได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ลงทุนไว้ในประเทศเยอรมันเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวเวลาอยู่ประเทศไทยด้วย

เมื่อพิจารณาแล้ว นางสาวเอมมี่ อยู่นประเทศไทย เกิน 180 วัน จึงเข้าข่ายจะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย ซึ่งถ้านางสาวเอมมี่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จากที่เยอรมันมาแล้ว ก็จะสามารถนำเงินภาษีที่ได้ชำระไปที่เยอรมัน มาหักลบจากจำนวนภาษีที่ต้องชำระในประเทศไทยได้ จึงเป็นการลดภาระภาษีของนางสาวเอมมี่ลงนั่นเอง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้


ที่มา : rabbitfinance.com

 71055
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

จะถามคำถามอย่างไรให้รู้ว่าผู้สมัครงานมีแรงจูงใจในการทำงานมากแค่ไหน เพราะขณะสัมภาษณ์งานผู้สมัครทุกคนย่อมต้องแสดงออกถึงความกระตือรือร้นอยากได้งานทั้งนั้น ลองเจาะประเด็นตามคำแนะนำ ต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้
2359 ผู้เข้าชม
"เบื่อกับงานตรงหน้า แต่จะลาออกก็ไม่ได้" มาดู 5 เทคนิคฟื้นฟูสภาพจิตใจสำหรับผู้ประกอบการ
1212 ผู้เข้าชม
แม้ว่าการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานนั้น จะมี AI เข้ามาช่วยมากขึ้นในการ screen และ การ Matching คุณสมบัติของผู้สมัคร อีกทั้งยังมี chatbot ที่เข้ามาช่วยในการพูดคุยสัมภาษณ์เบื้องต้นได้ แต่สุดท้าย เราก็ยังคงต้องมีการสัมภาษณ์แบบที่เป็นมนุษย์คุยกันอยู่
1222 ผู้เข้าชม
หากใครที่กำลังมองหาการออมในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ต้องบอกไว้ก่อนว่า สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2562 นี้เท่านั้นนะครับ หรืออีกนัยนึงก็คือ จะมียกเลิกการใช้กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF มาลดหย่อนภาษี ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปนั่นเอง แต่ก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ เพราะถึงแม้ว่า LTF จะถูกยกเลิก ในการนำมาลดหย่อนภาษีได้
1182 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์