คำถามที่ใช้วัดแรงจูงใจของผู้สมัครงาน

คำถามที่ใช้วัดแรงจูงใจของผู้สมัครงาน


จะถามคำถามอย่างไรให้รู้ว่าผู้สมัครงานมีแรงจูงใจในการทำงานมากแค่ไหน เพราะขณะสัมภาษณ์งานผู้สมัครทุกคนย่อมต้องแสดงออกถึงความกระตือรือร้นอยากได้งานทั้งนั้น ลองเจาะประเด็นตามคำแนะนำ ต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้


1. ประวัติการทำงาน

          การพูดคุยถึงประวัติการทำงานที่ผ่านมาของผู้ สมัครงานสามารถใช้ประเมินแรงจูงใจของผู้สมัครได้ จากระยะเวลาที่เขาทำงานแต่ละบริษัท เขาอยู่แต่ละที่นานแค่ไหน เคยได้รับการเลื่อนตำแหน่งหรือไม่ เคยถูกซื้อตัวให้ย้ายงานหรือไม่ สาเหตุที่ย้ายงานเพื่อความก้าวหน้าหรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ นายจ้างเก่าเคยรับพนักงานที่ออกไปแล้วกลับเข้าทำงานหรือไม่ เป็นต้น


2. ความสนใจที่นอกเหนือจากงาน

          คนที่มีแรงจูงใจจะไม่ได้มีแต่แรงจูงใจในการทำ งานเท่านั้น แต่รวมถึงแรงจูงใจในชีวิตด้วย จึงควรมีการพูดคุยถึงความสนใจอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากงาน ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก การหาความรู้เพิ่มเติม เป้าหมายในชีวิต คนเหล่านี้มักมีความใฝ่ฝัน และหาโอกาสพัฒนาตนเองผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การอ่านหนังสือ การเรียนภาษา การวิ่งมาราธอน การร่วมกิจกรรมกับกลุ่มที่สนใจ เป็นต้น


3. ความล้มเหลวที่ผ่านมา

          แรงจูงใจช่วยให้เราโฟกัสในงานที่ทำ แม้ว่าอาจต้องพบกับอุปสรรคที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้สัมภาษณ์งานจึงควรถามคำถามผู้สมัครงานเกี่ยวกับความผิดพลาดพี่ผ่านมา เพื่อค้นหาว่าเขารู้จักตนเองดี เพียงไร เช่น อุปสรรคที่ยากลำบากที่สุดที่เขาเคยเผชิญคืออะไร และเขาผ่านมันมาได้อย่างไร เขาเคยทำงานผิดพลาดหรือไม่ เขารู้สึกอย่างไร และแก้ปัญหานั้นอย่างไร


4. บุคคลอ้างอิง

          สอบถามบุคคลอ้างอิงที่ผู้สมัครงานให้ไว้ หากผู้สมัครเป็นที่ชื่นชม บุคคลอ้างอิงย่อมยินดีที่จะเล่าเกี่ยวกับผู้สมัครให้ฟังด้วยน้ำเสียงชื่นชม แต่ถ้าตอบเป็นพิธี แสดงว่ารู้สึกเฉย ๆ กับผู้สมัครงาน ไม่ Recommend แต่อย่างใด คุณอาจให้บุคคลอ้างอิงลองให้คะแนนผู้สมัคร 1-5 โดยผู้ที่ผ่านเกณฑ์จะต้องได้คะแนนตั้งแต่ 4 คะแนนขึ้นไป

การสร้างแรงจูงใจสามารถสร้างได้หลายวิธี ถ้าคุณสงสัยว่า เงินสามารถสร้างแรงจูงใรได้หรือไม่? ก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้เลย


ที่มา : www.dotproperty.co.th

 2359
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี? เป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยอยู่บ่อยๆ ถึงกับขั้นไปค้นหาใน Google กันจนฮิตติดกระแส แต่ความเป็นจริงแล้วมีหลักการคิดแบบนี้จ้า
1019 ผู้เข้าชม
ในภาวะเศรษฐกิจแผ่วลงทุกวัน เช่นในปีสองปีที่ผ่านมาจนลากยาวมาปีนี้ หากองค์กรมุ่งหมายให้อยู่รอดแล้วก็มักหนีไม่พ้นที่จะต้องลดงบประมาณค่าใช้จ่ายทุกทาง หลายองค์กรรัดเข็มขัดไม่เพิ่มอัตรากำลังคนเพื่อรองรับงานใหม่ แต่เน้นเพิ่มงาน (Job Enlargement) ให้กับพนักงานคนเก่าที่ยังทำงานอยู่แทนที่จะรับคนใหม่เข้ามา (เรียกว่ามุ่งใช้คนให้คุ้มค่าเงินที่ว่าจ้างให้มากที่สุด) ในขณะที่หลายองค์กรเลือกตัดลดงบประมาณฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรลง
5084 ผู้เข้าชม
คำถามนี้น่าสนใจมากนะครับ เพราะว่ามันมีผลทั้งกับทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายที่มองหางานก็ต้องเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ ฝ่ายที่จะรับเข้าทำงานก็ต้องนัดหมายคนที่เกี่ยวข้องเพื่อลงตารางเวลาสัมภาษณ์ ก่อนอื่นเราต้องกลับมาดูที่จุดประสงค์ของการสัมภาษณ์งานก่อน
3906 ผู้เข้าชม
อาการแบบนี้เกิดขึ้นกับพนักงานของท่านหรือเปล่า - อาการป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ - อาการป่วยการเมือง - อาการป่วยจริง - ลางานเป็นประจำ หรือ ขาดงานอยู่บ่อยๆ จนหัวหน้าต้องตาม จะทำอย่างไร? เมื่อพนักงานของท่านขาดงาน
15789 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์