เวลาทำงานแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Time คืออะไร?

เวลาทำงานแบบยืดหยุ่น หรือ Flexible Time คืออะไร?

เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??

           พูดถึงเรื่อง Time ในองค์กร ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการเข้า – ออกตามกะงานต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ก็ยังคงมีการกำหนดขอบเขตการลงเวลาเข้า – ออกที่เป็นเวลาตายตัวที่องค์กรกำหนดไว้เท่านั้น

...แต่ก็มีบางองค์กรที่นำ “ระบบการลงเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น” หรือ “Flexible Time” มาปรับใช้

  • พนักงานสามารถเข้า – ออกงาน เวลาใดก็ได้ภายใต้กรอบเวลาที่องค์กรกำหนด
  • พนักงานแค่ทำงานได้ครบตามชั่วโมงที่องค์กรกำหนด

ซึ่งระบบการทำงานแบบยืดหยุ่นนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจคนทำงานรุ่นใหม่ไม่น้อยเลยทีเดียว เนื่องจากสามารถบริหารจัดการเวลาเข้างานของตัวเองได้อย่างอิสระ

โดยเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Time) ที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ประมาณ 3 รูปแบบ ดังนี้

1. จับกะงานอัตโนมัติ

ต้องบอกว่ารูปแบบนี้เป็นที่นิยมใช้ในอันดับต้น ๆ โดยองค์กรจะกำหนดเวลาเข้า – ออกกะงานเป็นช่วง ๆ ไว้ ส่วนใหญ่ก็จะกำหนดให้ 3 ช่วงเวลา ซึ่งก็จะมีเวลาเข้างานที่แตกต่างกัน เมื่อพนักงานลงเวลาเข้าใกล้เคียงกะไหน ก็จะทำงานในกะงานนั้น และทำงานจนถึงเวลาออกงานของกะงานนั้น ๆ เช่นกัน

       เช่น องค์กรกำหนดไว้ 3 กะงาน

       08.30 – 17.30

       09.00 – 18.00

       09.30 – 18.30

       พนักงานมาทำงาน 08.53 ก็ยังไม่สาย เพราะว่าเข้ากะ 09.00 – 18.00 ได้ สบายใจ ^^ เคสนี้ยืดหยุ่น เหมาะสำหรับองค์กรที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีรถติดชนิดร้ายแรง แต่ถ้ายังดันมาช้าเกิน 09.30 ก็ต้องสายแล้วน๊า

 

2. ทำงานครบตามชั่วโมง

รูปแบบการทำงานนี้ เน้นการนับชั่วโมงการทำงานเป็นหลัก พนักงานจะเข้า – ออกเวลาไหนก็ได้ แค่ทำงานให้ครบตามชั่วโมงที่องค์กรกำหนดเท่านั้น ก็พอ โอ้โห!! แบบนี้วัยรุ่นชอบ ...ตื่นสายได้

 

3. ชดเชยเวลาเข้างานสาย

            ฟังดูงง ๆ จริง ๆ รูปแบบนี้ ก็คล้ายกับแบบที่ 1 นั่นแหละจ้า เพียงแต่ว่าองค์กรจะกำหนดช่วงเวลาการทำงานมาให้ พร้อมจำนวนชั่วโมงที่พนักงานจะต้องทำ ดังนั้นถ้ามาสาย ก็แค่ทำชดเชยให้ครบตามชั่วโมงที่กำหนดไว้แค่นั้น  แต่!! ต้องไม่เกินเวลาที่องค์กรอนุญาตให้ชดเชยนะ

            เช่น องค์กรกำหนดไว้ 3 กะงาน

       08.30 – 17.30

       09.00 – 18.00

       09.30 – 18.30

โดยให้ทำงาน 8 ชั่วโมง สามารถทำงานเพื่อชดเชยสายได้ถึง 19.00 น.  เท่านั้น

            นั่นหมายความว่า ถ้าคุณมาทำงาน 10.00 – 19.00 น. แสดงว่าคุณทำงานครบ 8 ชั่วโมง และยังออกไม่เกิน 19.00 น. อีกด้วย แบบนี้ก็ไม่ถือว่าสาย  

...แต่ ถ้าคุณมาทำงาน 10.30 น. แล้วองค์กรให้ทำได้ถึง 19.00 น. เท่านั้น แบบนี้ก็ยอมสายเถอะนะ ^^

แต่ยังไงเราต้องมี เคล็ดลับสร้างความสุขในการทำงาน เพื่อให้ทุกฝ่ายสามารถทำงานร่วมกันได้และองค์กรก็จะพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

 18049
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management หรือ HRM) คืออะไร มีลักษณะ และขอบเขตของการทำงานอย่างไรบ้าง
49789 ผู้เข้าชม
เมื่อทำงานมาสักพัก หลายคนก็เริ่มคิดอยากมีทรัพย์สินใหญ่ๆ เป็นของตัวเองกันแล้ว โดยเฉพาะการซื้อบ้าน ที่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับการดำรงชีวิต แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายสักเท่าใดเนื่องจากมีหลายปัจจัยที่สำคัญ ทั้งราคาบ้าน ค่างวดบ้าน ไปจนถึงการใช้ดอกเบี้ยบ้านเพื่อลดหย่อนภาษี
1090 ผู้เข้าชม
ในแต่ละปี หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกา จัดอันดับรัฐโลกตามระดับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง และยิ่งตัวเลขยิ่งต่ำเท่าไหร่ก็ยิ่งถือว่าประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้นเท่านั้น
1874 ผู้เข้าชม
นายปรี๊ดค้นเจอบทความชิ้นหนึ่งของผู้เขียน ชื่อ นาเดีย กูดแมน จากเว็บไซต์ ideas.ted.com ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ ดร.เคลลี่ แมคกอนิกัล (Kelly McGonigal) อาจารย์สาขาจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด ผู้เขียนหนังสือ “The Willpower Instinct” ซึ่งถูกแปลมากว่า 10 ภาษาและประสบความสำเร็จมากในประเทศญี่ปุ่น เป็นหนังสือสไตล์ฮาวทู (how to) เผื่อใช้จัดการวินัยในตนเอง บนฐานคิดและหลักฐานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเอง
1251 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์