ถ้ายื่นภาษีไม่ทัน…จะเกิดอะไรขึ้น

ถ้ายื่นภาษีไม่ทัน…จะเกิดอะไรขึ้น

โดยปกติการยื่นภาษีสามารถทำได้ทั้งที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งข้อดีของการยื่นภาษีออนไลน์คือ

จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบฯและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน จนบางครั้งเราอาจชะล่าใจ ผลัดวันไปเพราะวันนี้ยังหาเอกสารไม่ครบ วันนี้ติดประชุม หรือสารพัดเหตุผล พอรู้ตัวอีกทีก็เลยกำหนดยื่นภาษีไปเสียแล้ว แล้วอย่างนี้ควรทำอย่างไรดี


“ยื่นภาษีไม่ทันควรทำอย่างไรดี”

ก่อนอื่นอย่าพึ่งตกใจไปครับ เพราะทุกปัญหามีทางออกเสมอโดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1. ยื่นภาษีล่าช้า หรือลืมยื่นภาษี

วิธีแก้ : ให้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง และกรอกแบบฟอร์มภาษี นำไปยื่นกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ให้เร็วที่สุด โดยการยื่นเพิ่มเติม หรือ ยื่นเกินกำหนดเวลาจะไม่สามารถยื่นภาษีผ่านออนไลน์ได้

2. ยังไม่ได้จ่ายภาษี หรือจ่ายน้อยกว่าจำนวนที่ต้องจ่ายจริง

วิธีแก้ : นอกจากจะต้องจ่ายภาษีส่วนที่ค้างอยู่นั้น ท่านอาจจะต้องจ่ายค่าปรับซึ่งเป็นบทลงโทษที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้า หรือจ่ายภาษีไม่ทันกำหนดอีกด้วย

“บทลงโทษจากการยื่นภาษีล่าช้า จ่ายไม่ทันกำหนด มีอะไรบ้าง”

ในกรณีที่ยื่นภาษีล่าช้า จ่ายภาษีไม่ทัน หรือจ่ายภาษีแต่ไม่ครบ โดยปกติจะต้องมีการจ่าย “เบี้ยปรับภาษี” และ “เงินเพิ่ม” นอกจากนี้อาจมีโทษทางอาญาด้วย เช่น เสียค่าปรับหรือจำคุก แล้วแต่ความผิดว่าเป็นเรื่องร้ายแรงขั้นไหน


ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท

2. เงินเพิ่ม

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
  • โดยเงินเพิ่มที่เสียต้องไม่เกินจำนวนภาษี
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

3. ค่าเบี้ยปรับ

  • กรณี ยื่นแบบภาษีเพิ่มเติม ค่าเบี้ยปรับคิดเป็น 1 เท่าของเปอร์เซ็นเบี้ยปรับ (หากลืมยื่นภาษีซื้อ ไม่ต้องขอยื่นเพิ่มเติมก็ได้เช่นกัน เพราะสามารถนำมาขอยื่นได้ในเดือนถัดไป ไม่เกิน 6 เดือนของวันที่ตามใบกำกับภาษี)
  • กรณี ไม่ได้ยื่นแบบภาษี ค่าเบี้ยปรับคิดเป็น 2 เท่าของเปอร์เซ็นต์เบี้ยปรับ 
  • ถ้าไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบ 500 บาท
  • ไม่ออกใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย ค่าเบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
  • ไม่เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี ค่าเบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
  • ไม่ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า


ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, 2, 3, 53, 54) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
  • หากผู้จ่ายเงินมีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบฯ เพื่อหลบเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ (มาตรา 37 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร)

2. เงินเพิ่ม 

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม


ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) เกินกำหนดเวลา

โดยปกตินิติบุคคลจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) พร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 2 เดือน (นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน) แต่หากยื่นไม่ทันจะต้องเสียค่าปรับและเงินเพิ่มดังนี้

1. ค่าปรับอาญา

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 1,000 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท

2. เงินเพิ่ม 

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 2 วัน เสียเงินเพิ่ม 0.1%
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน เสียเงินเพิ่ม 0.5%
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน จนกว่าจะชำระจนครบ 20% ของเงินภาษีที่ค้างไว้ทั้งหมด 


ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) เกินกำหนดเวลา

โดยปกติกำหนดยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 จะต้องยื่นภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี หรือหากยื่นผ่านทางออนไลน์ได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบฯและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน แต่หากยื่นไม่ทันจะต้องเสียค่าปรับและเงินเพิ่มดังนี้

1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 1,000 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท

2. เงินเพิ่ม 

  • คำนวณจากยอดต้องชำระ * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 จะต้องยื่นพร้อมงบการเงิน แนบประกอบการยื่นแบบดังกล่าว แต่หากทำไม่ทันจริงๆ สามารถยื่นแบบไปก่อนได้แล้วจึงขอยื่นเพิ่มเติมภายหลังให้เร็วที่สุด จะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าปรับอาญา


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (กรณีไม่ยื่นแบบภาษี) 

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
  • โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

2. เงินเพิ่ม 

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

หากท่านไม่ต้องการที่จะเสียค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มเหล่านี้

ทางที่ดีและง่ายที่สุด คือ วางแผนภาษี และ ยื่นภาษีพร้อมชำระเงินให้ตรงตามเวลาที่กำหนด


ที่มา : www.ztrus.com

 95339
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

มาทำความเข้าใจ เงินเดือนหรือรายได้สำหรับลดหย่อนภาษี นั้นมีอะไรบ้าง สำหรับเงินหรือรายได้ในแต่ละเดือนที่เรียกว่าเงินได้พึงประเมิน นั้นสามารถนำไปลดหย่อนหักลดภาษีได้อย่างไรบ้าง และสามารถแบ่งออกได้กี่ประเภทมีอะไรบ้าง
1919 ผู้เข้าชม
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management หรือ HRM) คืออะไร มีลักษณะ และขอบเขตของการทำงานอย่างไรบ้าง
49719 ผู้เข้าชม
ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่อง คุณสมบัติของผู้นำ มองย้อนยุคกลับไปสู่อดีต สิ่งแรกซึ่งเป็นสัจธรรมของชีวิตและสังคมที่ใคร่ขอนำมาย้ำความสำคัญไว้ ณ โอกาสนี้คือ หากไม่มีวันนั้นย่อมไม่มีวันนี้ การที่ชี้ให้หวนกลับไปมองสู่อดีต เพื่อประโยชน์ของคนในยุคปัจจุบัน ซึ่งพึงได้รับอย่างลึกซึ้ง น่าจะได้แก่ ผลจากการคิดได้ถึงสิ่งอันเป็นที่มา ย่อมทำให้เกิดการเจริญสติภายในรากฐานของแต่ละคน เพื่อให้ชีวิตอนาคตรู้ความจริงและใช้ เป็นพื้นฐานในการก้าวต่อไปได้มั่นคงยิ่งขึ้น ผู้ใหญ่ในอดีตเคยยืนยันสัจธรรมของการดำเนินชีวิต ฝากไว้ให้ลูกหลานรับไปพิจารณาว่า จะทำอะไรอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ ขอให้ทำหน้าที่ ณ จุดนั้นอย่างดีที่สุด อย่าได้ คิดโลภโมโทสัน ทำให้เกิดความทุกข์แก่ตนเอง และสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่อยู่ ร่วมกันในสังคม
1999 ผู้เข้าชม
จากสถิติประชากรศาสตร์ของประเทศนั้น จะเห็นว่า อีก 15 ปีข้างหน้า คนไทยอายุเกิน 60 ปี จะมีมากถึง 1 ใน 4 ของประเทศ ทำให้มีการผลักดันการแก้กฎหมาย โดยมีการเพิ่มมาตรา 118/1 ให้ถือว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรค 2 เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และกำหนดอายุของการเกษียณอายุไว้ที่ 60 ปีบริบูรณ์
2487 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์