ถ้ายื่นภาษีไม่ทัน…จะเกิดอะไรขึ้น

ถ้ายื่นภาษีไม่ทัน…จะเกิดอะไรขึ้น

โดยปกติการยื่นภาษีสามารถทำได้ทั้งที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งข้อดีของการยื่นภาษีออนไลน์คือ

จะได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบฯและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน จนบางครั้งเราอาจชะล่าใจ ผลัดวันไปเพราะวันนี้ยังหาเอกสารไม่ครบ วันนี้ติดประชุม หรือสารพัดเหตุผล พอรู้ตัวอีกทีก็เลยกำหนดยื่นภาษีไปเสียแล้ว แล้วอย่างนี้ควรทำอย่างไรดี


“ยื่นภาษีไม่ทันควรทำอย่างไรดี”

ก่อนอื่นอย่าพึ่งตกใจไปครับ เพราะทุกปัญหามีทางออกเสมอโดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1. ยื่นภาษีล่าช้า หรือลืมยื่นภาษี

วิธีแก้ : ให้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง และกรอกแบบฟอร์มภาษี นำไปยื่นกระดาษที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ให้เร็วที่สุด โดยการยื่นเพิ่มเติม หรือ ยื่นเกินกำหนดเวลาจะไม่สามารถยื่นภาษีผ่านออนไลน์ได้

2. ยังไม่ได้จ่ายภาษี หรือจ่ายน้อยกว่าจำนวนที่ต้องจ่ายจริง

วิธีแก้ : นอกจากจะต้องจ่ายภาษีส่วนที่ค้างอยู่นั้น ท่านอาจจะต้องจ่ายค่าปรับซึ่งเป็นบทลงโทษที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้า หรือจ่ายภาษีไม่ทันกำหนดอีกด้วย

“บทลงโทษจากการยื่นภาษีล่าช้า จ่ายไม่ทันกำหนด มีอะไรบ้าง”

ในกรณีที่ยื่นภาษีล่าช้า จ่ายภาษีไม่ทัน หรือจ่ายภาษีแต่ไม่ครบ โดยปกติจะต้องมีการจ่าย “เบี้ยปรับภาษี” และ “เงินเพิ่ม” นอกจากนี้อาจมีโทษทางอาญาด้วย เช่น เสียค่าปรับหรือจำคุก แล้วแต่ความผิดว่าเป็นเรื่องร้ายแรงขั้นไหน


ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (จะต้องชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท

2. เงินเพิ่ม

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ไม่รวมเบี้ยปรับ
  • โดยเงินเพิ่มที่เสียต้องไม่เกินจำนวนภาษี
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

3. ค่าเบี้ยปรับ

  • กรณี ยื่นแบบภาษีเพิ่มเติม ค่าเบี้ยปรับคิดเป็น 1 เท่าของเปอร์เซ็นเบี้ยปรับ (หากลืมยื่นภาษีซื้อ ไม่ต้องขอยื่นเพิ่มเติมก็ได้เช่นกัน เพราะสามารถนำมาขอยื่นได้ในเดือนถัดไป ไม่เกิน 6 เดือนของวันที่ตามใบกำกับภาษี)
  • กรณี ไม่ได้ยื่นแบบภาษี ค่าเบี้ยปรับคิดเป็น 2 เท่าของเปอร์เซ็นต์เบี้ยปรับ 
  • ถ้าไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบ 500 บาท
  • ไม่ออกใบกำกับภาษี และส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ออกใบกำกับภาษี โดยไม่มีสิทธิที่จะออก ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า
  • ไม่เก็บสำเนาใบกำกับภาษีขาย ค่าเบี้ยปรับ 2% ของภาษีตามใบกำกับ
  • ไม่เก็บใบกำกับภาษีซื้อที่ใช้เครดิตภาษี ค่าเบี้ยปรับ 2% ของภาษีที่นำมาเครดิต
  • ไม่ทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด หรือมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ค่าเบี้ยปรับ 2 เท่า


ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 1, 2, 3, 53, 54) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
  • หากผู้จ่ายเงินมีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบฯ เพื่อหลบเลี่ยงการเสียภาษีต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ (มาตรา 37 ทวิแห่งประมวลรัษฎากร)

2. เงินเพิ่ม 

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม


ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) เกินกำหนดเวลา

โดยปกตินิติบุคคลจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) พร้อมกับชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 2 เดือน (นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน) แต่หากยื่นไม่ทันจะต้องเสียค่าปรับและเงินเพิ่มดังนี้

1. ค่าปรับอาญา

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 1,000 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท

2. เงินเพิ่ม 

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 2 วัน เสียเงินเพิ่ม 0.1%
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน เสียเงินเพิ่ม 0.5%
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน จนกว่าจะชำระจนครบ 20% ของเงินภาษีที่ค้างไว้ทั้งหมด 


ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) เกินกำหนดเวลา

โดยปกติกำหนดยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 จะต้องยื่นภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี หรือหากยื่นผ่านทางออนไลน์ได้รับสิทธิขยายเวลาการยื่นแบบฯและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน แต่หากยื่นไม่ทันจะต้องเสียค่าปรับและเงินเพิ่มดังนี้

1. ค่าปรับอาญา (ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 1,000 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 2,000 บาท

2. เงินเพิ่ม 

  • คำนวณจากยอดต้องชำระ * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 จะต้องยื่นพร้อมงบการเงิน แนบประกอบการยื่นแบบดังกล่าว แต่หากทำไม่ทันจริงๆ สามารถยื่นแบบไปก่อนได้แล้วจึงขอยื่นเพิ่มเติมภายหลังให้เร็วที่สุด จะช่วยให้ไม่ต้องเสียค่าปรับอาญา


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (กรณีไม่ยื่นแบบภาษี) 

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
  • โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

2. เงินเพิ่ม 

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

หากท่านไม่ต้องการที่จะเสียค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มเหล่านี้

ทางที่ดีและง่ายที่สุด คือ วางแผนภาษี และ ยื่นภาษีพร้อมชำระเงินให้ตรงตามเวลาที่กำหนด


ที่มา : www.ztrus.com

 97042
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

โลกธุรกิจหนีไม่พ้น "ความเสี่ยง" ไม่มากก็น้อย ยิ่งยุคปัจจุบันยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นมาก เพราะการแข่งขันเข้มข้นมากขึ้นตั้งแต่ธุรกิจไร้พรมแดน ความสำเร็จแต่ละชิ้นนับวันแต่จะทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามเราในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ก็ต้องพยายามฟันฝ่าอุปสรรคของความลำบากนั้นไปบรรลุจุดหมายให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
1574 ผู้เข้าชม
คำถามนี้น่าสนใจมากนะครับ เพราะว่ามันมีผลทั้งกับทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายที่มองหางานก็ต้องเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ ฝ่ายที่จะรับเข้าทำงานก็ต้องนัดหมายคนที่เกี่ยวข้องเพื่อลงตารางเวลาสัมภาษณ์ ก่อนอื่นเราต้องกลับมาดูที่จุดประสงค์ของการสัมภาษณ์งานก่อน
4124 ผู้เข้าชม
ผมเคยพบคนที่มีชื่อเสียงในแวดวงต่างๆ หลายๆ คน บางคนเป็นคนมีเสน่ห์ คุยแล้วชอบ บางคนพอเริ่มคุยก็เดินหนีห่างออกมา ไม่ชวนให้อยากคุยด้วยเลข การพูดคุยให้เป็นนี้ เป็นทักษะที่ควรหัดให้มีเอาไว้ เป็นการเสริมสร้างบุคลิกภาพและมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทำให้ได้มิตรภาพมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การงานและสังคมที่ดีต่อไป ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำที่เลือกเอาไปใช้ได้ครับ
1982 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับแนวคิดการบริหารคนจากต่าง Gen กัน วันนี้เราจะสรุปไว้เป็น 4 Gen และจะดูไปด้วยกันว่าในแต่ ละวัฒนธรรม (ไทยญี่ปุ่น จีน อเมริกัน) นั้นมีลักษณะแต่ละ Gen เหมือนหรือต่างกันอย่างไรด้วยครับ โดยการแบ่ง Gen ไมได้ หมายความว่ามี เส้นแบ่งโดย เด็ดขาด ว่า Gen ไหนก็จะต้องเป็นแบบนั้น แต่เป็นการบอกแนวโน้ม บอกความน่าจะเป็น ของกลุ่มคนโดยส่วนใหญ่ใน Gen นั้นเท่านั้น การแบ่ง นั้น บางตําราแบ่งเป็น 8 Gen คือ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มี 3 Gen และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มี 5 Gen รวมกันเป็น 8 Gen แต่บางตำราแบ่งเป็น 5 Gen คือเหมารวมพวกก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเป็น 1 Gen และ พวกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็น 4 Gen
3536 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์