พนักงานแบบไหนที่หัวหน้างานควรสนับสนุน

พนักงานแบบไหนที่หัวหน้างานควรสนับสนุน

ในองค์กรของคุณมีพนักงานแบบนี้อยู่หรือเปล่า คนที่พร้อมเรียนรู้ ไม่อู้งาน ไม่หมกเม็ด เอาประโยชน์ของบริษัทเป็นที่ตั้ง มีมาตรฐานการทำงานสูง ทำให้ผู้อื่นมีความสุข ฯลฯ หากมีนับเป็นความโชคดีขององค์กรคุณ และควรเก็บรักษาพนักงานเหล่านี้ไว้ให้ดี สนับสนุนพวกเขาให้ถูกทาง ตามแนวทางที่เรานำมาฝากในวันนี้

1. คนที่กระตือรืนร้นที่จะเรียนรู้นอกเหนือจากงานของตน

          พนักงานที่ชอบเรียนรู้มักจะเชื่อว่า เขาสามารถทำประโยชน์ได้มากกว่าแค่งานในหน้าที่ของตน คนกลุ่มนี้ช่างสังเกตและเรียนรู้ที่จะทำงานอื่น ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น งานบางอย่างด้านการเงิน งานด้านไอที งานบริหาร ซึ่งหากได้รับการ สนับสนุนก็จะเป็นบุคลากรที่ทำประโยชน์ให้แก่องค์กรได้อย่างมากมาย

          หัวหน้าจะสนับสนุนอย่างไร : สนับสนุนด้านเครื่องมือในการทำงาน รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือส่งพนักงานเข้าร่วมการสัมมนาพื้นฐานการทำงานด้านต่าง ๆ เช่น การบัญชี การตลาด การบริหาร เป็นต้น เพื่อให้พนักงานได้เติบโตจากการเรียนรู้และได้ทำงานที่หลากหลาย

2. คนที่นึกถึงบริษัทก่อนเสมอ

          พนักงานที่ปฏิบัติต่อบริษัทราวกับเป็นบริษัทของเขาเอง ทั้งระมัดระวังในการใช้จ่าย มองหาโอกาสในระยะยาวให้แก่บริษัท รู้จักประเมินความเสี่ยง และความสำเร็จ ทั้งยังคำนึงถึงผู้อื่นก่อนตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ เสมอ

          หัวหน้าจะสนับสนุนอย่างไร :  ให้ความรู้เกี่ยวกับบริษัทแก่พนักงาน ทั้งในเรื่องวิสัยทัศน์ ปรัชญาองค์กร และ การเงิน ยิ่งพนักงานเข้าใจบริษัทมากเท่าไร ยิ่งง่ายต่อการตัดสินใจที่ถูกต้องมากเท่านั้น

3. คนที่กล้าพูดความจริง

          พนักงานที่รู้ว่าการปกปิดข่าวร้ายอาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา เมื่อไรก็ตามที่มีอะไรผิดไปจากที่วางแผนไว้ พวกเขาจะรีบแจ้งให้หัวหน้างานรับทราบทันที ไม่อมพะนำเอาไว้ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที

          หัวหน้าจะสนับสนุนอย่างไร :  สร้างบรรยากาศการทำงานให้พนักงานรู้สึกอุ่นใจที่จะพูดคุยสื่อสารกับหัวหน้า กล้าที่จะพูดความจริง

4. คนที่มีมาตรฐานการทำงานสูง

          ไม่ใช่ว่าพนักงานที่คุณมีจะสามารถรับมือกับงานและปัญหาต่าง ๆ ได้ดีทุกคน ดังนั้น หากคุณมีพนักงานที่สามารถวางใจได้ว่าเขาจะทำงานอย่างมีคุณภาพ ด้วยมาตรฐานที่คุณคาดหวัง จงสนับสนุนพวกเขา

          หัวหน้าจะสนับสนุนอย่างไร :  กำหนดมาตรฐานงานที่คุณต้องการพร้อมยกตัวอย่างให้พนักงานเข้าใจตรงกัน หากพนักงานสามารถทำได้ตามมาตรฐานที่วางไว้จะได้รับรางวัลเพื่อเป็นกำลังใจ

5. คนที่พัฒนาตนเอง และจูงใจผู้อื่น

          พนักงานที่พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และไม่หยุดที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นพัฒนาไปด้วยกัน เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเพื่อนร่วมงาน โดยไม่ทำให้ผู้อื่นหมั่นไส้ หรือเกลียดชัง

          หัวหน้าจะสนับสนุนอย่างไร :  ส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ทั้งตัวพนักงานเองและการส่งเสริมเพื่อนร่วมงาน โดยจัดเวลาให้พนักงานมีกิจกรรมกลุ่มเพื่อเรียนรู้ที่จะพัฒนาอาชีพร่วมกัน

6. คนที่ค้นคว้า ปฏิบัติ และปรับปรุงการทำงานอยู่เสมอ

          ไม่มีพนักงานคนไหนที่สมบูรณ์แบบ และรู้ดีไปหมดทุกเรื่อง แต่หากคุณมีคนที่ชอบค้นคว้า ลงมือทำ และปรับปรุงแก้ไขด้วยตนเองเสมอ คนเหล่านี้อาจเป็นดาวรุ่งขององค์กรสักวัน

          หัวหน้าจะสนับสนุนอย่างไร : ให้เวลาและคำแนะนำกับพนักงานในการค้นคว้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และให้รางวัลสำหรับการค้นพบของพวกเขา

7. คนที่ทำให้คนรอบข้างมีความสุข

          พนักงานที่เข้าใจชีวิตการทำงานและสามารถผสมผสานจัดสมดุลชีวิตและงาน และมิตรภาพได้ดี ทำให้ผู้อื่นมีความสุขได้แม้ในช่วงเวลาที่คร่ำเครียดกับงาน

          หัวหน้าจะสนับสนุนอย่างไร : สนับสนุนการมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน จัดกิจกรรมให้พนักงานได้มีโอกาสปลดปล่อยความเครียด และเกิดบรรยากาศการทำงานอย่างมีความสุข

          พนักงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามในมือ เมื่อคุณได้มาแล้ว ควรรักษาให้ดี ทำให้พวกเขารับรู้ว่าคุณเห็นคุณค่าในตัวพวกเขา สนับสนุนสิ่งที่พวกเขาทำ เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่พวกเขาต่อไป

นอกจากการสนับสนุนพนักงานแล้ว การแบ่งประเภทพนักงานตามขีดจำกัดความสามารถ ก็เป็นสิ่งสำคัญต่อองค์กร ถ้าคุณสามารถจัดการกับพนักงานได้ถูกต้องพนักงานจะสามารถพัฒนาตัวเองได้มากขึ้น


ที่มา : th.jobsdb.com

 1658
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 10 ประการของงาน HR "Best Practice" หรือ "วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ" เริ่มเป็นที่คุ้นเคยกันในวงการธุรกิจ และอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง แท้จริงแล้วสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวผลงานที่ได้ แต่เป็นการนำเสนอวิธีการหรือกระบวนการที่ทำแล้วดีที่สุดในการได้ผลงานที่ดี เด่นสำเร็จออกมาแล้วนำเอาวิธีการหรือกระบวนการนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อให้แต่ละที่นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของตัวเองชาว HR ที่ไม่ต้องการตกยุคก็ต้องค้นคว้าหา "HR Best Practice" มาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
5616 ผู้เข้าชม
ยื่นเสียภาษี จำเป็นต่อการขอสินเชื่อกู้บ้านจริงหรือ..? แล้วถ้าคนที่ยังไม่ได้เริ่มเสียภาษี ไม่มีสิทธิกู้ซื้อบ้านเลย จริงหรือไม่ วันนี้เรามาหาคำตอบกัน
2308 ผู้เข้าชม
ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้กระแสเรื่องธุรกิจและกิจการต่าง ๆ ถูกโจมตี (disrupt) ไม่ว่าจะจากเทคโนโลยี คู่แข่งรายใหม่ หรือ แนวทางการทำธุรกิจแบบใหม่ (new business model) กำลังถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก
1664 ผู้เข้าชม
จากสถิติประชากรศาสตร์ของประเทศนั้น จะเห็นว่า อีก 15 ปีข้างหน้า คนไทยอายุเกิน 60 ปี จะมีมากถึง 1 ใน 4 ของประเทศ ทำให้มีการผลักดันการแก้กฎหมาย โดยมีการเพิ่มมาตรา 118/1 ให้ถือว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรค 2 เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และกำหนดอายุของการเกษียณอายุไว้ที่ 60 ปีบริบูรณ์
2286 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์