บทความนี้ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้วิธีจัดการกับพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ โดยเบื้องต้นเราต้องแยกพนักงาน
ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. พนักงานไม่รู้ ไม่เข้าใจ 2. พนักงานรู้ แต่ประมาท ลืม หรือไม่ใส่ใจในงานอย่าง
เพียงพอ และ 3. พนักงานที่เจตนาทำผิด เมื่อเราแยกพนักงานแต่ละคนออกเป็นกลุ่มๆ ตามการปฏิบัติงานแล้ว
ขั้นตอนต่อไป คือ วิธีการจัดการกับพนักงานแต่ละกลุ่ม ซึ่งมี ดังนี้
ส่วนใหญ่เป็นพนักงานใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่เกิน 4 เดือน หรือพนักงานที่เพิ่งย้าย
จากแผนกอื่น โอกาสที่พนักงานกลุ่มนี้จะปฏิบัติงานผิดพลาดมีสูง อาจเพราะได้รับความรู้ไม่เพียงพอ หรือยังขาด
ประสบการณ์และทักษะ
สำหรับแนวทางจัดการกับพนักงานกลุ่มนี้ คือ ให้ความรู้โดยการอบรม ให้เอกสารหรือคู่มือประกอบการปฏิบัติงาน
ให้เขาได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมและเพียงพอ นอกจากนี้ ต้องมีการทดสอบและติดตามผลการปฏิบัติงานด้วย
และถ้าจะดีมากๆ คือ พวกเราต้องจัดพี่เลี้ยงคอยประกบในช่วง 2 เดือนแรก
สาเหตุที่พนักงานกลุ่มนี้มีพฤติกรรมอย่างนี้นั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไม่พอใจในงาน
ไม่พอใจหัวหน้า ไม่พอใจเพื่อนร่วมงาน ไม่พอใจบริษัท เป็นต้น
สำหรับแนวทางการจัดการกับปัญหานี้ คือ เบื้องต้นเราต้องหมั่นเข้าไปพูดคุยกับพนักงานบ่อยๆ เพื่อสังเกตความคิด
ว่าตอนนี้เขามีความรู้สึกอย่างไรกับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และบริษัท ถ้าทัศนคติเขาเริ่มจะไปทางลบ คือ รู้สึก
ไม่ชอบ เกลียด ไม่พอใจ เราก็ต้องรีบพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติให้กลับมาดีขึ้น อย่าปล่อยให้พวกเขาคิดลบ หรือมี
ความรู้สึกไม่ดีต่อไปเรื่อยๆ เพราะนั่นอาจเป็นเหมือระเบิดเวลาที่รอวันระเบิด จนทำให้เกิดความเสียหายก็เป็นได้
แต่ถ้าวันนั้นมาถึง เมื่อเราจับได้มั่น มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าพนักงานคนนั้นเจตนาทำผิด ทำให้ความเสียหายเกิดขึ้น
เราก็ต้องปฏิบัติตาม 3 กฎ กฎแรก คือ ระเบียบของบริษัท กฎที่สอง คือ กฎหมายแรงงาน และกฎข้อที่สาม คือ
กฎหมายบ้านเมือง
ที่มา : jobdst.com