COMPETENCY สำหรับ HR มือใหม่: หมวก 5 ใบที่ HR ควรสวม

COMPETENCY สำหรับ HR มือใหม่: หมวก 5 ใบที่ HR ควรสวม

ผมเองก็ใช่ว่าจะมีความสุขในงานตลอดเวลา มีช่วงเวลาเครียดตามประสาคนทำงาน แต่ที่สำคัญผมก็พยายามระลึกถึงสิ่งที่ได้เล่าให้กับทุกท่านฟังไปแล้ว มาถึงครั้งนี้ ก็ขอเล่าถึงแง่มุมในการพัฒนาตนเองของผู้ที่ทำงาน HR บ้างทั้งมือใหม่ และมือไม่ค่อยใหม่ ผมมองว่าทักษะที่จำเป็นของงาน HR เหมือนหมวก 5 ใบที่ต้องสวมดังต่อไปนี้ครับ

1. นักปกครอง

สมัยก่อนนั้นการรับนักศึกษาจบใหม่เข้ามาทำงาน HR โดยมากจะรับเด็กที่เรียนจบรัฐศาสตร์ เพราะบางบริษัทเชื่อว่าเด็กเหล่านี้จะเข้าใจหลักการปกครองและดูแลคน แต่ปัจจุบันอาจจะไม่จำเป็น หากชาว HR มีความเข้าใจหลักการปกครองหรือการดูแลคนที่ต้องยึดหลักความเป็นธรรม นโยบาย HR ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้างสวัสดิการ หรือสภาพแวดล้อมการทำงานต่างๆต้องมุ่งตอบสนองพนักงานส่วนใหญ่ พนักงานรู้สึกเท่าเทียมไม่เกิดการเปรียบเทียบ ไม่เอื้อประโยชน์ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ พนักงานมีความสุข มีแรงจูงใจในการทำงาน และก็ต้องยอมรับว่าเราไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้หมดแต่ต้องยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักที่สำคัญ พระบรมราชาโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่าเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เป็นวลีที่อมตะสำหรับสอนนักปกครองในการที่จะดูแลพนักงานให้รู้สึกเป็นธรรมและมีความสุขครับ

2. นักกฎหมาย

ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายแรงงานต่างๆ หรือกฎระเบียบบริษัท เป็นสิ่งที่ HR ต้องทราบเพราะหน้าที่ของเราคือประสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานและบริษัทเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อได้อย่างราบรื่น นั่นหมายความว่าพนักงานต้องยอมรับและเคารพกติกาของบริษัท บริษัทเองก็ต้องเคารพและไม่ละเมิดสิทธิ์ของพนักงาน  ดังนั้น HR จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเป็น “ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน”  HR นอกจากต้องมีความเข้าใจ ตัวบทกฎหมายต่างๆ หรือกฎระเบียบบริษัทที่เกี่ยวข้องแล้ว HR ยังต้องเข้าใจที่มาที่ไป เจตนารมย์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแนวทางคำพิพากษาฎีกาต่างๆ เพื่อการตีความใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในการทำงานครับ

3. นักการตลาดและประชาสัมพันธ์

ข้อ 1 และข้อ 2 นี้จัดว่าเป็นความสามารถพื้นฐานของ HR นับแต่มีวิชาชีพ HR นี้ขึ้นมาเมื่อหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบัน การแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงยิ่งขึ้น  HR ก็ถูกคาดหวังให้มีคุณสมบัติที่หลากหลายขึ้นเช่นกัน ปัจจุบัน HR ต้องทำหน้าที่เป็นนักสื่อสารองค์กรเพื่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรด้วยทั้งต่อพนักงานและภายนอก

ในมุมที่เกี่ยวกับภายในนั้น HR ต้องมีความสามารถในการใช้ช่องทางในการสื่อสารต่างๆเพื่อให้พนักงานได้รับทราบสถานะความเป็นไปของกิจการ เพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจบริษัท ไม่ว่าจะเป็นวารสารภายใน  Social Media กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้ผู้บริหารได้พบปะพนักงานเพื่อให้ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกันในแบบไม่เป็นทางการ รวมทั้งผู้บริหารได้สื่อสารในสิ่งที่อยากให้พนักงานได้ทราบ นอกจากนี้ก็ต้องหาช่องทางในการที่จะได้รับทราบปัญหาต่างๆจากพนักงานเพื่อนำไปสื่อสารให้ผู้บริหารได้รับรู้ด้วยเช่นกัน

ส่วนภายนอกนั้น HR ก็ต้องเป็นทูตขององค์กรในการที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้บุคคลภายนอกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการสรรหาของบริษัทให้อยากที่จะเข้ามาทำงานกับเรา จะสังเกตได้ว่า HR ปัจจุบันทำการตลาดเชิงรุกในการสรรหามากขึ้น เช่น Campus Recruit หรือใช้ช่องทาง Social Media ต่างๆในการสื่อสารกับผู้สมัครครับ

4. นักจิตวิทยาองค์กร

สังเกตได้ว่าในประกาศรับสมัครงานปัจจุบันนั้น บริษัทอยากได้ HR ที่จบจิตวิทยา และคณะจิตวิทยาของหลายมหาวิทยาลัยก็มีสอนด้าน HR ด้วย  HR นั้นเป็นบุคคลสำคัญที่พนักงานสามารถเป็นที่พึ่งได้ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว HR จำเป็นต้องมีความสามารถในการรับฟังปัญหาต่างๆของพนักงาน การเป็นผู้ฟังที่ดีเป็นคุณสมบัติทีสำคัญของนักจิตวิทยา เพื่อที่จะวิเคราะห์ แยกแยะเข้าใจปัญหาต่างๆเพื่อที่จะนำมาสู่แนวทางการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ปัจจุบันนั้น ความต้องการของพนักงานมีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น การดูแลพนักงานนั้นโดยพื้นฐานต้องดูแลให้เกิดความเท่าเทียมกันในฐานะพนักงาน แต่ฐานะของความเป็นคนแล้ว ผู้คนแต่ละกลุ่มมีความต้องการในรายละเอียดที่ต่างกัน เช่น เพศ อายุ ศาสนา เชื้อชาติ  โดยอนาคต ในองค์กรจะมีความหลากหลายในประเภทของกลุ่มพนักงานมากยิ่งขึ้น HR มีความจำเป็นที่จะเข้าใจความหลากหลาย เพื่อที่จะหาทางดูแลพนักงานที่ตรงกับความต้องการของแต่ละกลุ่มมากขึ้น

5. เจ้าของธุรกิจ

อย่างที่ว่าเอาไว้ในบทความที่แล้ว ที่ผมมองว่า HR เป็นตัวแทนของผู้บริหารในการดูแลความเป็นอยู่พนักงาน ดังนั้น HR เองต้องมีความเข้าใจในธุรกิจ และใช้ดุลพินิจในการจัดการกับปัญหาหรือการดูแลคนในฐานะที่เป็นผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ HR ต้องเข้าใจความคาดหวังของผู้บริหารที่มีต่อพนักงาน ตลอดจุดแข็งและข้อจำกัดต่างๆขององค์กรในการบริหารงานบุคคล  ที่สำคัญผมมองว่าข้อนี้มีความสำคัญมากน่าจะตรงกับงานเขียนงานวิจัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศที่มองว่า HR ต้องเข้าใจธุรกิจและมีบทบาทเป็น Partner กับผู้บริหารในการดูแลพนักงาน

HR เป็นงานที่มีความเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มีความผสมผสาน (Interdisciplinary) ผู้ที่จะเป็น HR ที่ดีไม่ว่าจะเป็นระดับ Junior New Entry หรือะระดับ Senior Management การพัฒนาตนเองตลอดเวลามีความสำคัญมากในการที่จะทำงานให้ได้รับการยอมรับจากผู้บริหารและพนักงานครับ


ที่มา : pathrm.wordpress.com

 1996
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ในยุคที่องค์กรทั่วโลกกำลังปรับตัวให้ทันตามยุคสมัยจนเกิดการพลิกผันในธุรกิจ (Business Disruption) มากมายซึ่งทำให้องค์กรต้องมีการปรับตัวปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานกันใหม่เพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบัน ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource)
20934 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ คนน่าจะมีคำตอบอยู่ในใจไปในทิศทางเดียวกัน งาน HR คือแผนกที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องพนักงานของบริษัท รับพนักงานเข้า ดูแลพนักงานที่อยู่ ทำเรื่องให้คนออก ดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคน ภาพต่าง ๆ เหล่านั้นอาจจะเป็นภาพที่ HR สร้างให้ตัวเองมาโดยตลอด แต่ในวันนี้ HR ยังควรรักษาเพียงภาพนี้เอาไว้อย่างเหนียวแน่นหรือไม่
964 ผู้เข้าชม
ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศไทยนั้นนับวันยิ่งมีความดุเดือดมากขึ้น หากองค์กรหยุดนิ่งหรือไม่พัฒนาเท่าที่ควร ก็อาจส่งผลต่อความอยู่รอดขององค์กรได้ ดังนั้น ผู้บริหารในแต่ละองค์กรจึงต้องวางแผนสร้างหนทางให้ธุรกิจของตนเองอยู่รอดและพัฒนาเหนือคู่แข่งให้ได้ และปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมความมั่นคงและการพัฒนาขององค์กรก็คือ การมีบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมาทำงานในองค์กร และเมื่อได้บุคลากรดังกล่าวมาแล้ว จะทำอย่างไรเพื่อดึงดูดให้บุคลากรเกิดความรู้สึกรักและอยากทำงานให้กับองค์กรไปนานๆ ซึ่งแน่นอนว่าการมีสวัสดิการที่ดีและเหมาะสมเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นแรงดึงดูดให้พนักงานอยากทำงานกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง หรือสวัสดิการอื่นๆ เช่นมีรางวัลพิเศษจากการจัดแข่งขันกีฬาภายในบริษัท ซึ่งผู้เขียนขอหยิบยกประเด็นทางภาษีอากรของเงินรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันกีฬาภายในบริษัท
2819 ผู้เข้าชม
จากสถิติประชากรศาสตร์ของประเทศนั้น จะเห็นว่า อีก 15 ปีข้างหน้า คนไทยอายุเกิน 60 ปี จะมีมากถึง 1 ใน 4 ของประเทศ ทำให้มีการผลักดันการแก้กฎหมาย โดยมีการเพิ่มมาตรา 118/1 ให้ถือว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามมาตรา 118 วรรค 2 เพื่อให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง และกำหนดอายุของการเกษียณอายุไว้ที่ 60 ปีบริบูรณ์
2501 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์