คิดแบบวิทย์ พิชิตเป้าหมาย

คิดแบบวิทย์ พิชิตเป้าหมาย

นายปรี๊ดค้นเจอบทความชิ้นหนึ่งของผู้เขียน ชื่อ นาเดีย กูดแมน จากเว็บไซต์ ideas.ted.com ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ ดร.เคลลี่ แมคกอนิกัล (Kelly McGonigal) อาจารย์สาขาจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด ผู้เขียนหนังสือ “The Willpower Instinct” ซึ่งถูกแปลมากว่า 10 ภาษาและประสบความสำเร็จมากในประเทศญี่ปุ่น เป็นหนังสือสไตล์ฮาวทู (how to) เผื่อใช้จัดการวินัยในตนเอง บนฐานคิดและหลักฐานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเอง

       ดร.เคลลี่ แมคกอนิกัล เป็นที่รู้จักในวงกว้างอีกครั้ง เมื่อขึ้นเวที TED Talk บรรยายหัวข้อ “How to make stress your friend: จะเป็นเพื่อนกับความเครียดได้อย่างไร?” โดยมียอดชมออนไลน์จากทั่วโลกมากว่า 8 ล้านครั้ง สิ่งน่าสนใจจากการบรรยาย เมื่อกลางปี 2556 คือหลักฐานงานวิจัยทางจิตวิทยาที่นำเสนอว่า ความเครียดจะทำร้ายความรู้สึก และระบบคิดของเรา ก็ต่อเมื่อรู้สึกว่า “ตนเองเครียด” จนทำให้ลดทอนความสามารถของสมองลง ดังนั้น การทำความรู้จักกับความเครียดของตนเอง และบริหารจัดการให้อยู่ในระดับพอดี สามารถเปลี่ยนเป็นพลังเพื่อสร้างความสำเร็จได้       

       ในคราวนี้ ดร. เคลลี่ แมคกอนิกัล ให้ข้อคิดน่าสนใจเกี่ยวกับ วิธีคิด และการปรับพฤติกรรม เพื่อให้พิชิตเป้าหมาย ตามการทำงานของสมองมนุษยษ์ เธอเกริ่นว่า “หลักคิดพื้นฐานที่สุด คือ มนุษย์ก็เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆ คือ สมองเราต้องการรางวัลตอบแทน” ดังนั้น การกำหนดเป้าหมาย ที่สามารถแปลเปลี่ยนเป็นรางวัลให้กับตนเอง จนกว่าจะพิชิตเป้าหมายได้ คือ วิธีที่น่าลอง โดยมีหลักการที่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าการปกฺบัติจริง อยู่ 4 ข้อ คือ


1.ตั้งเป้าหมายให้ยากสักนิดและมีความหมายกับชีวิตจริงๆ

       คนส่วนมากมักตั้งเป้าหมายที่คิดว่าตัวเองน่าจะทำได้ เช่น เย็นนี้จะกินข้าวน้อยลง พรุ่งนี้จะตื่นแต่เช้า พรุ่งนี้จะทำงานกองนี้ให้เสร็จ ซึ่งไม่ใช่ไม่ดี แต่หากเป็นเป้าหมายที่ง่ายเกินไป ก็เหมือนการตำข้าวสารกรอกหม้อ ไม่ต่างกับการสร้าง “เช็คลิสต์” เมื่อทำเสร็จก็ติ๊กผ่าน ง่ายเกินไป ไม่มีความหมายกับชีวิต นั่นคือไม่ได้มีส่วนช่วยพัฒนาตนเองในระยะยาว

       ดร. เคลลี่ แนะนำว่าเราควรตั้งเป้าหมายด้วยการถามตนเองว่า “เป้าหมายนั้นท้าทายและมีความหมายกับชีวิตมากขนาดไหน? หากทำสำเร็จ เราจะเปลี่ยนตนเองได้มากขนาดไหน?” เหมือนการตั้งสมมติฐาน และพยายามหาวิธีทดลองเพื่อหาคำตอบ เช่น ถ้าเป้าหมาย คือ ปีหน้าฉันจะเลิกบุหรี่ ต้องถามตัวเองให้ชัดเจนว่า เราจะเลิกบุหรี่ไปเพื่ออะไร? ถ้าเลิกเพื่อสุขภาพ ต้องถามต่อว่าถ้าเลิกแล้วสุขภาพเราจะดีขึ้นอย่างไร? ถ้าสุขภาพดีขึ้นแล้ว มันจะมีผลดีอย่างไรต่อชีวิตและคนรอบข้าง? การตั้งคำถามและวางแนวทางเพื่อหาคำตอบให้ชัดเจน เป็นการให้ควาหมายเชิงลึกให้กับเป้าหมายของชีวิต ทำให้เราไม่ลังเล มีกำลังใจต่อสู้กับตนเอง หรือหมดคำถามไร้สาระจนทำให้เลิกทำกลางครัน 

คิดแบบวิทย์ พิชิตเป้าหมาย

       

2.ให้ความสำคัญกับขั้นตอนปฏิบัติมากกว่าผลลัพธ์

       วิธีคิดแบบนี้ไม่ต่างกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพราะการทดลองมีสมมุติฐานได้ แต่กำหนดผลลัพธ์ไม่ได้ เมื่อพบผลลัพธ์ที่ต่างจากที่คิดไว้ ก็มักจะทำให้เกิดปัญหาใหม่ และนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาแบบใหม่ๆ การตั้งเป้าหมายที่ดีจึงต้องใส่ใจวิธีปฏิบัติมากกว่าผลลัพธ์สุดท้าย

       ให้คิดเสมอว่า “การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ส่งผลต่อเนื่องสู่การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ขึ้นเสมอ” การวาดฝันถึงผลลัพธ์สุดท้ายที่เราควบคุมไม่ได้ จึงไม่ใช่วิธีการให้กำลังใจตนเองที่ดี แต่การปฏิบัติ และพยามยามเปลี่ยนแปลงตนเองแม้เพียงเล็กน้อย เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายสุดท้าย อย่างยืดหยุ่น และค่อยเป็นค่อยไป เป็นวิธีที่ดีกว่าการปฏิบัติอย่างหักโหม ไม่พอดีกำลัง หรือถ้าตามหลักศาสนาพุทธ คือ “การเดินสายกลาง” นั่นเอง      

       

3. สร้างกรอบคิดเชิงบวก มองหาแต่ทางที่ดี ไม่มัวแต่หาทางหลีกเลี่ยง

       แนวคิดนี้มีหลักฐานจากการทำงานของสารเคมีในสมอง การมองหาสิ่งดีๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตเมื่อตั้งเป้าหมายเชิงบวกชัดเจน ทำให้สมองหลั่งสารกระตุ้นให้เกิดความสุข รู้สึกปิติยินดี การคิดกังวลห้ามตนเองทำสิ่งนั้น หลบเลี่ยงสิ่งนี้ ทำให้เกิดสิ่งตกข้าม คือไปยับยั้งการหลั่งสารเคมีสร้างความสุขในสมอง ทำให้วิตกกังวล จิตใจไม่สงบ

       การสร้างกรอบความสำเร็จเชิงบวกบวก ทำให้เกิดกรอบคิดในแง่ดี คิดดี ทำดี พูดดีด เพราะเป็นการส่งเสริมการทำงานของสารเคมีในสมองในทางสร้างสรรค์ หากตั้งเป้าหมายปีหน้าเป็นเป้าหมายเชิงลบ เช่น คิดทำลายคู่แข่ง หรือลดความอ้วนด้วยการอดอาหาร วิธีการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายก็จะเป็นการปฏิบัติในกรอบคิดเชิงลบ ซึ่งนำไปสู้วิธีปฏิบัติที่หมกมุ่น มองโลกในแง่ร้ายร้าย และซ้ำเติมตนเอง 

คิดแบบวิทย์ พิชิตเป้าหมาย

       

4.เตรียมใจรับกับความล้มเหลว มีแผนสำรองหากรู้ว่าใจที่ไม่เข้มแข็งพอ

       นักจิตวิทยากล่าวว่า คนเรามักผลักเป้าหมายออกไป หากเริ่มทำพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะมันเป็นกลไกปกป้องตนเองด้วยจิตใต้สำนึก เช่น หากอยากลดความอ้วน แค่เริ่มเห็นข้าวขาหมูหนังนุ่มนิ่ม หรือไอศกรีมกะทิถ้วยมหึมาก็ตะบะแตก กินไม่ยั้ง จากนั้นก็เริ่มงอแง ทำตัวองุ่นเปรี้ยวบอกตัวเองว่า ชาตินี้ไม่มีทางผอม ฉันทำไม่ได้หรอก คนเราต้องอยู่เผื่อกินอะไรไปโน้น... เป้าหมายไม่ว่าปีไหนๆ ก็หยุดอยู่แค่นั้น

นักจิตวิทยาเรียกความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้ว่า “ความผิดพลาดแบบไม่ตั้งใจ” เพราะฉะนั้น ทางออกที่ดีกว่า คือ “ต้องเชื่อว่าตัวเองจะมีวันพลาดแน่ๆ ฉันจะต้องต้องเตรียมทางหนีทีไล่ และแผนสำรองไว้รับมือ” เหมือนการวางแผนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ คือ ต้องถามตัวเองว่า ฉันน่าจะทำอะไรพลาดได้บ้าง? จะพลาดได้กี่แบบ? และจะแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างไรบ้าง? เช่น ถ้ากังวลเรื่องกิน เพราะเชื่อว่าตัวเองต้องตามใจปากแน่ๆ ปากว่างไม่ได้ ก็ต้องเตรียมอาหารเบาๆ ไว้แทนมื้อหนัก หรือหาผลไม้ไว้เคี้ยว เมื่อรู้สึกหิวหรือเปรี้ยวปาก เมื่อทำได้สมองก็จะให้ราวัลตนเองว่าทำได้ดีแล้ว ฉันจะทำให้ดีขึ้น ฉันทำได้ แล้วพยายามเปลี่ยนแปลงตนเอง ตามวิธีคิดข้อข้างบน เป็นลำดับไป

       แนวคิดทั้ง 4 ข้อ เป็นวิธีคิดที่น่าจะนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน หากผู้อ่านเป็นชาวพุทธ ก็อาจจะนำหลักคิดทางศาสนา เช่น อริยสัจ 4 คือ กระบวนการเกิดปัญหา แก้ทุกข์จากการค้นหาสาเหตุที่แท้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และพยายามปฏิบัติด้วยทางสายกลางมาประกอบ ก็น่าจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนมากขึ้น

       เป้าหมายอาจไม่ได้มีไว้ให้ใช้กำลังพุ่งชนแต่อย่างเดียว หากใช้สมองไตร่ตรอง และจิตใจที่เข้มแข็งก้าวข้ามไปอย่างมั่นคง ก็อาจไม่ต้องออกแรงชนมาก แต่อาจเป็นการเคลื่อนผ่านแบบสวยๆ นิ่งๆ ลอยลำสู่ความสำเร็จได้ในระยะยาว 


ที่มา : http://www.jobdst.com/

 1165
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

มาทำความเข้าใจ เงินเดือนหรือรายได้สำหรับลดหย่อนภาษี นั้นมีอะไรบ้าง สำหรับเงินหรือรายได้ในแต่ละเดือนที่เรียกว่าเงินได้พึงประเมิน นั้นสามารถนำไปลดหย่อนหักลดภาษีได้อย่างไรบ้าง และสามารถแบ่งออกได้กี่ประเภทมีอะไรบ้าง
1785 ผู้เข้าชม
ในการจัดการทรัพยากรบุคคล (HR) เทคโนโลยี Machine Learning อาจเป็นสาขาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ AI ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถระบุผู้สมัครที่มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในตำแหน่งงานนั้นๆ หรือตรวจสอบว่าพนักงานคนใดไม่เหมาะกับบางตำแหน่งงานในช่วงสองสามปีข้างหน้า เราจะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลได้เพียงการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ
2716 ผู้เข้าชม
Talent Management หรือ ระบบการบริหารจัดการคนเก่ง เป็นเครื่องมือทางการบริหารทรัพยากรบุคคลอยางหนึ่งที่ในปัจจุบันองค์กรจํานวนมากกำลังให้ความสนใจกับการบริหารจัดการคนเก่งที่มีอยูในองค์กร หากจะกำหนดนิยามของ Talent Management ก็อาจกล่าวได้ว่า Talent Management หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และวางแผนที่มีความสอดคล้องกันในการหาแหล่งที่มา (Sourcing) กลั่นกรอง (Screening) การคัดเลือก (Selection) การนําไปใช้ (Deployment) การพัฒนา (Development) และการทําให้คงอยู่(Retention) ของทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพสูงและ สามารถทํางานได้อยางมีประสิทธิภาพสูงสุด
12400 ผู้เข้าชม
แก้ปัญหาลาออกให้เจอ ทำไมลูกน้องลาออกบ่อย เคยส่งไหมครับว่าทำไมพนักงานที่เข้ามาใหม่ ไม่ค่อยจะมีใครอยู่ได้ถึง สามปี สี่ปี พอครบปีก็พากันลาออกหมด บางคนนี่ยังไม่ถึงปีด้วยซ้ำเลย…. พยายามจะแก้ปัญหาก็เเล้ว เเต่ก็ดูเหมือนยังไม่ถูกจุด
2155 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์