คนคิด กับ คนทำ ในธุรกิจ SME

คนคิด กับ คนทำ ในธุรกิจ SME




เวลาที่เขียนบทความธุรกิจ ผมไม่ค่อยได้เน้นคำว่า SME หรือ ธุรกิจขนาดย่อม ทั้งที่มุ่งเน้นให้ความรู้ไปในแนวทางนี้ เพราะธุรกิจที่เรียกว่า SME จะมีนิยามส่วนหนึ่งว่าเป็นธุรกิจที่มีจำนวนบุคลากรไม่มากนัก 50-200 และเป็นธุรกิจเจ้าของเดียว ที่ไม่ใช่จำเพาะว่า ของคน คนเดียว แต่หมายถึงไม่ได้ขึ้นกับบริษัทอื่น มีหลายหน่วยธุรกิจอะไรทำนองนั้น อย่างไรก็ตาม หลายๆ ธุรกิจ ร้านค้า ก็มีเจ้าของเดียวจริงๆ มากมาย บทความนี้จึงเหมาะกับ คนที่เพิ่งตั้ง หรือจะทำธุรกิจต่างๆ อยู่นี่เลย..

ด้วยปัจจัยตั้งต้นก็มักจะคล้ายกันในหลายๆ กิจการ ที่ก่อเกิดโดยคนเพียง 1 หรือ 2-3 คนในการคิดทำสินค้า หรือบริการ นั้น ๆ ออกขาย จะเรียกว่าเกิดจากไอเดีย (idea) ช่องทาง (Chanel) หรืออื่นๆ แม้จะเป็นความสร้างสรรค์หรือไม่ก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดความคิด ที่รวมๆ แล้วเรียกได้ว่า ความคิดจากการมองเห็น โอกาส (Opportunity)

รูปแบบที่ธุรกิจเกิด กับไม่เกิด!!

ซึ่งเมื่อมีความคิดที่เห็นในโอกาส จึงเกิดการต่อยอดลงมือทำ เกิดเป็นร้านค้า, ห้างหุ้นส่วน, บริษัท ที่จะเติบโตกันหรือไม่ ก็ว่ากันไป นี่คือรูปแบบ ของการเริ่มต้นโดยส่วนใหญ่ แต่ใช่ว่าจะเสมอไป เพราะรูปแบบต่อมาที่ทำให้ ธุรกิจไม่เริ่มต้น หรือไม่เกิด ก็คือ

การคิดได้ มีไอเดีย เห็นโอกาส แต่ปัญหาจะมีอยู่ว่า ไม่มีคนทำ! ไปจนถึงทำไม่ได้เหมือนที่คิด ขาดคนช่วยเรื่องนั้น ขาดความรู้เรื่องนี้ มีเงินทุนไม่พอ หรืออื่นใดก็ตามคล้ายกัน นี่ก็เป็นรูปแบบทั่วไปส่วนใหญ่ ที่ทำให้ธุรกิจ กิจการไม่เกิด หรือตั้งต้นไม่ได้ เชื่อว่าหลายคนคงกำลังพยักหน้าตาม อาจคิดไปด้วยว่า ก็ใช่น่ะสิ จะเกิดได้อย่างไร ในเมื่อไม่พร้อม


ก็ในเมื่อรู้แล้ว ก็แค่กลับมาทบทวน ตรงนี้แหละคือปัจจัยสำคัญ เป็นจุดเปลี่ยน เป็นความแตกต่าง เพียงวางแผนรับมือ

ทว่า ในทุก ๆ ปัญหาเหล่านั้น มันก็ต้องมี “คนทำ” ไม่ใช่แค่เรื่องขาดกำลังคน ขาดทักษะคนที่จะมาทำงานตามที่คิด ต่อให้เป็นเรื่องเงินทุน มันก็ต้องมี คนทำอะไรสักอย่าง เพื่อแก้ปัญหานี้ แน่นอนว่าถ้ามีคนทำปัญหาคงไม่เกิด

นี่จึงไม่แปลกที่ คนที่คิดได้มีมากมาย คนที่ทำได้มีน้อย หรือที่จริงก็แค่ คิดแต่ไม่ลงมือทำ ผมเชื่อว่าคนที่ตั้งต้นได้แล้ว จะพบว่า การทำไม่ได้มักเป็น “ข้ออ้าง” เพื่อไม่ทำมากกว่า ทำมาก ทำน้อย ต้องลองทำดูก่อน โดยการอ้างไม่ทำนั้น มักเกิดจากความกลัว หรือปัจจัยภายในเสียส่วนใหญ่

ธุรกิจ กิจการ จะเริ่มขึ้นได้ นอกจากคิดได้แล้ว ต้องทำได้ด้วย โดยอย่างยิ่งเริ่มจากตัวเองลงมือทำบางอย่าง

ยังไม่เท่านี้เพราะเมื่อลงมือทำแล้ว ตั้งต้นได้แล้ว สิ่งที่ขาด ก็ยังคงเป็น “คนทำ” อยู่ดี เพราะการที่กิจการเกิดขึ้นมาได้ ก็ถือว่าเริ่มเติบโต จากความคิด เป็นสิ่งต่าง ๆ ภาระการงานก็มากขึ้น ไปจนถึงการขยายตัวสู่ “การสร้างภาวะมั่นคง” ให้ธุรกิจ ก็ย่อมต้องการมือมาช่วย รวมถึงคนเก่งมาช่วย หลายคนที่เคยผ่านตรงนี้ จะมีความรู้สึกว่า อยากแยกร่างได้สักสิบร่าง ผมเชื่อว่าหลายคนเป็นเช่นนี้

มีคนทำ แต่ไม่มีคนคิด?

แต่เมื่อธุรกิจผ่านช่วงแรกไปได้อีก ซึ่งระยะเวลาก็แล้วแต่ธุรกิจนั้น อาจไม่กี่ปี จนหลายปี กิจการจะเริ่มอยู่ตัว มีเงินทุนหมุนเวียน มันพอที่จะตอบโจทย์และแก้ปัญหาเรื่อง “คนทำ” ได้ สิ่งที่จะขาดแคลนแทน คือ “คนคิด” ทำไมเป็นเช่นนี้? ด้วยไม่ว่า ธุรกิจ จะเป็นธุรกิจอะไรก็ตาม มันย่อมมาถึงทางตันของบางอย่าง เช่น ไม่มีความแตกต่างกับเจ้าอื่น เริ่มเหมือนคนอื่น หรือคนอื่นมาเหมือนเรา ไปจนถึงการต้องการขยายตัว ตันที่ลูกค้า, ยอดขาย, ตรงนี้เป็นจุดที่น่าจะเรียกว่า “ตอนแรกไม่ได้คิด” เพราะไอเดีย หรือความคิดแรกของคนทำกิจการ ก็แค่อยากให้มันเกิดขึ้น ตามภาพความคิดหนึ่ง เมื่อมันเกิดมาแล้ว ก็อาจไม่เคยคิด, คิดไม่ทัน หรือคิดไม่ออกว่าจะพัฒนาไปได้ต่อไหม หรือแก้ปัญหาภาวะทางตันนี้อย่างไร


“ความคิด” เป็นเรื่องที่สร้างยากกว่า “กำลัง” จากที่เคยมองว่า กำลังในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือคน เป็นปัญหาใหญ่โตในตอนแรก แต่วันหนึ่ง ไอเดีย ความคิด นี่แหละทำให้ไปไหนต่อไม่ได้ แม้จะมีเงินจ้าง แต่คำว่า “คนเก่ง” ที่มีความคิดช่วยกิจการได้จริง ก็ใช่ว่าจะหากันได้ง่าย ๆ 

ทั้งนี้ ใช่เพียงแต่ปัญหาปัจจุบัน หรือในการเติบโต ยังรวมถึงอาจจะต้องรับมือกับอนาคตให้ได้ด้วย ธุรกิจวันนี้ที่ยังไม่ตันก็มีสิทธิ์ตันกับปัญหาได้ นี่เป็นรูปแบบที่จะเกิดขึ้นกับทุกธุรกิจในแง่ “คนคิด กับ คนทำ” ที่เขียนมาหวังว่าคงมีประโยชน์ กับคน “กำลังคิด ทำ” ครับ


ที่มา:

 1478
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

หน้าที่ที่คนทำงานทุกคนเจอไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรก็ตามคงไม่พ้นเรื่องของการยื่นภาษีที่เราต้องยื่นกันทุกปี เราลองมาสำรวจดูว่ามีข้อผิดพลาดไหนบ้าง ที่ส่วนใหญ่คนทั่วไปเผลอทำกัน
1156 ผู้เข้าชม
ยุค “ไทยแลนด์ 4.0” ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคลหลายต่อหลายอย่างซึ่งนั่นนำมาซึ่งการปรับตัวให้เข้าสู่ยุค HR 4.0 ด้วยเช่นกัน และหนึ่งในภาระหน้าที่ของฝ่าย HR ที่มีการปรับเปลี่ยนตามยุคเป็นอันดับแรกๆ ก็คือการสรรหาทรัพยากรบุคคลนั่นเอง ลองมาดูกันดีกว่าว่าเทรนด์มาแรงของการสรรหาทรัพยากรบุคคลในยุค HR 4.0 นี้จะมีอะไรกันบ้าง
3653 ผู้เข้าชม
เงินโบนัส หมายถึง เงินพิเศษ ที่องค์กรจ่ายให้เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานนอกเหนือจากเงินเดือนค่าจ้าง ซึ่งอาจจะเป็นรายปี รายครึ่งปี แล้วแต่องค์กรถ้าพูดให้เข้าใจโดยทั่วๆไปก็คือ โบนัสเป็นเงินค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้พนักงาน เนื่องจากผลประกอบการดี เป็นไปตามเป้า หรือมีกำไรนั่นเอง 
250331 ผู้เข้าชม
ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและองค์กรบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ในยุคนี้องค์กรจึงหันมาใส่ใจทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก เพื่อรักษาพนักงานของตนไว้ รวมถึงลดอัตราการลาออกให้น้อยที่สุดด้วย
7970 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์