5 วิธีทำให้กลับมารักงานที่ทำ

5 วิธีทำให้กลับมารักงานที่ทำ





การก้าวเข้ามาเป็นผู้ประกอบการ ส่วนมากจะเริ่มต้นจากความรักในงานที่ทำกันทั้งนั้น แต่ถึงแม้จะรักมากแค่ไหนก็ใช่ว่าคุณจะต้องรู้สึกแบบเดิมในทุกๆ วัน เพราะสุดท้ายแล้วมนุษย์เราเมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ กัน ก็จะทำให้เกิดความเบื่อขึ้นได้อยู่ดี

ดังนั้นคงจะดีไม่น้อยถ้าคุณเปลี่ยนจากการมองหาทางหนี เป็นการเข้าใจในธรรมชาติของมัน และปรับเปลี่ยนทัศนคติ รวมถึงการใช้ชีวิตของตัวเอง เติมเชื้อไฟให้หายเบื่อกับงานตรงหน้า รับรองว่าจะทำให้คุณกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้งแน่นอน

จดบันทึกข้อดีของสิ่งที่ทำอยู่

การเป็นผู้ประกอบการจะลาออกง่ายๆ ก็คงไม่ได้ ดังนั้นให้เริ่มจากมองหาข้อดีในสิ่งที่คุณทำก่อนเป็นอย่างแรก และจดบันทึกมันลงไปในกระดาษเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เช่น คุณมีอิสระในการทำงาน คุณไม่ต้องรับฟังคำสั่งใคร คุณได้พบปะผู้คนใหม่ๆ มากมาย คุณได้เงินเดือนที่มากขึ้น ข้อดีเหล่านี้จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้น และมองงานตรงหน้าเปลี่ยนไป ยิ่งข้อดีเยอะเท่าไหร่ ไฟในการทำงานก็จะกลับมาหาคุณมากเท่านั้น

วางแผนเป้าหมายชีวิต

การทำงานไปแบบวันต่อวันจะทำให้เกิดอาการเบื่อและหมดไฟโดยไม่รู้ตัว เพราะคนเราอยู่ได้ด้วยจุดมุ่งหมาย การมีเป้าหมายช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตจะทำให้คุณไม่ต้องลอยเคว้งคว้าง และรู้ว่าจะตื่นเช้าลุกขึ้นมาทำงานทุกวันไปเพื่ออะไร เพื่อใคร หรือทำไปทำไม ซึ่งเป้าหมายนั้นคุณต้องเซ็ตระยะเวลาให้มันอย่างชัดเจน เห็นผล จริงจัง ยิ่งกำหนดเวลาให้มัน ทำให้มันมองเห็นภาพชัดเจน คุณยิ่งจะมีไฟในการทำงานมากขึ้น

ให้รางวัลตัวเองอยู่เสมอ

ความเบื่อมันมาจากการที่คุณทำในสิ่งที่คุณไม่ชอบ ณ ช่วงเวลานั้น ถึงแม้งานที่ทำมันจะเคยเป็นอะไรที่คุณหลงใหล แต่เมื่อต้องทำมัน 24 ชั่วโมง และมีเรื่องของปากท้อง เรื่องของอาชีพเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ย่อมเกิดความเครียดและความกดดัน ซึ่งคุณควรให้เวลาตัวเอง ให้รางวัลตัวเอง เป็นการตอบแทนผลสำเร็จที่ผ่านมาอยู่เสมอ ให้ตัวเองได้พักผ่อนและทำในสิ่งที่ใจต้องการ ณ ตอนนั้น เช่น ถ้าคุณเหนื่อย และไม่อยากทำอะไร อยากแค่นอนดูหนังเฉยๆ ฟังเพลงสบายๆ คุณก็สามารถทำได้เลยทันที ให้เวลาในช่วงพักกับตัวเอง และนั่นจะทำให้คุณลุกเร็ว พร้อมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอย่างไม่มีคำว่าเบื่อ

เปลี่ยนไปทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ

เชื่อว่าในหัวของผู้ประกอบการทุกคนจะต้องมีแพลนอยากทำอะไรบางอย่างแต่ไม่เคยเริ่มทำอยู่แน่ๆ ซึ่งถ้าวันหนึ่งคุณเกิดรู้สึกเบื่องานตรงหน้า และไม่อยากจะทำมันจริงๆ ก็ให้คุณหยุดพักมาทำในสิ่งที่ต้องการ เปลี่ยนไปทำในสิ่งที่อยากทำแต่ไม่เคยทำมาก่อนในชีวิต เช่น เรียนวาดรูป ไปเที่ยวต่างประเทศ หรือเริ่มธุรกิจใหม่ที่อยากทำ ตรงนี้แหละครับที่จะทำให้คุณเติมเต็มประสบการณ์ที่ฝันไว้ และทำให้คุณได้รับมุมมองใหม่ๆ ที่ไม่เคยสัมผัส

คิดว่ามันเป็นอุปสรรคที่ไปสู่ความสำเร็จในทุกวัน

การที่คุณเบื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คุณหนีมันออกมาทันทีอาจจะเป็นเรื่องง่ายมาก แต่กลับกันคุณลองคิดดูว่า ถ้าคุณสามารถเอาชนะงานตรงหน้าที่คุณเบื่อได้ทุกวัน คุณจะเป็นคนที่เข้มแข็ง อดทนมากแค่ไหน คุณอาจจะมองงานนี้เป็นการทดสอบตัวเอง ท้าทายตัวเอง และเป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จของตัวเองก็ได้ ถ้าคุณทำงานนี้ผ่านไปได้ในแต่ละวัน นั่นหมายถึงวันนั้นคุณประสบความสำเร็จเป็นก้าวเล็กๆ ไปเรียบร้อยแล้ว กำลังใจเหล่านี้เองที่จะทำให้คุณมองงานที่เคยเบื่อ เป็นงานที่น่าทำ เพราะมันเป็นเส้นทางสู่ความสำเร็จที่จะทำให้คุณนอนหลับฝันดีในทุกๆ คืน


ที่มา: Smartsme

 1259
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

นอกจากกลยุทธ์ในการทำธุรกิจแล้ว กลยุทธ์ในการดูแลบุคลากรในด้านต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน องค์กรอาจใช้กลยุทธ์นี้ขับเคลื่อนธุรกิจร่วมกับกลยุทธ์อื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีที่สุดต่อองค์กรได้ ลองมาดูกันดีกว่าว่าจะมีกลยุทธ์อะไรน่าสนใจกันบ้าง
2513 ผู้เข้าชม
คำถามนี้น่าสนใจมากนะครับ เพราะว่ามันมีผลทั้งกับทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายที่มองหางานก็ต้องเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ ฝ่ายที่จะรับเข้าทำงานก็ต้องนัดหมายคนที่เกี่ยวข้องเพื่อลงตารางเวลาสัมภาษณ์ ก่อนอื่นเราต้องกลับมาดูที่จุดประสงค์ของการสัมภาษณ์งานก่อน
3975 ผู้เข้าชม
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเข้าอยู่ในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องว่าจ้างให้ทำของหรือใช้บริการ ยกตัวอย่าง จ้างฟรีแลนซ์ (บุคคลทั่วไป) ให้ทำเว็บไซต์ ออกแบบกราฟิก จ้างช่างมาซ่อมแอร์ หรือการว่าจ้างบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี บริษัทออกแบบโฆษณา หรือค่าบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันภัยสินค้า ค่าประกันขนส่ง ค่าเช่าออฟฟิศ ฯลฯ รายจ่ายเหล่านี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจะมีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ของเงินค่าจ้างของผู้ให้บริการออกมาด้วย โดยที่เงินนี้จะไม่ใช่เงินของเรา แต่เป็นเงินที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร
6216 ผู้เข้าชม
บทความนี้ขอพาคุณผู้อ่านมาเรียนรู้วิธีจัดการกับพนักงานที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ โดยเบื้องต้นเราต้องแยกพนักงาน ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. พนักงานไม่รู้ ไม่เข้าใจ 2. พนักงานรู้ แต่ประมาท ลืม หรือไม่ใส่ใจในงานอย่าง เพียงพอ และ 3. พนักงานที่เจตนาทำผิด เมื่อเราแยกพนักงานแต่ละคนออกเป็นกลุ่มๆ ตามการปฏิบัติงานแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ วิธีการจัดการกับพนักงานแต่ละกลุ่ม ซึ่งมี ดังนี้
1006 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์