ลักษณะและขอบเขตของงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ลักษณะและขอบเขตของงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์

"คำจำกัดความของคำว่า “ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources หรือ HR)"

  • หมายรวมถึงองค์ความรู้โดยรวม ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ พรสวรรค์ ความถนัดของบุคลากรโดยรวมที่ขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้า และยังครอบคลุมไปถึงคุณค่า ทัศนคติ วิธีการจัดการกับปัญหา และความเชื่อของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ทำงานในองค์กรนั้น ๆ อีกด้วย

  • ทรัพยากรมนุษย์เป็นผลลัพธ์ของความสามารถที่ถูกถ่ายทอดกันมา ความรู้และทักษะต่าง ๆ ที่สั่งสม โดยแสดงให้เห็นผ่านบุคลากรที่มีพรสวรรค์และความถนัดต่าง ๆ ที่ทำงานในองค์กรนั้น ๆ

  • ธรรมชาติของทรัพยากรมนุษย์มีหลายมิติ ในแง่ของชาติพันธุ์ ทรัพยากรมนุษย์หมายถึงความรู้ ทักษะในการดำรงชีพ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พรสวรรค์ และความถนัดที่ประชากรในชาตินั้น ๆ มี

  • ในขณะที่ถ้าพูดถึงทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละองค์กร จะหมายถึงความสามารถที่ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ความรู้และทักษะในการทำงาน พรสวรรค์และความถนัดที่ปรากฏในบุคลากรทุกคนที่เป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กร

ลักษณะของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management หรือ HRM) คือกระบวนการที่จัดการนำเป้าหมายของบุคลากรและเป้าหมายขององค์กรให้มาบรรจบกัน เพื่อผลสำเร็จร่วมกันของทั้งองค์กรและบุคคล คุณลักษณะต่าง ๆ ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย

          – เป็นหลักการที่แพร่หลายมีอยู่ทั่วไปตามองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและวิสาหกิจ

          – มุ่งเน้นไปที่ผลของการจัดการมากกว่ากฎเกณฑ์ของหลักการ

          – ช่วยพัฒนาศักยภาพของพนักงานให้ถึงขีดสุด

          – ส่งเสริมให้พนักงานทำงานให้กับองค์กรอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ

          – เกี่ยวข้องกับบุคลากรในองค์กรทุกคนทั้งรายบุคคลและเป็นหมู่คณะ

          – มอบหมายงาน และบรรจุแต่งตั้งงานให้กับพนักงานอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อผลในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

          – ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานในอนาคตโดยสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถและมีแรงจูงใจที่ดีในการทำงาน

          – พยายามสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานระดับต่าง ๆ ในองค์กร

          – รวบรวมเอาศาสตร์และศิลป์แขนงต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน มีการใช้หลักการและองค์ความรู้ทั้งทางจิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ การบริหาร การตลาด ฯลฯ ในการบริหารและจัดการบุคลากรในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์

ขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นมีความกว้างและครอบคลุมหลายด้าน ดังนี้

1. ด้านบุคคล

การบริหารทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวพันโดยตรงกับงานฝ่ายบุคคลส่วนต่าง ๆ เช่น

          – การวางแผนเกี่ยวกับกำลังคนหรือการวางแผนทรัพยากรมนุษย์

          – การสรรหาบุคลากร

          – การคัดเลือกบุคลากร

          – การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคลากร

          – การโยกย้ายบุคลากร

          – การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง

          – การฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

          – การเลิกจ้างและการยุบตำแหน่ง

          – การจัดการบริหารค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ที่พนักงานพึงได้

          – การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้เงินเดือนขึ้น

          – การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

2. ด้านสวัสดิการ

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการทำงานให้มากที่สุด เช่น

          – การดูแลโรงอาหาร ห้องพักกลางวัน ห้องอาหาร

          – การจัดการที่พักอาศัยให้กับพนักงาน

          – การจัดการด้านการคมนาคมขนส่ง

          – การอำนวยความสะดวกด้านการแพทย์ เช่น ดูแลห้องพยาบาล

          – การจัดการการให้ทุน หรือส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับพนักงาน

          – การจัดการบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างเหมาะสม

          – การดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน

          – การจัดการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหรือจัดกิจกรรมสันทนาการให้กับพนักงาน

3. ด้านความสัมพันธ์กับธุรกิจและองค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังครอบคลุมถึงการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับองค์กรในด้านต่าง ๆ เช่น

          – การส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์

          – การจัดการการประชุมระหว่างผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง

          – การจัดการการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

          – การจัดการเรื่องการร้องทุกข์ของบุคลากร

          – การดำเนินการเกี่ยวกับระเบียบวินัยของพนักงาน

          – การจัดการการระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและพนักงานทั่วไป

Credit : jobsdb.com

 49802
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

เวลาเราให้คนออกจากงานไปนั้นมักเป็นการง่ายที่โทษว่า “ก็เป็นความผิดของพนักงานคนนั้นเอง” ทั้งนี้เป็นเพราะมาตรการการ เลิกจ้างนั้นเป็นมาตรการที่ควรใช้เมื่อพนักงาน “มีอาการ” ที่สมควร ที่จะต้องให้ออกจากงานไปจริง ๆ เช่น ไม่มีวินัยในการทำงาน ชอบสร้าง ปัญหาต่าง ๆ นานาให้กับหน่วยงาน สร้างความแตกแยกในหมู่ เพื่อนร่วมงาน เฉื่อยหรือหย่อนสมรรถภาพในการทำงานจนเป็นตัวถ่วง ผลการปฏิบัติงานขององค์กรที่ไม่อาจปล่อยไว้ได้ เป็นต้น
1881 ผู้เข้าชม
เรื่องของการทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานนั้น มีการพูดถึงกันมาก็หลายปีแล้ว มีองค์กรในประเทศไทยที่ทำหน้าที่ส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ สร้างพนักงานให้มีความสุขในการทำงาน เพราะเชื่อว่า พนักงานที่มีความสุขในการทำงานนั้น จะสามารถสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง แต่ตรรกะนี้ เป็นจริงหรือ พนักงานที่มีความสุขในการทำงาน จะทำให้องค์กรมีผลงานที่ดีขึ้นจริงๆ หรือ
3181 ผู้เข้าชม
สำหรับมนุษย์เงินเดือนซึ่งรับเงินได้ประเภทที่ 1 หรือ เงินได้ตามมาตรา 40(1) นั้น นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมาย ที่จะต้องประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของลูกจ้างไปล่วงหน้าตลอดทั้งปี จากนั้นจะนำภาษีที่คำนวณได้ตลอดทั้งปีนั้น มาเฉลี่ยเป็น “ต่อเดือน” แล้วจึงทำการหัก “ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย” ออกจากเงินเดือนของเราในแต่ละเดือน ทำให้เราได้รับเงินเดือนสุทธิน้อยลง
3911 ผู้เข้าชม
หากคุณมีลูกเล็กๆ หรือเคยมีประสบการณ์กับการเลี้ยงเด็ก จะพบว่าเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่สามารถพูดได้ ก็ต้องการการสื่อสาร พูดคุยเหมือนกัน จริงๆ แล้ว คนเราเกิดมาต้องการการสื่อสารทันทีที่คลอดเลยด้วยซ้ำ ดูได้จาก หากเด็กที่คลอดออกมาแล้วไม่ร้อง หมอจะตีหรือทำทุกวิธีที่ให้เด็กร้องเพื่อปอดจะได้เริ่มทำงาน พอโตขึ้นมาหน่อยก็เริ่มพูดเพื่อสื่อสารให้คนรอบข้างเข้าใจ
2664 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์