“การฟัง” ทักษะที่ถูกลืม

“การฟัง” ทักษะที่ถูกลืม

หากคุณมีลูกเล็กๆ หรือเคยมีประสบการณ์กับการเลี้ยงเด็ก จะพบว่าเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่สามารถพูดได้ ก็ต้องการการสื่อสาร พูดคุยเหมือนกัน จริงๆ แล้ว คนเราเกิดมาต้องการการสื่อสารทันทีที่คลอดเลยด้วยซ้ำ ดูได้จาก หากเด็กที่คลอดออกมาแล้วไม่ร้อง หมอจะตีหรือทำทุกวิธีที่ให้เด็กร้องเพื่อปอดจะได้เริ่มทำงาน พอโตขึ้นมาหน่อยก็เริ่มพูดเพื่อสื่อสารให้คนรอบข้างเข้าใจ ดังนั้น เราทุกคน เกิดมาพร้อมกับความต้องการที่จะสื่อสารแต่เมื่อพูดถึงการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักคิดถึง “การพูดหรือการเขียน” เท่านั้นสังเกตได้จากหลักสูตรการอบรมต่างๆ ที่มีอยู่ทั่วไปในท้องตลาด มีแต่เรื่องเหล่านี้ เช่นทักษะการพูดในที่สาธารณะ ทักษะการเขียนจดหมายธุรกิจ เป็นต้น

แต่ทักษะหนึ่งที่เป็นสิ่งจำเป็น แต่กลับถูกลืมไป คือ ทักษะการฟัง ลองสังเกตดูซิ มีหลักสูตรใดบ้างสอนคุณเรื่อง “ฟัง”

แต่เชื่อไหมว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องที่ลูกน้องไม่พอใจหัวหน้า หัวหน้าไม่ชอบใจลูกน้อง หรือแม้แต่เรื่องที่ทะเลาะกันในครอบครัว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการ “ไม่ฟัง” เพราะคนส่วนใหญ่มักคิดว่าตัวเอง “ฟัง” อยู่แล้ว คนอื่นต่างหากที่ “ไม่ฟัง” ปัญหาจึงอยู่ที่ คนอื่น จริงๆ แล้ว “การฟัง” ต่างจาก “การได้ยิน” คุณเคยฟังข่าว 7 โมงเช้าทางวิทยุไหม ก่อนจบข่าวจะเป็นพยากรณ์อากาศ สมมุติข่าวจบ เพื่อนที่นั่งรถมาด้วย ถามคุณว่า “เมื่อกี้เขาบอกว่าพระอาทิตย์จะตกกี่โมงนะ” เป็นไปได้ไหม ที่คุณตอบไม่ได้ เพราะไม่ได้ “ฟัง” แม้จะ “ได้ยิน” ? นอกจากนั้นสิ่งสำคัญที่ควรเข้าใจคือ “ได้ยิน” เราเป็นคนตัดสิน แต่ “ฟัง” คนอื่นตัดสินนะครับ ตัวอย่างเช่น หากหัวหน้าได้ยินทุกอย่างที่คุณพูด แต่ท่าทางของท่านเหมือนไม่ได้ฟังคุณอยู่ คุณจะคิดว่าท่านฟังหรือเปล่า

ดังนั้น การฟังต้องฝึก ผมมีเทคนิคการฟังที่ดี 4 ประการ มาแลกเปลี่ยน การฟังที่มีประสิทธิภาพ ต้องครบทุกองค์ประกอบ ได้แก่

"ฟังด้วยหู" ดั่งคำโบราณว่าไว้คือ “ เงี่ยหูฟัง” หรือ ตั้งใจฟัง

"ฟังด้วยตัว" หันตัวไปหาผู้พูด หรือโน้มตัวเข้าไปเพื่อฟัง แม้แต่การพยักหน้าก็บ่งบอกถึงอากัปกิริยาการฟัง

"ฟังด้วยตา" ประสานสายตา หรือสบตาผู้พูดเป็นระยะๆ หรือใช้ตาดูภาษากายของผู้พูดระหว่างการสนทนา

"ฟังด้วยปาก" พูดตอบโต้ สอบถาม ในเรื่องที่ฟังอย่างเหมาะสม และถูกจังหวะ

เราฝึกการพูดมาตั้งแต่เด็ก แต่การฟังกลับเป็นทักษะที่ถูกมองข้ามไป หากวันนี้คิดอยากจะเพิ่มเติมทักษะอะไรสักอย่าง ผมแนะนำทักษะการฟัง แม้ดูเหมือนง่าย แต่ไม่ง่าย ต้องอาศัยการฝึกฝน ฝึกฝน และ ฝึกฝน

 2668
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

กรมสรรพากร แนะนำให้ประชาชนยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งจะสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและสามารถตรวจสอบสถานะการยื่นภาษีได้อย่างสะดวก
4062 ผู้เข้าชม
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวนึงที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว
816 ผู้เข้าชม
นื่องจากความเชื่อข้างต้น ก็เลยทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้เงิน เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ โดยเริ่มต้นจากเรื่องของเงินเดือนเป็นอันดับแรก ให้เงินเดือนเพราะต้องการให้พนักสร้างผลงานให้กับองค์กร จากนั้นก็ต่อด้วยเรื่องของการให้คอมมิชชั่นสำหรับพนักงานขาย ใครที่ขายได้มาก ก็ยิ่งได้เงินมากขึ้น ระยะหลังๆ มานี้ก็เริ่มมีสิ่งที่เรียกกว่า pay for performance เกิดขึ้น โดยเอาผลงานของพนักงานมาเป็นพื้นฐานและผูกด้วยระบบการจ่ายค่าจ้างที่เป็นไปตามผลงาน ใครทำงานได้ดี ก็ได้รับเงินรางวัลที่สูงกว่าคนที่ทำผลงานได้ไม่ดีพอ โดยบางแห่งก็กำหนดเป็นเรื่องของโบนัสตามผลงาน คำถามก็คือ เงินรางวัลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราสามารถใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในระยะยาวได้จริงๆ หรือ
1183 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ คนน่าจะมีคำตอบอยู่ในใจไปในทิศทางเดียวกัน งาน HR คือแผนกที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องพนักงานของบริษัท รับพนักงานเข้า ดูแลพนักงานที่อยู่ ทำเรื่องให้คนออก ดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคน ภาพต่าง ๆ เหล่านั้นอาจจะเป็นภาพที่ HR สร้างให้ตัวเองมาโดยตลอด แต่ในวันนี้ HR ยังควรรักษาเพียงภาพนี้เอาไว้อย่างเหนียวแน่นหรือไม่
972 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์