วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 10 ประการของงาน HR

วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 10 ประการของงาน HR

"Best Practice" หรือ "วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ" เริ่มเป็นที่คุ้นเคยกันในวงการธุรกิจ และอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง แท้จริงแล้วสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวผลงานที่ได้ แต่เป็นการนำเสนอวิธีการหรือกระบวนการที่ทำแล้วดีที่สุดในการได้ผลงานที่ดี เด่นสำเร็จออกมาแล้วนำเอาวิธีการหรือกระบวนการนั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อให้แต่ละที่นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของตัวเองชาว HR ที่ไม่ต้องการตกยุคก็ต้องค้นคว้าหา "HR Best Practice" มาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ซึ่งผมพอจะมีแนวทางให้ดังนี้นะครับ

1. การให้ความสำคัญกับผู้ที่มีผลงานเป็นเลิศ การให้รางวัล

ยอมรับชื่นชมต่อดาวเด่นทั้งหลายอย่างเปิดเผยกับทุกๆ คนในองค์กรตามวาระและช่องทางต่างๆ ที่เหมาะสม นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้คนเก่งเหล่านั้น ยังเป็นการสร้างบรรยากาศการแข่งขันให้กับคนอื่นๆ ที่อยากขึ้นมาเป็นดาวกับเขาบ้าง

2. การประเมินผลโดยใช้ข้อมูลป้อนกลับแบบ 360 องศา

ความสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนระหว่าง "พนักงาน-เจ้านาย-ลูกน้อง-เพื่อนร่วมงาน" ในสังคมไทยนับเป็นสิ่งที่ซับซ้อนไม่ใช่น้อย แต่สำหรับผมแล้วถ้าองค์กรใดมีความพร้อมที่จะลองทำแม้ไม่เต็มรูปแบบเช่น 180 องศา หรือ 270 องศา ตามความเหมาะสมก็นับเป็นสิ่งที่น่าค้นหาครับ

3. การให้โบนัสตามผลการปฏิบัติงาน

บางคนมองว่าการให้โบนัสแบบคงที่เป็นเรื่องจูงใจแบบไม่ตรงจุดประสงค์ของการ บริหารผลการปฏิบัติงานที่กล่าวว่า "ใครทำมากก็ควรได้มาก และทำน้อยก็ควรได้น้อย" และผมก็ขอเติมให้อีกว่า "ใครทำไม่ได้ก็ไม่ควรได้อะไรเลย" พนักงานเจนเนอเรชั่นหลังๆ กล้าได้กล้าเสียมีมากขึ้น HR ก็ต้องเข้าใจระบบการให้โบนัสแบบแปรผันมากขึ้นครับ

4. ระบบการประเมินผลงานที่เป็นธรรมแก่พนักงาน

เรื่องนี้พูดก็ยากทำก็ยาก เพราะคำว่า "เป็นธรรม" มักจะกลายเป็น "เป็นนามธรรม" อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากว่าธรรมชาติของการประเมินผลงานต้องมีทั้งหลักของความเป็นรูปธรรม (objectivity) และ ความเป็นนามธรรม (subjectivity) ควบคู่กันไปเลยกลายเป็นช่องว่างให้การประเมินผลงานที่เป็นธรรมจริงๆ แก่พนักงานนั้นทำได้ยากจริงๆ นับเป็นสิ่งที่พิสูจน์กื๋นของ HR ก็ว่าได้

5. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่นี้ได้แก่ การจัดการความรู้ (knowledge management) ในองค์กรที่ออกแบบมาเพื่อรองรับสนับสนุนกลยุทธ์ต่างๆ ขององค์กร เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ยังทำกันให้ดีแบบยั่งยืนได้ยากเพราะขึ้นอยู่ กับปัจจัยหลายด้าน

HR ONLINE

6. การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการออกความเห็น

ความเห็นของพนักงานจากทุกระดับเป็นสิ่งมีค่าที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ เพราะจะนำมาซึ่งการจัดการแบบมีพนักงานเป็นศูนย์กลาง (employee centric management) ที่สามารถนำเอาศักยภาพอันไม่มีที่สิ้นสุดของพวกเขาออกมาเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ ให้แก่องค์กรได้

7. พิธีรีตองการให้รางวัลและการชมเชยพนักงาน

การให้รางวัลในรูปแบบของเงินและผลประโยชน์อื่นๆ นับเป็นสิ่งจูงใจภายนอก (extrinsic motivation) ที่สำคัญแบบไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้ แต่การยอมรับ การชื่นชม ด้วยเสียงปรบมือจากพนักงานทั้งแผนกหรือทั้งองค์กรสามารถเป็นมนต์เสน่ห์แห่ง สิ่งจูงใจภายใน (intrinsic motivation) ที่เข้าไปถึงจิตใจของพนักงานได้อย่างไม่รู้ลืม

8. การให้พนักงานมีส่วนรับรู้ในธุรกิจขององค์กร

เป็นวิธีการที่บริษัทให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ ทิศทาง และธุรกิจขององค์กร แบบ open book management style แก่พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นข่าวดีหรือบางครั้งอาจเป็นข่าวไม่ดีที่ต้องระวังตัวให้มากขึ้น ก็ตาม

9. โครงการความปลอดภัยและชีวอนามัยในสถานประกอบการ

และโครงการองค์กรแห่งความสุข ทั้งสองโครงการนี้ถือเป็นพื้นฐานหลักขององค์กรทุกแห่งก็ว่าได้ เพราะทุกคนในองค์กรต้องสุขกายและสบายใจอันนำไปซึ่งผลการปฏิบัติงานที่เป็น เลิศ

10. การสร้างความประทับใจอย่างสร้างสรรค์ให้กับพนักงานแบบที่เขาไม่คาดหมาย

การให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ และการชมเชยด้วยวิธีสร้างสรรค์โดยที่เขาไม่รู้ตัวสามารถเป็นความประทับใจที่ ยิ่งใหญ่ล้ำค่าได้อย่างไม่น่าเชื่อ

อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สูตรสำเร็จที่จะสามารถนำไปใช้ในทุกองค์กร หากแต่ต้องอาศัยการวิเคราะห์สภาพจุดแข็ง-จุดอ่อนขององค์กรนั้นๆ เพื่อกำหนดรูปแบบและกลวิธีที่เหมาะสมที่สุด และจำเป็นภายใต้เงื่อนไขของแต่ละองค์กร ลองกลับไปดูที่องค์กรของท่านให้ดีๆ นะครับเพราะ HR Best Practice ของคนอื่นเขาอาจเป็น HR Worst Practice ของเราก็ได้ ใครจะไปรู้ อ่านต่อ:HR มืออาชีพ ตามนิยาม Competency

 5882
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ผมเชื่อว่า มีเพื่อน ๆ อีกหลายคนที่ยังคงรู้สึกงุนงงอยู่ทุกครั้งเวลายื่นแบบภาษี เพราะมีตัวเลขมากมายไปหมด ถึงแม้โปรแกรมคำนวณภาษีจะช่วยให้การกรอกข้อมูลง่ายขึ้น แต่ก็อาจจะไม่เข้าใจอยู่ดีว่า ตัวเลขแต่ละตัวนั้นถูกนำไปคำนวณเป็นภาษีได้อย่างไร วันนี้ ผมจะมาเล่าหลักการคำนวณภาษีให้ฟังกันครับ รับรองว่า ไม่ยากอย่างที่คิด
1548 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ คนคงทราบดีอยู่แล้วว่า สวัสดิการพนักงาน นั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ทางบริษัท หรือนายจ้างมอบให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างทุก ๆ คน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของลูกจ้างและเพื่อให้ลูกจ้างมีสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานที่ดีขึ้นก็ตาม แต่สิ่งที่ได้รับมาเหล่านั้นก็ต้องถูกนำไปคิดคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินของเราในการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในรอบปีบัญชีนั้น ๆ เว้นแต่สวัสดิการต่าง ๆ ที่เราได้รับ จะถูกจัดอยู่ในข้อบัญญัติตามกฎหมายให้มีการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่จะมีสวัสดิการตัวใดกันที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมาคำนวณภาษี ค่าคลอดบุตรถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ ค่าเบี้ยเลี้ยงทางภาษี ถือเป็นสวัสดิการที่ได้รับการยกเว้นหรือเปล่า และค่าเดินทางเหมาจ่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
22764 ผู้เข้าชม
เข้าสู่ช่วงต้นปีเป็นช่วงที่ใครหลายคนมีการเริ่มวางแผนวางแผนการเงินสำหรับปี 2563 นี้ โดยสิ่งที่ไม่พูดถึงเลยไม่ได้คือเรื่องการยื่นภาษีสำหรับรายได้ในปี 2562 ที่ทุกคนที่มีรายได้ต้องยื่นภาษีเงินได้
2270 ผู้เข้าชม
ใครที่รู้ตัวว่ามีรายได้ที่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี รับรองว่าบทความนี้มีประโยชน์ต่อคุณแน่นอน เพราะวันนี้เรามี 10 วิธีที่จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าอะไรที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามแบบฉบับมนุษย์เงินเดือน พราะค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวีตประจำวันสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้มากมาย อีกทั้งยังมีประกันลดหย่อนภาษีที่คุณอาจยังไม่รู้มาก่อนอีกเช่นกัน
769 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์