• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • หักภาษี ณ ที่จ่าย เกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรอย่างไร ?

หักภาษี ณ ที่จ่าย เกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรอย่างไร ?

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • หักภาษี ณ ที่จ่าย เกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรอย่างไร ?

หักภาษี ณ ที่จ่าย เกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรอย่างไร ?

เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ รูปแบบหนึ่งของการเสียภาษี โดยเงินรายได้ของเราจะถูกหักทันทีจากผู้จ่ายเพื่อนำส่งให้สรรพากร

ตัวอย่างเช่น ยุ้ย พนักงานออฟฟิศ มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท และโบนัสปีละ 1 เดือน จากข้อมูลนี้ ช่วยให้ฝ่ายบัญชีของบริษัทสามารถประมาณรายได้ทั้งปีของยุ้ยได้เป็น 30,000 x 13 = 390,000 บาท ยุ้ยเคยให้ข้อมูลกับทางบริษัทว่า เธอทำประกันชีวิตไว้ปีละ 20,000 บาท ซึ่งบริษัทจะเก็บข้อมูลนี้เพื่อคำนวณเป็นค่าลดหย่อน และคำนวณเป็นภาษีเงินได้ที่ยุ้ยจะต้องจ่ายในปีนั้น ๆ ก่อนที่จะหารด้วย 12 เพื่อเฉลี่ยเป็น “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย” ที่จะถูกหักออกจากเงินเดือนของยุ้ยในทุก ๆ เดือนนั่นเอง เมื่อถึงปลายปี บริษัทจะส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อสรุปเงินได้ของยุ้ย และยอดภาษี ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไปตลอดทั้งปี ซึ่งหากยุ้ยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายได้ หรือค่าลดหย่อนตามที่แจ้งไว้กับบริษัทแล้ว ยุ้ยก็ไม่ควรจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมอีก แต่หากยุ้ยมีรายได้เสริม เช่น รับจ้างเขียนบทความ ยุ้ยก็มีหน้าที่ต้องแสดงหลักฐานเพิ่มสำหรับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ได้รับจากบริษัทที่ว่าจ้างยุ้ยเขียนบทความ เพื่อคำนวณหารายได้รวมจากทั้งสองงาน ภาษีที่ควรจะต้องชำระ และนำมาเปรียบเทียบกับยอดภาษีหัก ณ ที่จ่าย รวมทั้งปี เพื่อพิจารณาว่า จะได้รับภาษีคืน หรือต้องชำระเพิ่ม


ในกรณีที่ไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน เงินได้ก็ถูกหัก ณ ที่จ่ายเช่นกัน แอน โปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์ รับค่าจ้างเป็นโปรเจกต์ ปีที่ผ่านมา แอนรับงานทั้งสิ้นสี่โปรเจกต์ แอนตกลงราคาค่าจ้างสำหรับโปรเจกต์แรกเป็นเงิน 20,000 บาท โดยผู้ว่าจ้าง ทำการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 3% หรือคิดเป็นเงิน 600 บาทเพื่อส่งให้กับสรรพากร และโอนเงินเข้าบัญชีให้แอน จำนวน 19,400 บาท ซึ่งการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับอีกสามโปรเจกต์ที่เหลือก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น เมื่อถึงเวลายื่นภาษี แอนต้องนำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ได้รับจากนายจ้างของทั้งสี่โปรเจกต์ มาคำนวณเพื่อหาจำนวนภาษีที่ควรจะเสียจริงทั้งปี ซึ่งแอนมีโอกาสที่ต้องชำระภาษีเพิ่มหากผลจากการคำนวณมียอดสูงกว่าภาษี ณ ที่จ่าย ที่ถูกหักไปแล้วตลอดทั้งปี และในทางกลับกัน แอนก็มีโอกาสที่จะได้รับเครดิตเงินภาษีคืน หากแอนได้เสียภาษี ณ ที่จ่าย รวมทั้งปีแล้วสูงกว่าภาษีที่คำนวณได้


นับได้ว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเทคนิคหนึ่งในการลดภาระการเสียภาษีก้อนใหญ่ครั้งเดียวในแต่ละปี ด้วยการทยอยนำส่งให้สรรพากรทันทีที่ได้รับรายได้ เช่น ในกรณีของยุ้ยที่จ่ายภาษีทุกเดือน หรือแอนที่จ่ายภาษีเมื่อได้รับค่าจ้างในแต่ละโปรเจกต์

สรุปได้ว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นเงินภาษีที่ผู้จ่ายเงินจะหักออกจากเงินที่จะจ่ายให้กับผู้รับ โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นำส่งให้กับสรรพากร ส่วนผู้รับเงินก็จะได้รับหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย จากผู้จ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีกับสรรพากรว่าได้ชำระภาษี ในรูปแบบของภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ทยอยจ่ายไว้แล้วในระหว่างปีเป็นจำนวนเท่าไหร่นั่นเองครับ

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.krungsri.com

 2614
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ในยุคที่องค์กรทั่วโลกกำลังปรับตัวให้ทันตามยุคสมัยจนเกิดการพลิกผันในธุรกิจ (Business Disruption) มากมายซึ่งทำให้องค์กรต้องมีการปรับตัวปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานกันใหม่เพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตปัจจุบัน ไม่เว้นแม้แต่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource)
20885 ผู้เข้าชม
ผู้ได้รับรางวัลจากสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น แม้ไม่ต้องนำเงินรางวัลที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะได้เงินรางวัลเต็มจำนวน เนื่องจากผู้ได้รับรางวัลจะมีภาระภาษีผ่านการจ่ายค่า ‘อากรแสตมป์’
10109 ผู้เข้าชม
คุณอยากทำงาน HR ด้านไหนกัน ? วันนี้เรามาเจาะลึกลักษณะงาน HR ด้าน งานวางแผนกำลังคน / กลยุทธ์ / การบริหารบุคคล (HR planning) กันดีกว่า ว่าเค้าต้องมีกลยุทธ์ในการทำงานยังไง
53372 ผู้เข้าชม
กระบวนการสมัครงานของคุณได้ผ่านพ้นไปแล้วตั้งแต่ขั้นตอนการส่งประวัติส่วนตัวไปยังนายจ้างการสัมภาษณ์งานในแต่ละรอบ จนตอนนี้คุณคือผู้ถูกเลือกจากนี้ไปคุณต้องทำอะไรบ้าง ตรวจสุขภาพ บางบริษัทอาจส่งคุณไปตรวจร่างกาย ว่าคุณมีสุขภาพดีสามารถทำงานให้เขาได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง ส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหา ได้ทำงานแน่นอน หาผู้ค้ำประกัน หากเป็นงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเงิน ๆ ทอง ๆ อาจต้องมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งบางแห่งไม่อนุญาตให้ญาติเป็นผู้ค้ำประกัน ผู้สมัครงานจึงต้องหาผู้ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับนับถือมาเป็นผู้ค้ำประกันให้ ทำสัญญาว่าจ้าง โดยทั่ว ๆ ไปเป็นสัญญามาตรฐานว่ามีการตกลงว่าจ้างงานกัน รวมถึงเรื่องอัตราค่าจ้าง ผลตอบแทนต่าง ๆ และข้อบังคับของบริษัท ทดลองงาน แม้คุณจะได้เข้าทำงานแล้ว แต่คุณยังไม่ได้เป็นพนักงานเต็มตัว ต้องผ่านการทดลองงานเสียก่อน โดยปกติแล้วใช้เวลา 3-6 เดือน จึงจะได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ
3482 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์