• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • สัมภาษณ์กี่ครั้งก่อนจ้างงานจากงานวิจัยทีม People Analytics ของบริษัท Google

สัมภาษณ์กี่ครั้งก่อนจ้างงานจากงานวิจัยทีม People Analytics ของบริษัท Google

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • สัมภาษณ์กี่ครั้งก่อนจ้างงานจากงานวิจัยทีม People Analytics ของบริษัท Google

สัมภาษณ์กี่ครั้งก่อนจ้างงานจากงานวิจัยทีม People Analytics ของบริษัท Google

รายงานข่าวสั้นวงการทรัพยากรบุคคลโดย HR NOTE จากงานวิจัยทีม People Analytics ของบริษัท Google

คำถามนี้น่าสนใจมากนะครับ เพราะว่ามันมีผลทั้งกับทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องฝ่ายที่มองหางานก็ต้องเตรียมตัวในการสัมภาษณ์ ฝ่ายที่จะรับเข้าทำงานก็ต้องนัดหมายคนที่เกี่ยวข้องเพื่อลงตารางเวลาสัมภาษณ์ ก่อนอื่นเราต้องกลับมาดูที่จุดประสงค์ของการสัมภาษณ์งานก่อน ซึ่งถ้าคิดอย่างง่ายที่สุดสามารถมองได้เป็นสองเหตุผลหลักคือ

  1. หาคนที่มีความสามารถในการทำงานตำแหน่งนั้นได้อย่างยอดเยี่ยม
  2. คนที่น่าจะเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กร เชื่อในสิ่งที่องค์กรเชื่อ มี Passion ในงานที่จะทำ และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี


จากเหตุผลทั้งสองข้อเราจึงต้องมีการสัมภาษณ์ที่ถูก ‘ออกแบบ’ มาเพื่อคัดกรองคนที่ใช่ ออกจากจำนวนผู้สมัครมหาศาลใช่ไหมครับ

โดยทั่วไปแล้วการสัมภาษณ์ก็จะมีส่วนที่ถูกออกแบบมาเพื่อ ‘ตรวจวัด’ คะแนนของทั้งสองข้อด้านบนที่กล่าวมา ในกรณีของความสามารถในการทำงานเราอาจดูจากประสบการณ์ทำงานในอดีต สาขาที่เรียนจบมา หรือการลองโยนโจทย์การทำงานเสมือนจริงให้ผู้สมัครได้พิสูจน์ตัวเอง


สำหรับความเข้ากันได้ในข้อสองเราอาจจะใช้แบบทดสอบเชิงชิตวิทยา การใช้คำถามเชิงพฤติกรรมหรือที่เราเรียกว่า Behavioral Interview Questions เพื่อล้วงลึกถึงลักษณะนิสัยที่เป็น Character เฉพาะของผู้สมัครงานแต่ละคน

นี่คือภาพรวมของการสัมภาษณ์งานซึ่งมองทั้งส่วนของจุดประสงค์และวิธีการที่จะคัดกรองคุณสมบัติที่เราต้องการออกมา คำถามต่อมาคือเมื่อให้ลงลึกถึงวิธีการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ กระบวนการรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ ก็จะเกิดคำถามต่างๆ ตามมามากมายเช่น

เราควรให้โจทย์ผู้สมัครตั้งแต่สัมภาษณ์ผ่านโทรศัพท์รอบแรกเลยดีไหม หรือควรรอให้ถึงรอบท้ายๆ ของการสัมภาษณ์เลย

เราควรตัดสินใจจ้างงานโดยใช้การตัดสินใจของผู้จัดการคนเดียวก็เพียงพอแล้ว หรือควรให้มีการสัมภาษณ์กับคนที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นไปอีก

หรือคำถามง่ายๆ อย่าง เราควรมีการสัมภาษณ์กี่รอบดี ในแต่ละตำแหน่งงานควรมีรอบการสัมภาษณ์เท่ากันไหม

วันนี้ผมจะพาทุกท่านไปหาคำตอบเหล่านี้โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของหนึ่งในบริษัทที่ถูกยกเป็นต้นแบบในเรื่อง HR ในหลายแง่มุมนั้นก็คือ Google แต่วันนี้ทาง HR NOTE จะเน้นไปที่เรื่องของการสรรหาจัดจ้างพนักงาน (Recruiting)

แต่ก่อนที่เราจะลงลึกไปมากกว่านี้ผมอยากจะยก Concept ในการจ้างงานที่บริษัท Google ว่ามีเรื่องพื้นฐานที่ควรรู้อะไรบ้าง

1. Google ให้ความสำคัญกับการจ้างงานมาโดยตลอดตั้งแต่บริษัทยังอยู่ช่วงตั้งไข่ โดย Founder ทั้งสองคนเข้าใจดีว่าองค์กรจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับ ‘คุณภาพ’ ของคนในองค์กร โดยพวกเขาเชื่อว่าคนหัวกะทิเกรดพรีเมียมหรือที่เรียกว่า Type A people ก็จะเลือกคนที่เป็น Type A เหมือนกัน ส่วนถ้าเราหย่อนยานหยวนๆ รับคน Type B people เข้ามาก็มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะจ้างคนที่เป็น Type B หรือ Type C เข้ามา เมื่อเวลาผ่านไปบริษัทก็สูญเสียศักยภาพในการแข่งขันอันเป็นผลมาจากคุณภาพของพนักงานที่ค่อยๆ ลดลง

2. Google เชื่อในเรื่องของการสัมภาษณ์ที่ใช้คนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง พูดอย่างง่ายว่านโยบายในการจ้างพนักงานของบริษัทจะไม่ปล่อยให้คนใดคนหนึ่ง ในกรณีนี้ก็คือ ผู้จัดการ ในการตัดสินใจเพียงคนเดียว แต่จะพยายามที่จะให้มีผู้เกี่ยวข้องหลายๆ ส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์พนักงานคนนั้นด้วยเพื่อที่จะได้ความเห็นที่หลากหลายครอบคลุม

3. Google เล่นกับข้อมูล ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจที่บริษัทระดับโลกหลายๆบริษัทมีวัฒนธรรมในการใช้ข้อมูลเพื่อนำมาขับเคลื่อนองค์กร (Data Driven Organization) เราจึงต้องหันกลับมาถามว่าสำหรับประเทศไทยของเราองค์กรมีการคิดถึงเรื่องนี้มากแค่ไหน โดยบทความชิ้นนี้เองก็จะอ้างอิงงานวิจัยด้านข้อมูลของบริษัท Google เพื่อตอบคำถามที่สำคัญนี้เช่นกัน

เราควรมีการสัมภาษณ์ผู้สมัครก่อนตัดสินใจจ้างกี่รอบดี ???

จากหลักการข้อที่ 2 ที่กล่าวไปด้านบนทำให้เรามั่นใจได้ว่า Google ต้องใช้การสัมภาษณ์มากกว่าหนึ่งรอบแน่นอน แต่จะเท่าไหร่กันดีล่ะ ??? เรื่องนี้ทาง Google เองก็สงสัยและพยายามหาคำตอบเช่นกันเพราะหากพิจารณาดีๆ ถ้าเราไม่สามารถมีคำตอบคุณภาพดีให้กับคำถามสำคัญข้อนี้ได้ นั่นอาจหมายถึงการสูญเสียเวลาของทุกฝ่ายซึ่งอาจถูกตีค่าออกมาเป็นตัวเงินไม่ใช่น้อยๆ เลย


ทีมงานของ Google ที่เป็นหัวเรือธงในการหาคำตอบนี้คือฝ่าย People Analytics team ซึ่งพวกเขาได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการจ้างเก่าๆ เพื่อหาคำตอบเหล่านี้ โดยวิธีการที่ใช้คำนวนแบบเข้าใจง่ายๆ คือ ทุกครั้งที่ผู้สัมภาษณ์ สัมภาษณ์ผู้สมัครงานเสร็จจะมีการให้คะแนน โดยแต่ระรอบในการสัมภาษณ์ผู้สมัครก็อาจจะได้คะแนนแตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง เมื่อทีม People Analytics วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติย้อนหลังกลับไปเป็นระยะเวลา 5 เพื่อหาคำตอบว่าคะแนนของผู้สมัครจะเพิ่มขึ้นไหมเมื่อดูคะแนนรอบที่ 1 เทียบกับรอบที่ 2 แล้วถ้าดูแนวโน้มคะแนของผู้สมัครเมื่อมีการสัมภาษณ์รอบที่ 3 รอบที่ 4 รอบที่ 5 ไปถึงรอบที่ สิบกว่าๆ (โชคดีที่ Google มีข้อมูลตรงนี้ เพราะเป็นบริษัทที่มีการสัมภาษณ์หลายรอบมากจริงๆ)

Rule Of Four

ผลพบว่าการสัมภาษณ์หลังจากรอบที่ 4 เป็นต้นไปแทบไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างของคะแนนของผู้สมัครอีกต่อไปแล้ว หรือพูดอีกแบบได้ว่า คนที่ใช่ ถ้าใช่จริงก็สามารถรู้ได้ตั้งแต่การสัมภาษณ์รอบที่ 4 แล้ว ต่อให้สัมภาษณ์จำนวนรอบมากกว่านี้คนที่ได้คะแนนสูงและมีแนวโน้มว่าจะได้งานก็ยังได้คะแนนสูงเหมือนเดิมอยู่ดี (ก็คนมันใช่แล้วก็รับเลยสิ จะเสียเวลาสัมภาษณ์เพิ่มทำไม เพราะสัมภาษณ์อีกกี่ครั้งผลก็ออกมาน่าพอใจ)


ถ้าดูจากกราฟจะพบว่าการสัมภาษณ์ที่เกินกว่า 4 รอบเพิ่มความแม่นยำในการจ้างคนที่ใช่ได้น้อยจนไม่คุ้มค่าเสียเวลาอีกต่อไปแล้ว และสุดท้ายก่อกำเนิดเป็น Rule Of Four ที่ Google Recruitment Department ใช้เป็นเกณฑ์การสัมภาษณ์งานในปัจจุบัน

จากข้อมูลและบทสรุปตรงนี้ ก็หวังว่าองค์กรของคุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบริบทของตนเองเพื่อหาผู้สมัครที่ใช่ที่สุดในแง่ของคุณสมบัติและลักษณะนิสัยโดยใช้ต้นทุนที่ไม่มากจนเกินจำเป็นเพื่อประหยัดเวลาของทั้งฝ่ายผู้สัมภาษณ์และผู้สมัคร


ครั้งหนึ่ง Lawrence Bossidy ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท General Electric เคยกล่าวไว้ว่า

“ยากที่จะหาอะไรที่จะสำคัญยิ่งไปกว่า
การสรรหาหาพนักงานที่เหมาะสม
เพราะในท้ายที่สุดแล้ว เราล้วนเดิมพันกับผู้คน
หาใช่กลยุทธ์ที่โอนอ่อนปรับเปลี่ยน”

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : th.hrnote.asia

 3937
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ขึ้นชื่อว่า "คน" ยังไงคงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ยิ่งในยุคธุรกิจขยายตัว ตอบรับกับการ เปลี่ยนแปลงรอบด้านด้วยแล้ว การวางกลยุทธ์ธุรกิจย่อมหลีกไม่พ้นต้องวางกลยุทธ์การบริหารงานบุคคล และพัฒนาคนด้วยเช่นกัน ล่าสุด ดีลอยท์ฯได้เปิดเผยผลสำรวจที่เรียกว่า "Talent Edge 2020" ซึ่ง ร่วมทำกับฟอร์บส อินไซต์ส เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและพนักงานในประเด็นต่าง ๆ ครอบคลุม 400 บริษัทที่มีขนาดธุรกิจมูลค่ามากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในอเมริกาเหนือ, เอเชีย-แปซิฟิก, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
3769 ผู้เข้าชม
ในการจัดการทรัพยากรบุคคล (HR) เทคโนโลยี Machine Learning อาจเป็นสาขาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ AI ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถระบุผู้สมัครที่มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในตำแหน่งงานนั้นๆ หรือตรวจสอบว่าพนักงานคนใดไม่เหมาะกับบางตำแหน่งงานในช่วงสองสามปีข้างหน้า เราจะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลได้เพียงการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ
2959 ผู้เข้าชม
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเข้าอยู่ในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องว่าจ้างให้ทำของหรือใช้บริการ ยกตัวอย่าง จ้างฟรีแลนซ์ (บุคคลทั่วไป) ให้ทำเว็บไซต์ ออกแบบกราฟิก จ้างช่างมาซ่อมแอร์ หรือการว่าจ้างบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี บริษัทออกแบบโฆษณา หรือค่าบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันภัยสินค้า ค่าประกันขนส่ง ค่าเช่าออฟฟิศ ฯลฯ รายจ่ายเหล่านี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจะมีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ของเงินค่าจ้างของผู้ให้บริการออกมาด้วย โดยที่เงินนี้จะไม่ใช่เงินของเรา แต่เป็นเงินที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร
6063 ผู้เข้าชม
กระแส แนวคิดและการปฎิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ (Corporate Social Responsibility) หรือ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อน ที่หลายองค์การให้ความสำคัญ และทำให้บทบาทของนักบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) เริ่มมีความเด่นชัดมากขึ้น ในการทำหน้าที่หุ้นส่วนกลยุทธ์ (Strategic Partner) ทั้งนี้เนื่องจาก CSR ช่วยตอกย้ำและเพิ่มพูนบทบาทหน้าที่และความเชี่ยวชาญของ HR ที่มีเป็นทุนเดิมมาก่อน
28926 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์