หลักการจ้างคนเก่งที่แม้แต่ Elon Musk ยังให้ความสำคัญ

หลักการจ้างคนเก่งที่แม้แต่ Elon Musk ยังให้ความสำคัญ

Elon Musk ชายมาดธุรกิจผู้มีฉากหลังเป็นวิศวะกรแสนปราดเปรื่องที่ ณ 2020 นี้คงไม่ต้องกล่าวว่าเขาคือใคร เพราะแค่พูดชื่อบริษัทอวกาศ SpaceX กับรถไฟฟ้าพลังงานสะอาด Tesla แทบทุกคนก็ต้องร้องอ๋อ

ถึงจะมีวิสัยทัศน์กว้างไกลถึงกับมีแผนพามนุษย์ไปตั้งรกรากบนดาวอังคาร แต่เขาก็รู้ดีว่าการจะทำภารกิจใหญ่ขนาดนี้โดยมีแค่ตัวเองที่ Innovative อยู่คนเดียวก็คงไม่ได้…เขาต้องการคนเก่งๆ ระดับหัวกะทิมาร่วมขบวนการ แล้วเขาจะทำได้อย่างไร

ล่าสุดในงาน U.S. Air Force Space Pitch Day ได้เผยถึงแนวคิดและความท้าทายของบริษัทที่ต้องเฟ้นหาคนเก่งๆ พวกนี้มาช่วยทำให้พันธกิจอันยิ่งใหญ่ของบริษัทเป็นจริง


“คุณต้องทำตัวเองให้มั่นใจนะว่าเมื่อไหร่ที่คนเก่งๆซักคนอยากจะมาทำงานกับเรา อย่างน้อยๆ พวกเขาต้องได้รับโอกาศที่จะได้มาสัมภาษณ์ จริงๆ ข้อนี้เป็นสิ่งที่ผมกังวลมากเลยทีเดียวเพราะลองนึกดูว่าถ้าคนอย่าง Nikola Tesla (หนึ่งในไอดอลของมัสก์ทางด้านวิศวกรรม ถึงขนาดเอามาตั้งเป็นชื่อบริษัท) ยังมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ ก็เกิดคำถามว่าคนอย่างเขาจะมีโอกาสได้สัมภาษณ์ไหม ถ้าเรายังตอบไม่ได้เต็มปากว่าใช่ล่ะก็ แสดงว่าต้องมีอะไรที่ไม่เข้าท่าในกระบวนการสรรหาพนักงานแล้วล่ะ และถ้าคนระดับวิศวกรที่ดีที่สุดที่โลกเคยมีมาอย่างเทสล่ายังเสี่ยงที่จะพลาดการสัมภาษณ์ นั่นคงเป็นอย่างแรกที่เราต้องรีบแก้เลย…เราจะยอมให้กระบวนการที้ไร้ประสิทธิภาพในการจ้างมาขัดขวางเราจากการได้คนเก่งๆ มาร่วมงานไม่ได้”

ลองคิดดูว่ามันจะเป็นเรื่องน่าเสียดายแค่ไหนถ้าคนเก่งมีพรสวรรค์มาอยู่ตรงหน้าของคุณ มีทั้งความสามารถ ทักษะ และ Passion ที่อยากจะเข้ามาทำงานกับบริษัทของคุณอยู่แล้ว แต่คุณกลับปัดตกไป คุณอ่าน Resume แล้วก็ไม่เห็นค่า คุณเรียกมาสัมภาษณ์แต่กลับไม่เห็นความพิเศษที่ซ่อนอยู่ มักส์ยังกล่าวต่อไปอีก ว่า


“ส่วนมากแล้ว หลักการของผมจะใช้การมองหาหลักฐานของความสามารถที่ไม่ธรรมดา (exceptional ability) ของผู้สมัครงาน ผมไม่สนไม่แคร์เท่าไหร่หรอกว่าบุคคลนั้นจะจบมหาวิทยาลัยหรือมัธยมปลายชั้นไหน จากที่ไหนมา สำหรับผมแล้ว การมองหาผลงานที่เคยทำสำเร็จ เขาเคยประดิษฐ์หรือสร้างอะไรมาก่อนหรือไม่ เคยชนะการแข่งขันยากๆ อะไรมาก่อนหรือเปล่า เคยค้นพบหรือนำเสนอไอเดียอะไรใหม่ๆห้กับโลกหรือไม่ หรือแม้กระทั่งความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนสูง”

มัสก์สรุปประเด็นทั้งหมดที่คุณควรถามตัวเองก่อนการจ้างคนเก่งๆ ซักคนว่า

“What did they do that was clear evidence of exceptional ability?”
“มีหลักฐานอะไรในตัวผู้สมัครไหมที่บ่งบอกว่าเขามีความสามารถในระดับไม่ธรรมดา”

สำหรับผมแล้วคำถามนี้มีความน่าสนใจอย่างมากเลยทีเดียว เพราะในกระบวนการสรรหาพนักงาน ด่านแรกที่บริษัทส่วนใหญ่ทำก็คือการคัดกรองผ่านใบสมัคร (Resume) จำนวนมหาศาลที่ได้รับเข้ามา ซึ่งในขั้นตอนนี้แน่นอนว่าจะต้องมีผู้สมัครจำนวนมากเลยทีเดียวที่ถูกคัดตกกระป๋องไปเพียงเพราะองค์กรใช้กฎเกณฑ์บางอย่างที่อาจจะยังไม่ใช่ ‘หน่วยวัด’ ที่ดีที่สุด

คำแนะนำต่อไปนี้อาจจะช่วยลดความผิดพลาดตรงส่วนนั้นได้บ้างไม่มากก็น้อย และยังช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณสามารถคัดกรองผู้สมัครที่มี #ExceptionalAbility ให้เข้ามาร่วมงานกับองค์กรได้มากขึ้นอีกด้วย

Tip 1 : อย่ามองแค่สิ่งที่อยู่บนกระดาษ

ถ้าอยากได้คนเก่ง คุณต้องมองที่ #ExceptionalAbility ที่นอกเหนือไปจากแค่ตัวเลขเกรดเฉลี่ย สถาบันที่จบ หรือชื่อโครงการกิจกรรมนอกหลักสูตรที่ดูดี เพราะเท่ากับคุณอาจจะพลาดคนเก่งๆ ที่ความสามารถของเขาอาจจะไม่สามารถเขียนออกมาในรูปแบบเอกสารได้อย่างชัดเจน

Tip 2 : จดหมายแนะนำตัว (Cover letter) ช่วยคุณได้

เพื่อเก็บตกคุณสมบัติที่ไม่อาจบอกได้ชัดเจนเป็นตัวเลขหรือชื่อกิจกรรมที่เป็นทางการบน Resume การออกแบบให้มีการขอให้ผู้สมัครเขียน Cover letter ก็สามารถช่วยเก็บตกได้เนื่องจากการเขียนสามารถให้พื้นที่ในการบรรยาย ‘คุณค่า’ บางอย่าง ทั้งแรงบันดาลใจ ความพยายาม บริบท และสถานการณ์ที่ผู้สมัครได้พบเจอ โดยเราสามารถมองหา #ExceptionalAbility ของผู้สมัครว่าเขาแก้ปัญหาและความท้าทายเหล่านั้นมาได้อย่างไร

ต่อจากนั้นหากผู้สมัครสามารถผ่านด่านเข้าในในกระบวนการสัมภาษณ์ เราอาจจะใช้เทคนิคในทิปข้อต่อไปๆ ดังนี้

Tip 3 : โยนโจทย์ปัญหาดีๆ ให้พวกเขาลองทำ

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการทดสอบความสามารถในการทำงานคือการ ‘ให้โจทย์จริงที่สอดคล้องกับการทำงาน’ โดยอาจจะฝังตัวอยู่ในขั้นตอนก่อนการเรียกสัมภาษณ์ก็ได้แต่อาจจะไม่ควรเป็นโจทย์ที่ใช้เวลาในการทำมากเกินไปเพราะอาจจะทำให้เสียผู้สมัครบางส่วนออกไปได้

การให้โจทย์ที่ยากและใช้เวล่าทำในระดับหนึ่งในรอบการสัมภาษณ์ท้ายๆ ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่สมเหตุสมผลเนื่องจากผู้สมัครในรอบท้ายๆ มีโอกาสได้งานค่อนข้างสูงจึงไม่เป็นการลงทุนเวลาที่มากเกินไปเมื่อเทียบกับผมที่พวกเขาจะได้รับ

ลำดับความสำคัญอันดับแรกของการให้โจทย์อาจไม่ใช่การหาคนที่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเสมอไป เพราะในขั้นตอนการทำงานจริง คำตอบอาจมีไปได้หลายทาง หลักๆ เราควรจะดูที่ ‘วิธีคิด วิธีแก้ปัญหา’ ว่าผู้สมัครงานมีความสามารถในการแก้ปัญหา และสื่อสารความคิดเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ดีเพียงใด

Tip 4 : ดูกันที่ทักษะและความสามารถในการทำงานจริง

ในโลกทุกวันนี้ที่มีหนทางในการพัฒนาทักษะอยู่ทุกหนแห่ง คนที่ไม่ได้จบตรงสายแต่ขวนขวายหาความรู้ อ่านหนังสือ และศึกษาด้วยตัวเองผ่านอินเตอร์เน็ต ก็สามารถมีความรู้และทักษะในการทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมเช่นกัน อีกทั้งคนกลุ่มนี้ยังแสดงให้เห็นคุณสมบัติอย่างอื่นได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ความมีวินัย ความสนใจจริงในเรื่องที่ศึกษา สิ่งเหล่านี้เมื่อประกอบการพิจารณาคุณสมบัติและประสบการณ์อื่นๆ ร่วมด้วยอาจทำให้เราได้ผู้สมัครที่เหมาะสมมากกว่าเดิมได้

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าทักษะไหนที่เราควรมองหา และจะออกแบบบททดสอบอย่างไร ??? ส่วนนี้ HR ควรจะร่วมมือกับผู้จัดการฝ่ายซึ่งเป็นคนที่จะรู้ดีที่สุดว่าควรมองหาอะไรจากผู้สมัคร และสามารถออกแบบโจทย์ที่สอดคล้องที่ต้องใช้จริงสำหรับตำแหน่งนั้นเวลาทำงานจริง

ผมขอทิ้งท้ายบทความวันนี้ด้วยคำพูดของ Simon Sinek หนึ่งในนักเขียน นักพูด และนักคิดคนสำคัญในโลกธุรกิจที่เป็นหนึ่งในคนพูดที่มียอดวิววีดีโอบนเว็บไซต์ TED TALKs สูงเป็นอันดับต้นๆ ว่า


“ถ้าคุณเลือกที่จะจ้างคนเพียงเพราะเขามีความสามารถที่จะทำงานตำแหน่งนั้นได้ พวกเขาก็จะยอมทำงานเพื่อได้รับเงินของคุณเท่านั้น แต่ถ้าคุณเลือกจ้างคนที่มีมีหัวใจดวงเดียวกันและมีความเชื่อเช่นเดียวกับคุณ พวกเขาจะทำงานให้คุณด้วยหยาดเลือด หยดเหงื่อ และคราบน้ำตาเลยทีเดียว”

แน่นอนว่าทุกคนย่อมมองหาคนเก่งที่มี #ExceptionalAbility แบบ Nikola Tesla มาขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้า แต่การจ้างคนเก่งที่เชื่อในสิ่งที่เราเชื่อ คนที่พร้อมจะเดินไปพร้อมกับองค์กรเพื่อสานพันธกิจที่ตั้งไว้อย่างลุล่วงคงจะเป็นสิ่งที่ยิ่งยอดเยี่ยมขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งเลยทีเดียว

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : th.hrnote.asia

 3855
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ผมเชื่อว่า มีเพื่อน ๆ อีกหลายคนที่ยังคงรู้สึกงุนงงอยู่ทุกครั้งเวลายื่นแบบภาษี เพราะมีตัวเลขมากมายไปหมด ถึงแม้โปรแกรมคำนวณภาษีจะช่วยให้การกรอกข้อมูลง่ายขึ้น แต่ก็อาจจะไม่เข้าใจอยู่ดีว่า ตัวเลขแต่ละตัวนั้นถูกนำไปคำนวณเป็นภาษีได้อย่างไร วันนี้ ผมจะมาเล่าหลักการคำนวณภาษีให้ฟังกันครับ รับรองว่า ไม่ยากอย่างที่คิด
1618 ผู้เข้าชม
ก็ยังได้รับคำถามในแนวนี้อยู่ ก็คือ หน้าที่ในการพัฒนาพนักงานเป็นหน้าที่ของใครกันแน่ การที่จะส่งพนักงานไปอบรม หรือการที่เราจะวางแผนพัฒนาพนักงานในเรื่องใดนั้น ตกลงเป็นหน้าที่ใคร
3220 ผู้เข้าชม
7 เรื่องสำคัญที่ HR รวมถึงผู้ประกอบการ เจ้าของกิจการทั้งหลายต้องเตรียมพร้อมสู่อนาคตมีอะไรบ้าง ติดตามกันได้เลยครับ
1802 ผู้เข้าชม
รวบรวมคำศัพท์สายอาชีพ และตำแหน่งงานในแต่ละสายอาชีพทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ได้แก่ งานบัญชี งานธุรการ งานเลขานุการ งานเกษตรกรรม งานประมง งานเหมืองแร่ งานสายการบิน งานการเงิน งานธนาคาร งานก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานที่ปรึกษา งานนักวิเคราะห์ งานบริการลูกค้า งานวิศวกร เป็นต้น
2862 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์