หน้าที่พัฒนาพนักงาน เป็นหน้าที่ของใคร?

หน้าที่พัฒนาพนักงาน เป็นหน้าที่ของใคร?

ก็ยังได้รับคำถามในแนวนี้อยู่ ก็คือ หน้าที่ในการพัฒนาพนักงานเป็นหน้าที่ของใครกันแน่ การที่จะส่งพนักงานไปอบรม หรือการที่เราจะวางแผนพัฒนาพนักงานในเรื่องใดนั้น ตกลงเป็นหน้าที่ใคร ระหว่าง ผู้จัดการที่เป็นหัวหน้างานโดยตรงของพนักงานคนนั้น กับฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล


ยังมีผู้จัดการอีกหลายท่านที่ยังเข้าใจว่า หน้าที่ในการพัฒนาพนักงานนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของเขาในฐานะผู้จัดการ แต่ต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลต่างหาก


เวลาที่ฝ่ายบุคคลถามผู้จัดการไปว่า ปีนี้ จะวางแผนพัฒนาพนักงานในฝ่ายอย่างไรบ้าง ใครต้องการพัฒนาเรื่องอะไรให้แจ้งมาด้วย

ผู้จัดการก็จะตอบกลับมาว่า “มันไม่ใช้หน้าที่ผมนี่นา การพัฒนาพนักงานเป็นหน้าที่ของฝ่ายบุคคลมากกว่า ฝ่ายบุคคลต่างหากที่จะต้องเป็นฝ่ายที่มาบอกผมว่า พนักงานของผมจะต้องพัฒนาอะไรบ้าง”


สุดท้ายต่างคนต่างก็ชี้กันไปมา และบอกว่าไม่ใช่หน้าที่ของตน สุดท้ายการพัฒนาพนักงานในองค์กรก็เลยขาดช่วงไป

แล้วจริงๆ การพัฒนาพนักงานนั้น เป็นหน้าที่ของใครกันแน่


คำตอบก็คือ ต้องเป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายนี่แหละครับ ทั้ง HR และทั้งผู้จัดการสายงาน

แต่คนหลักที่จะเป็นคนวิเคราะห์ และเป็นคนบอกว่า พนักงานแต่ละคนจะต้องพัฒนาอะไรบ้างนั้น จะต้องเป็นผู้จัดการสายงานเป็นคนเริ่มต้นวิเคราะห์ให้ได้ก่อน เนื่องจาก

    • ผู้จัดการ เป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานโดยตรง ดังนั้น เขาจะต้องรู้ว่าพนักงานแต่ละคนตอนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง ทั้ง ความรู้ ทักษะ และความสามารถต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

    • ผู้จัดการเป็นผู้ที่ประเมินผลงานพนักงานโดยตรง ดังนั้น ย่อมรู้ว่าผลงานของพนักงานคนไหนดี ไม่ดีอย่างไร และมีข้อดี ข้อด้อยอย่างไร จุดแข็งจุดอ่อนอะไรบ้าง ฯลฯ

    • ผู้จัดการเป็นผู้ที่กำหนดเป้าหมายผลงานของพนักงาน การที่เราตั้งเป้าหมายให้พนักงาน และอยากให้พนักงานทำงานได้ตามเป้าหมายนั้นๆ ได้ ก็ต้องทราบว่า พนักงานแต่ละคนจะต้องพัฒนาอะไรบ้าง เพื่อให้การทำงานไปสู่เป้าหมายนั้นได้จริง

    ส่วนฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลมีหน้าที่ในการ

    • วางระบบการพัฒนาพนักงานอย่างชัดเจน และเป็นขั้นตอน วางแนวทางในการพัฒนาบุคคลด้วยเครื่องมือต่างๆ เพื่อมั่นใจว่า บุคลากรในองค์กรจะได้รับการพัฒนาอย่างแท้จริง

    • กำหนด ความรู้ทักษะ และพฤติกรรมพื้นฐานในการทำงานในองค์กร และกำหนดนิยาม แนวทางในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม เพื่อให้ทุกคนในองค์กรมองภาพเดียวกัน และสามารถนำมาแปลงร่างเป็นสิ่งที่พนักงานจะต้องพัฒนาได้อย่างชัดเจน

    • ให้คำปรึกษาในเรื่องของวิธีการดูผลงานของพนักงาน วิธีการพิจารณาว่า ใครต้องพัฒนาอะไร เพราะผู้จัดการมือใหม่หลายคนยังไม่คล่องในการดูพนักงาน ก็ต้องได้รับการสอนและช่วยเหลืออยู่บ้าง

    • เป็นผู้หาหลักสูตร วิทยากรดีๆ เข้ามาให้ตรงกับสิ่งที่ผู้จัดการสายงานต้องการพัฒนาพนักงาน พัฒนาหลักสูตรที่ตรง และหาวิทยากร หรือ เครื่องมือในการพัฒนา เข้ามาใช้ในองค์กร

    • วางแผนปรับปรุงระบบการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มเติมเครื่องมือพัฒนาพนักงานในยุคใหม่เข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ และส่งเสริมให้ผู้จัดการได้ทำการพัฒนาพนักงานด้วยตนเอง

    สรุปแล้วทั้งผู้จัดการสายงาน และฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคล ต่างก็ต้องรับผิดชอบในการพัฒนาพนักงาน คงจะเป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้อย่างแน่นอนครับ

    สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

    ที่มา : prakal.com

     3029
    ผู้เข้าชม
    ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

    HR Articles

    ต้องยอมรับว่าทันทีที่โลกก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายและรวดเร็ว นั่นรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพ และการปฎิวัติทางการทำงานที่ทุกฝ่ายต้องปรับตัวกันขนานใหญ่ตั้งแต่ตัวองค์กรเองไปจนถึงพนักงานทุกระดับ
    2310 ผู้เข้าชม
    หากใครที่กำลังมองหาการออมในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ต้องบอกไว้ก่อนว่า สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2562 นี้เท่านั้นนะครับ หรืออีกนัยนึงก็คือ จะมียกเลิกการใช้กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF มาลดหย่อนภาษี ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปนั่นเอง แต่ก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ เพราะถึงแม้ว่า LTF จะถูกยกเลิก ในการนำมาลดหย่อนภาษีได้
    1153 ผู้เข้าชม
    แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มี ความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย แนวโน้มในด้านบวก • การพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์ • การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง • การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้ • การศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library) • การพัฒนาเครือข่ายโทร คมนาคม ระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย เครือข่ายดาวเทียม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ • การบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ดำเนินการของภาครัฐที่เรียกว่า รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government) รวมทั้งระบบฐานข้อมูลประชาชน หรือ e-citizen
    136878 ผู้เข้าชม
    ทุกๆ ปีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคมเวียนมาถึง คาดว่าท่านผู้อ่านและคนไทยทั้งประเทศคงจะมีพฤติกรรมเหมือนกับผู้เขียนคือ พอตกเย็นก็รีบกลับบ้านเพื่อมาเปิดโทรทัศน์ฟังกระแสพระราชดำรัสของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา ซึ่งพระองค์จะมีพระราชดำรัสกับ คณะบุคคลต่างๆ ตั้งแต่คณะรัฐมนตรี คณะองคมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนประชาชนธรรมดาทั่วไป สำหรับผู้เขียนแล้ว คืนวันที่ 4 ธันวาคมจะเป็นค่ำคืนของการเรียนรู้แนวความคิดต่างๆ จากพระราชดำรัส ซึ่งแนวความคิดเหล่านั้น บางครั้งก็เป็นเรื่องของการบริหารราชการแผ่นดิน การแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในเรื่องต่างๆ เช่น การเกษตร ฝนแล้ง ปัญหาน้ำท่วม บางครั้งก็เป็นเรื่องของ พระองค์เองที่ได้ทรงเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากประสบการณ์และทรงนำมาถ่ายทอดให้เราได้ฟังและนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตของเรา
    21628 ผู้เข้าชม
    Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
    สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์