ผู้ประกันตน “เกษียณ...ขอรับเงินบำนาญ” ก่อนสมัครมาตรา 39

ผู้ประกันตน “เกษียณ...ขอรับเงินบำนาญ” ก่อนสมัครมาตรา 39

ผู้ประกันตนที่เกษียณจากการทำงาน ควรจะวางแผนและดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ “สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ”
คุ้มค่ามากที่สุด ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง

การเกษียณอายุมีผลทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคมสิ้นสุดลงและเกิดสิทธิ 3  ประการ คือ

1. ได้รับความคุ้มครองโดยผลของกฎหมายต่อไปอีก 6 เดือน 

นับแต่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 

2. สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 

เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อไป ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงความจำนงสมัครภายใน 6 เดือน นับแต่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตามมาตรา 39  วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

3. รับเงินชราภาพ 

ซึ่งอาจเป็นเงินบำเหน็จชราภาพหากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ครบ 180 เดือน (นับตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2541) หรือเงินบำนาญชราภาพหากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือมากกว่า (นับตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2541) โดยจะต้องยื่น คำขอรับภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ แต่หากยื่นคำขอไม่ทันตามเวลาก็จะต้องแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถยื่นคำขอได้ทันตามเวลา

เนื่องจากมีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่จะได้รับในแต่ละเดือนหลังเกษียณจนตลอดชีวิต
ซึ่งปัญหาหนึ่งอาจเกิดจากข้อกฎหมายที่ไม่มีความชัดเจนทำให้ผู้ประกันตนเข้าใจคลาดเคลื่อน บทความนี้ ผู้เขียนจึงขอ
เน้นย้ำอีกครั้ง สำหรับ “สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ” ว่าผู้ประกันตนควรจะใช้สิทธิอย่างไรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
คือ การได้เงินบำนาญชราภาพจำนวนมาก

กล่าวโดยสรุป สำหรับผู้เกษียณอายุที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ

(1) ต้องยื่นคำขอรับเงินบำนาญชราภาพก่อนที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เพื่อให้ได้รับเงินบำนาญชราภาพ
รายเดือนจำนวนมากกว่าการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในทันที

(2) อัตราร้อยละที่นำมาคำนวณจะถูกปรับเพิ่มมากขึ้น 1.5% ของทุกๆ การจ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ด้วยเหตุนี้
หากระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบมากจำนวนเงินบำนาญชราภาพจะมากขึ้น และถ้าจ่ายไม่ครบ 12 เดือนจะไม่ได้ถูกปรับ
เพิ่ม 1.5% 

(3) การตัดสินใจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะทำให้ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อไปโดย
ไม่จำกัดอายุจนกว่าความเป็นผู้ประกันตนจะสิ้นสุดลง แต่การตัดสินใจว่าต้องการได้รับความคุ้มครองจากกองทุน
ประกันสังคมต่อไปหรือไม่ภายหลังจากเกษียณอายุ ถือเป็นความจำเป็นของผู้ประกันตนแต่ละคน! 

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับการเกษียณ และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.dst.co.th

 2935
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ในช่วงนี้เป็นโค้งสุดท้ายของเทศกาลลดหย่อนภาษี แน่นอนว่าหลายๆคนก็คงจะมองหาทางเลือกในการออมและการลงทุนที่ทำให้เราได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ดีที่สุดและคุ้มค่าที่สุดกันอยู่แน่ๆ ทางเลือกหนึ่งในการลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจก็คือการซื้อประกันเพราะนอกเหนือที่เราจะได้รับความคุ้มค่ากับสิทธิทางภาษีแล้ว เรายังได้รับความคุ้มครองจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเข้ามาอย่างไม่คาดฝันและสร้างผลกระทบทางการเงินให้กับเราและคนที่เรารักได้อีกด้วย
897 ผู้เข้าชม
หากใครที่กำลังมองหาการออมในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ต้องบอกไว้ก่อนว่า สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2562 นี้เท่านั้นนะครับ หรืออีกนัยนึงก็คือ จะมียกเลิกการใช้กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF มาลดหย่อนภาษี ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปนั่นเอง แต่ก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ เพราะถึงแม้ว่า LTF จะถูกยกเลิก ในการนำมาลดหย่อนภาษีได้
1210 ผู้เข้าชม
ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี” หมายความว่า ถ้าตายไประหว่างปีไหน ปีนั้นก็จะกลายเป็นว่ายังต้องเสียภาษีอยู่ในชื่อของตัวเอง แต่เปลี่ยนฐานะใหม่เป็นผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี หรือพูดง่ายๆ ว่า ตายแล้วก็ต้องไปเสียภาษีอีกต่อหนึ่ง
1912 ผู้เข้าชม
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ?? พูดถึงเรื่อง Time ในองค์กร ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการเข้า – ออกตามกะงานต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่ก็ยังคงมีการกำหนดขอบเขตการลงเวลาเข้า – ออกที่เป็นเวลาตายตัวที่องค์กรกำหนดไว้เท่านั้น ...แต่ก็มีบางองค์กรที่นำ “ระบบการลงเวลาทำงานแบบยืดหยุ่น” หรือ “Flexible Time” มาปรับใช้
18418 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์