ทำความเข้าใจ กองทุน SSF ตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่มาแทน LTF

ทำความเข้าใจ กองทุน SSF ตัวช่วยลดหย่อนภาษีที่มาแทน LTF

 

ปีภาษี 2562 ถือเป็นปีสุดท้ายแล้ว สำหรับการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งกองทุน SSF (Super Savings Fund) รูปแบบใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งนอกจากจะลดหย่อนภาษีได้แล้ว ยังช่วยให้คนออมระยะยาวขึ้น ใครอยากทราบว่า SSF มีเงื่อนไขต่างจากกองทุน LTF อย่างไร ลองมาทำความเข้าใจกัน

กองทุน SSF คืออะไร ?

กองทุน SSF หรือ Super Savings Fund เป็นกองทุนรวมเพื่อการออมที่ลงทุนหลักทรัพย์ได้ทุกประเภท ปรับรูปแบบมาจากกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF (Long Term Equity Fund) ที่ลงทุนในหุ้นเป็นหลัก เพราะกองทุน SSF มีจุดประสงค์หลักเพื่อการออม ร่วมกับใช้ลดหย่อนภาษีของผู้มีรายได้ที่ต้องยื่นภาษีในแต่ละปีนั่นเอง

กองทุน SSF ใช้ลดหย่อนภาษีได้เมื่อไร ?

ใช้สิทธิ์ซื้อลดหย่อนภาษีได้ตั้งแต่ปี 2563-2567 รวมระยะเวลา 5 ปี หลังจากนั้นจะมีการประเมินผลอีกครั้งว่าจะต่ออายุหรือไม่

กองทุน SSF ซื้อลดหย่อนภาษีได้เท่าไร ?

  • กองทุน SSF ให้เราซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท  (จากเดิมกองทุน LTF สามารถซื้อเพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท)
     
  • ไม่กำหนดจำนวนขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน และไม่กำหนดเงื่อนไขในการซื้อต่อเนื่อง
     
  • จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF เมื่อรวมกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนครูโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี

กองทุน SSF ซื้อแล้วต้องถือครองนานแค่ไหน ?

  • เพื่อการออมระยะยาวขึ้น หากซื้อกองทุน SSF จะต้องถือไว้นานอย่างน้อย 10 ปี โดยไม่สามารถขายได้ หากขายก่อนครบกำหนด จะถือว่าทำผิดเงื่อนไขลดหย่อนภาษี อาจจะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมดทันที และต้องจ่ายเงินเพิ่มให้รัฐย้อนหลังด้วย
     
  • ระยะเวลา 10 ปี จะนับจากวันที่ซื้อ เช่น ซื้อกองทุน SSF วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จะครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 1 ตุลาคม 2573 ต่างจากกองทุน LTF เดิมที่นับตามปีปฏิทิน 
     
  • หากครบกำหนดแล้ว สามารถขายคืนได้ โดยกำไรที่ได้จากการขายคืนจะได้รับยกเว้นภาษี (หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด)
     
  • สามารถสับเปลี่ยนกองทุน SSF ไปยังกองทุน SSF ข้าม บลจ. ได้

ใครได้ประโยชน์จากกองทุน SSF ?

จากการปรับรูปแบบกองทุนเพื่อการลดหย่อนภาษีครั้งนี้ จะทำให้คนที่ยังมีรายได้ไม่สูง หรือมีฐานภาษีต่ำถึงปานกลางได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เพราะสามารถซื้อกองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 30% ของเงินได้พึงประเมิน 

          เช่น หากเรามีรายได้ 400,000 บาท/ปี จะซื้อ LTF ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% หรือ 60,000 บาท แต่เมื่อเปลี่ยนเป็น SSF จะซื้อลดหย่อนได้สูงสุด 30% หรือ 120,000 บาท

          กลับกัน ในกลุ่มคนที่มีรายได้สูง มีฐานภาษีสูง อาจได้รับประโยชน์น้อยลง เพราะแม้จะซื้อกองทุน SSF ได้สูงสุด 30% แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท เช่น หากเรามีรายได้ปีละ 3 ล้านบาท เดิมจะซื้อ LTF ได้สูงสุด 450,000 บาท แต่เมื่อเปลี่ยนเป็น SSF จะซื้อได้สูงสุดแค่ 200,000 บาทเท่านั้น 

          นอกจากนี้ ต้องไม่ลืมว่าเมื่อนำเงินที่ซื้อ SSF ไปรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณต่าง ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ฯลฯ ต้องไม่เกิน 500,000 บาทด้วย เท่ากับว่าคนที่มีรายได้สูงใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีส่วนนี้ได้น้อยลง จากเดิม LTF+RMF ใช้สิทธิ์รวมได้ 1 ล้านบาท จะกลายเป็น SSF+RMF ใช้สิทธิ์ได้เพียง 500,000 บาท

กองทุน ssf 

ซื้อ LTF ไว้แล้ว แต่ยังไม่ครบกำหนด ต้องขายเลยไหม ?

ใครที่เคยซื้อ LTF แล้วยังไม่ครบกำหนดขาย หรือเพิ่งซื้อ LTF ในปี 2562 ก็ไม่จำเป็นต้องรีบขาย เพราะจะผิดเงื่อนไขภาษี ดังนั้น เราสามารถถือ LTF ต่อไปได้จนครบปีที่กำหนด

ปี 2563 ยังซื้อกองทุน LTF ได้อยู่ไหม ?

แม้จะมีกองทุน SSF ออกมาทดแทน แต่หากใครต้องการซื้อ LTF หลังวันที่ 1 มกราคม 2563 ก็สามารถทำได้ในเงื่อนไขเดิม คือซื้อแล้วต้องถืออย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน แต่จะไม่สามารถนำเงินที่ซื้อ LTF ไปใช้เพื่อการลดหย่อนภาษีได้อีก 

สรุปความแตกต่างกองทุน SSF และ LTF

กองทุน ssf 

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุน SSF และยังเป็นเพียงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 สำหรับรายละเอียดที่แน่ชัดต้องรอประกาศกฎหมายอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ซึ่งข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : money.kapook.com

 3553
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ปกติแล้วเรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า Customer Experience หรือ ประสบการณ์ของลูกค้า ซึ่งนั่นเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของธุรกิจที่จะต้องทำให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ดีและน่าประทับใจกับผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ
2621 ผู้เข้าชม
กิจการใดที่มีลูกจ้างเกิน 100 คน ต้องจ้างคนพิการอย่างน้อย 1 คน ถ้าบริษัทไม่จ้างไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม ต้องจ่ายเข้ากองทุนพัฒนาชีวิตคนพิการ (ค่าแรงขั้นต่ำ x 365) กรณีมีพนักงาน 200 คน ต้องจ้างคนพิการ 2 คน แต่มีพนักงานคนพิการเพียงแค่ 1 คน ถือว่าไม่เป็นไปตามข้อบังคับ บริษัทต้องจ่ายเข้ากองทุนดังกล่าวทดแทนคนพิการอีก 1 คน
2704 ผู้เข้าชม
กระบวนการสมัครงานของคุณได้ผ่านพ้นไปแล้วตั้งแต่ขั้นตอนการส่งประวัติส่วนตัวไปยังนายจ้างการสัมภาษณ์งานในแต่ละรอบ จนตอนนี้คุณคือผู้ถูกเลือกจากนี้ไปคุณต้องทำอะไรบ้าง ตรวจสุขภาพ บางบริษัทอาจส่งคุณไปตรวจร่างกาย ว่าคุณมีสุขภาพดีสามารถทำงานให้เขาได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง ส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหา ได้ทำงานแน่นอน หาผู้ค้ำประกัน หากเป็นงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเงิน ๆ ทอง ๆ อาจต้องมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งบางแห่งไม่อนุญาตให้ญาติเป็นผู้ค้ำประกัน ผู้สมัครงานจึงต้องหาผู้ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับนับถือมาเป็นผู้ค้ำประกันให้ ทำสัญญาว่าจ้าง โดยทั่ว ๆ ไปเป็นสัญญามาตรฐานว่ามีการตกลงว่าจ้างงานกัน รวมถึงเรื่องอัตราค่าจ้าง ผลตอบแทนต่าง ๆ และข้อบังคับของบริษัท ทดลองงาน แม้คุณจะได้เข้าทำงานแล้ว แต่คุณยังไม่ได้เป็นพนักงานเต็มตัว ต้องผ่านการทดลองงานเสียก่อน โดยปกติแล้วใช้เวลา 3-6 เดือน จึงจะได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ
3519 ผู้เข้าชม
ขึ้นชื่อว่า "คน" ยังไงคงไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ยิ่งในยุคธุรกิจขยายตัว ตอบรับกับการ เปลี่ยนแปลงรอบด้านด้วยแล้ว การวางกลยุทธ์ธุรกิจย่อมหลีกไม่พ้นต้องวางกลยุทธ์การบริหารงานบุคคล และพัฒนาคนด้วยเช่นกัน ล่าสุด ดีลอยท์ฯได้เปิดเผยผลสำรวจที่เรียกว่า "Talent Edge 2020" ซึ่ง ร่วมทำกับฟอร์บส อินไซต์ส เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารและพนักงานในประเด็นต่าง ๆ ครอบคลุม 400 บริษัทที่มีขนาดธุรกิจมูลค่ามากกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ ในอเมริกาเหนือ, เอเชีย-แปซิฟิก, ยุโรป, ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
3784 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์