การเป็นผู้นำที่ดีในยุคดิจิตอล (How to be a good leader in Digital Age)

การเป็นผู้นำที่ดีในยุคดิจิตอล (How to be a good leader in Digital Age)

องค์กรที่ก้าวหน้าอย่างยอดเยี่ยมนั้นมักจะมีผู้นำที่ดีเป็นหัวเรือองค์กรเสมอ ตลอดจนใส่ใจในผู้นำระดับล่างๆ ลงมาที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพในการบริหารงานและบริหารคนได้อย่างดีเยี่ยมไปพร้อมๆ กัน ผู้นำในยุคเก่านั้นอาจต้องเชี่ยวชาญในการใช้อำนาจสั่งการ บริหารคนให้อยู่ในระบบระเบียบ ตลอดจนควบคุมการทำงานในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งให้มีความสม่ำเสมอ และเกิดผลลัพธ์ที่ดีให้คงที่มากที่สุด แต่สำหรับผู้นำในยุคใหม่ในยุคดิจิทัลที่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมาย ในยุคโลกไร้พรมแดนที่ทั่วทั้งโลกหลอมกลายเป็นวัฒนธรรมเดียวกัน เชื่อมต่อกันได้รวดเร็ว ต่างก็ทำให้ระบบการทำงานนั้นเปลี่ยนไปมากมาย เราเลยอยากนำเสนอวิธีการเป็นผู้นำที่ดีในยุคดิจิทัลเพื่อให้เหมาะสมกับโลกยุคใหม่ในทุกวันนี้

1. ควรอัปเดตเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ

ในยุคนี้ปฎิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ชีวิตส่วนตัวไปจนถึงชีวิตการทำงานเลยทีเดียว หลายเทคโนโลยีเป็นประโยชน์ต่อการทำงานเป็นอย่างมาก ผู้นำที่ดีจึงควรที่จะอัปเดตความรู้ในเรื่องนี้ตลอดจนพัฒนาการใช้งานตลอดเวลา โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานของเราโดยตรง ในชณะเดียวกันก็สามารถนำความรู้ใหม่ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำงาน ตลอดจนแนะนำองค์กรให้นำเอาเทคโนโลยีเช้ามาใช้กับองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย แล้วการที่ผู้นำที่ดีมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีนี้ก็จะทำให้สามารถถ่ายทอดตลอดจนสอนให้ลูกน้องได้รับความรู้ที่ก้าวหน้าไปตาม และสามารถส่งเสริมให้ทุกคนสามารถนำเอาเทคโนโลยีมาใช้กับการทำงานตลอดจนชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

2. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ที่ดี

โลกทุกวันนี้เป็นโลกแห่งข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลระบบ Big Data ที่มีประโยชน์มหาศาลขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร รวมถึงการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกันขององค์กรต่างๆ ทั่วโลกที่ยิ่งทำให้โลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยข้อมูล มีคำกล่าวที่ว่าใครเป็นเจ้าของข้อมูลเยอะที่สุด บริหารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นล่ะคือผู้นำในโลกยุคดิจิทัล ในส่วนขององค์กรเองผู้นำควรมีทักษะในการเสาะหาข้อมูล รวมถึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการทำงานและธุรกิจให้มากที่สุด เพราะหากผู้นำที่ขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์ที่ดี ถึงแม้จะได้ข้อมูลที่ยอดเยี่ยมมามากมายขนาดไหน หากนำไปใช้ประโยชน์ไม่เป็นก็สูญเปล่าได้เช่นกัน

3. รับฟังความคิดเห็นผู้อื่นอย่างเปิดใจ

ในด้านของการทำงานนั้นความคิดเห็นถือเป็นข้อมูลหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน ผู้นำควรเป็นคนไม่มีอีโก้ รับฟังความคิดเห็นทุกคนอย่างเท่าเทียมกันและเปิดใจกับทุกความคิดเห็น การตั้งใจฟังความคิดเห็นอย่างแท้จริงนอกจากจะเป็นการให้เกียรติผู้ฟังซึ่งเป็นลูกน้องแล้ว ยังทำให้ลูกน้องกล้าที่จะแชร์ข้อมูลในทุกรูปแบบโดยไม่กลัวที่จะโดนดูถูกในเรื่องความรู้หรือการเสนอแนวความคิดที่ไม่ดี ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราได้ข้อมูลที่ยอดเยี่ยมได้เช่นกัน

การรับฟังความคิดเห็นนั้นยังรวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ตลอดจนเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานด้วย ซึ่งนั่นจะช่วยสร้างความสัมพันธ์กับลูกน้องที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญญาได้ดี ตลอดจนสามารถแนะนำสิ่งที่ดีให้กับลูกน้องของตนนำไปปฎิบัติ ถือเป็นกัลยาณมิตรที่ดี และส่งเสริมให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

4. เป็นที่ปรึกษาที่ดี

การเป็นที่ปรึกษาที่ดีจะทำให้ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำที่ดีขึ้นได้ ที่ปรึกษาที่ดีในที่นี้รวมทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ทุกวันนี้คนเราต่างมีปัญหาไปจนถึงความเครียดมากมาย และบางครั้งก็อาจส่งผลกับการทำงานได้ การเป็นที่ปรึกษาที่ดีให้กับลูกน้องนั้นจะช่วยลดความเครียด ตลอดจนช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกน้องได้ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพด้วย คุณสมบัติของการเป็นที่ปรึกษาที่ดีอีกอย่างก็คือการรู้จักสังเกตและใส่ใจ สังเกตเห็นความผิดปกติของงานและพฤติกรรม ซึ่งบางครั้งลูกน้องอาจไม่รู้ตัวหรือไม่กล้าที่จะมาปรึกษา ผู้นำที่เห็นตรงจุดนี้ได้ไวก็อาจช่วยแก้ปัญหาได้ทันท่วงทีเช่นกัน

5. เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้แสดงศักยภาพ และส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า

การควบคุมลูกน้องสมัยก่อนอาจจะต้องทำให้ลูกต้องอยู่ใต้อำนาจการบริหารงาน แต่สำหรับผู้นำยุคใหม่ควรส่งเสริมให้ลูกน้องได้มีโอกาสแสดงศักยภาพของตน เพราะคนในยุคนี้ต่างก็มีความสามารถมากมาย เพียงแต่หากมีการหยิบยื่นโอกาสที่ดีให้ เขาก็พร้อมจะใช้โอกาสในการแสดงศักยภาพที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ รวมถึงรู้จัการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้า โดยเฉพาะการก้าวหน้าในอาชีพการงานซึ่งจะช่วยทำให้ลูกน้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนและรู้สึกพัฒนาตนเอง ใช้ศักยภาพให้เกิดประสิทธิภาพได้สูงสุด

6. หาความรู้มาอัปเดต แชร์คอร์สที่ช่วยพัฒนาศักยภาพ

หนึ่งในเทคนิคพัฒนาศักยภาพการทำงานให้กับลูกน้องของตนก็คือการรู้จักอัปเดตความรู้ที่เหมาะสมให้กับลูกน้องอย่างสม่ำเสมอ หลายองค์กรมีระบบการแชร์ข้อมูลตลอดจนประสบการณ์ในรูปแบบนี้ หลายองค์กรอาจไม่มีแต่ผู้นำแต่ละคนสามารถสร้างระบบขึ้นเองได้ อาจเป็นการมอบหมายให้ทุกคนหาความรู้มาแชร์กัน หรือหัวหน้างานแชร์ความรู้ให้กับลูกน้อง เพื่อพัฒนาศักยภาพซึ่งกันและกันได้ด้วย

บางองค์กรอาจให้หัวหน้ามีสิทธิ์ในการหาคอร์สต่างๆ มาให้ลูกน้องได้พัฒนาตนเอง หรือบางองค์กรอาจไม่มีตรงนี้หัวหน้างานก็สามารถแนะนำลูกน้องให้หาวิธีพัฒนาตนเองได้เช่นกัน คอร์สส่งเสริมศักยภาพนี้เป็นได้ทั้งที่มีประโยชน์ต่อการทำงานโดยตรง หรือเป็นคอร์สลักษณะอื่นๆ ที่พนักงานจะได้ประโยชน์ที่เหมาะสมกับตน

7. พัฒนาการทำงานระบบทีมให้มีประสิทธิภาพ

การทำงานระบบทีมในยุคดิจิทัลอาจไม่ใช่แค่การสร้างสัมพันธ์ร่วมกัน การเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือแม้กระทั่งการทำงานร่วมกันให้ได้เท่านั้นแล้ว ยุคดิจิทัลนี้เราอาจนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ตลอดจนเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานระบบทีมให้ดียิ่งขึ้นได้ อย่างเช่น การนำ App ที่มีประโยชน์ต่อระบบการสั่งงานและพูดคุยกันมาใช้กับการทำงาน, การหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลาในการทำงานขึ้น, หรือการหาระบบคำนวนโดยคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อลดความผิดพลาดจากมนุษย์ เป็นต้น แล้วให้ทุกคนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำงานระบบทีมได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้นด้วย และสร้างผลงานให้ทีมได้อย่างประสบความสำเร็จ

8. สื่อสารได้หลากหลายภาษา

เมื่อโลกไร้พรมแดนมากขึ้นเท่าไร เรายิ่งติดต่อกันข้ามเชื้อชาติ ข้ามภาษา ข้ามวัฒนธรรมมากขึ้น ผู้นำที่รู้หลายภาษาในยุคนี้จึงย่อมได้เปรียบ การพัฒนาศักยภาพภาษาในยุคปัจจุบันจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้นำ ในการติดต่อสื่อสารการทำงาน ตลอดจนหาแหล่งความรู้ต่างๆ ทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้หาผู้นำมีความสามารถหลากหลายภาษา องค์กรก็ยังสามารถจ้างงานลูกน้องที่เป็นเชื้อชาติอื่น พูดภาษาอื่น แต่มีศักยภาพในการทำงาน เข้ามาทำงานกับองค์กรได้ด้วย ทำให้การทำงานเป็นระดับสากลขึ้นได้ และสร้างศักยภาพให้กับองค์กรในที่สุด

9. มีทักษะในการแก้ไขปัญหา

การทำงานในทุกวันนี้มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายและมีอยู่ทุกวัน การมีทักษะการแก้ไขปัญหาที่ดีจะทำให้องค์กรสามารถก้าวข้ามผ่านปัญหาไปได้ไว และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้นำในยุคดิจิทัลควรมีทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ไม่ใช่แต่เรื่องคนเท่านั้นแต่เรื่องเทคโนโลยีก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต้องเข้าใจเทคโนโลยี และเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาให้เป็น หรือหากเทคโนโลยีแก้ไขไม่ได้จริงๆ ก็ต้องรู้จักมีไหวพริบในการหาวิธีทางอื่นในการแก้ปัญหาแทน เพราะองค์กรที่จัดการปัญหาได้ไวนั้นย่อมสามารถพัฒนาไปได้ก้าวไกลและไวกว่า

บทสรุป

เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ผู้นำก็ต้องก้าวหน้าตาม และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการทำงานในยุคนี้ให้ได้ ผู้นำที่ดีนั้นจะสามารถนำพาองค์กรไปได้อย่างถูกทิศทาง และสร้างให้องค์กรประสบความสำเร็จในที่สุด ในขณะเดียวกันก็สามารถนำพาลูกน้องไปได้อย่างถูกทิศทางเช่นกัน และบริหารจัดการการทำงานตลอดจนด้านอื่นๆ ให้ลูกน้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลนี้ ตลอดจนส่งเสริมให้คนเหล่านั้นพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เหมาะกับโลกที่เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับทุกองค์กร และการพัฒนาให้ทุกคนมีศักยภาพก็ย่อมได้รับประโยชน์กันทุกฝ่าย ซึ่งหัวใจสำคัญที่เป็นตัวกลางที่จะทำให้ทุกอย่างเชื่อมกันได้อย่างลงตัวที่สุดก็คือผู้นำนั่นเอง

สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : th.hrnote.asia

 1169
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

กระบวนการสมัครงานของคุณได้ผ่านพ้นไปแล้วตั้งแต่ขั้นตอนการส่งประวัติส่วนตัวไปยังนายจ้างการสัมภาษณ์งานในแต่ละรอบ จนตอนนี้คุณคือผู้ถูกเลือกจากนี้ไปคุณต้องทำอะไรบ้าง ตรวจสุขภาพ บางบริษัทอาจส่งคุณไปตรวจร่างกาย ว่าคุณมีสุขภาพดีสามารถทำงานให้เขาได้หรือไม่ ซึ่งหากไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง ส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหา ได้ทำงานแน่นอน หาผู้ค้ำประกัน หากเป็นงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับเงิน ๆ ทอง ๆ อาจต้องมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งบางแห่งไม่อนุญาตให้ญาติเป็นผู้ค้ำประกัน ผู้สมัครงานจึงต้องหาผู้ใหญ่ที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับนับถือมาเป็นผู้ค้ำประกันให้ ทำสัญญาว่าจ้าง โดยทั่ว ๆ ไปเป็นสัญญามาตรฐานว่ามีการตกลงว่าจ้างงานกัน รวมถึงเรื่องอัตราค่าจ้าง ผลตอบแทนต่าง ๆ และข้อบังคับของบริษัท ทดลองงาน แม้คุณจะได้เข้าทำงานแล้ว แต่คุณยังไม่ได้เป็นพนักงานเต็มตัว ต้องผ่านการทดลองงานเสียก่อน โดยปกติแล้วใช้เวลา 3-6 เดือน จึงจะได้บรรจุเป็นพนักงานประจำ
3488 ผู้เข้าชม
สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามโลกยุคไร้พรมแดนและการปฎิวัติวิชาชีพ (Career Disruption) ในยุคนี้ก็คือระบบการทำงานยุคใหม่ที่ยืดหยุ่นและเอื้อประโยชน์ให้กับบุคลากรทั่วโลกในการมาร่วมแจมการทำงานโดยปรับเปลี่ยนเงื่อนไขไปตามการจ้างงานของแต่ละคน
3158 ผู้เข้าชม
การวิจารณ์ที่ดีเป็นไปเพื่อเสริมสร้างและชี้แนะผู้ถูกวิจารณ์ให้เกิดการพัฒนา ไม่ใช่เพื่อจ้องจับผิด หรือต้องการประจานให้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่บางครั้งบางคราที่ผู้วิจารณ์มีเจตนาดีแต่ไม่รู้วิธีพูด ความหวังดี จึงกลับกลายเป็นการทำร้ายให้เจ็บช้ำน้ำใจได้โดยไม่รู้ตัว ผู้มีหน้าที่ในการบริหารบุคลากรจึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์
2042 ผู้เข้าชม
"Mindset" เป็นกรอบแนวคิด ความเชื่อ มุมมอง และทัศนคติที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู การศึกษา ประสบการณ์ที่ผ่านมา และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาก่อน ถือว่าเป็นส่วนที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Model) ที่มองเห็นและประเมินได้ยากว่าแต่ละคนจะมี Mindset กันแบบใด และต้องใช้เวลาในการพัฒนา Mindset นั้น โดยมีความเชื่อว่า Mindset จะส่งผลต่อไปยังพฤติกรรมที่เป็นการแสดงออกของแต่ละบุคคล (Behavior)
2635 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์