10 ค่าใช้จ่ายและประกันลดหย่อนภาษี

10 ค่าใช้จ่ายและประกันลดหย่อนภาษี

ค่าใช้จ่ายที่นำมาลดหย่อนภาษีได้

1. ดอกเบี้ยเงินกู้ ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนจ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

ภาระการผ่อนบ้านหรือคอนโดในแต่ละเดือนทำให้ใครหลายคนปวดหัวอย่างหนักหน่วงกันอยู่ไม่น้อย แต่บอกได้เลยว่าปลายปีมีเฮแน่นอน เพราะเราสามารถนำภาระหนี้ตรงนี้มาลดหย่อนภาษีได้

2. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ต่อปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี

3. เงินสมทบ กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาท

สำหรับใครที่ทำงานในบริษัทเอกชนจะมีเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ถูกหักไปในแต่ละเดือน ซึ่งมีเรตคร่าวๆ อยู่ที่ 3%, 5% หรือ 10% ของเงินเดือน (รายละเอียดการหักของแต่ละบริษัทอาจแตกต่างกันไป) ไม่ว่าจะถูกหักไปเท่าไรก็นำมาลดหย่อนภาษีได้

4. เงินบริจาค ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่าย

5. คู่สมรส ลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท

กรณีนี้ต้องมีการจดทะเบียนสมรส และถ้าหากคู่สมรสของเราไม่มีเงินได้ หรือเลือกยื่นแบบแสดงรายการลดหย่อนภาษีร่วมกัน เราจะได้สิทธิ์ในการลดหย่อนเพิ่มอีก 30,000 บาท

6. เลี้ยงดูบุตร และการศึกษาบุตร ลดหย่อนภาษีได้คนละ 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 คน (สูงสุด 45,000 บาท)

ค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบุตร สามารถทำได้ทั้งบุตรตามกฎหมาย และบุตรบุญธรรม โดยบุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี สามารถหักลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 คน สูงสุดไม่เกิน 45,000 บาท แต่ถ้าหากเกิน 20 ปี จะต้องศึกษาในระดับ ปวส. ขึ้นไปเท่านั้น และหากบุตรศึกษาต่อในประเทศตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงปริญญาเอกก็จะได้ลดหย่อนภาษีเพิ่มอีกคนละ 2,000 บาท ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษี เบี้ยเริ่มต้นเพียงวันละ 15 บาท

7. เลี้ยงดูบิดามารดา ลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท

ค่าเลี้ยงดูบิดามารดาสามารถนำไปลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท แต่มีเงื่อนไขว่าบิดาหรือมารดาที่นำไปขอลดหย่อนต้องออกหนังสือรับรองว่าลูกคนไหนที่เป็นคนเลี้ยงดูเสียก่อน

เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท

เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ทั้งปัญหาสุขภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วย รวมไปถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การทำประกันภัยสุขภาพจึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการลดภาระและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ เช่น ประกันลดหย่อนภาษี

8. ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนจ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

ประกันนี้มนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องได้ทำกันอยู่แล้ว แต่หลายคนลืมไปว่าสามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 9,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว ซึ่งข้อดีของการประกันสังคมที่เห็นได้ชัดและแตกต่างจากประกันอื่นๆ คือ ช่วยเหลือเราได้ดีตอนว่างงาน

9. เบี้ยประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

เบี้ยประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้ 2 ประเภท นั่นก็คือ ประกันชีวิตทั่วไป ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ จะหักเบี้ยประกันได้สูงสุด 10,000 บาท แต่ถ้าคู่สมรสมีรายได้ สามารถหักสูงสุดได้ถึง 100,000 บาท แต่ถ้าเป็นประกันชีวิตบำนาญ ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หากใครสับสนควรจะสอบถามจากตัวแทนประกันภัยเพื่อความถูกต้องให้ชันเจน

10. เบี้ยประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท

เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเราไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันทั้งปัญหาสุขภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วย รวมไปถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การทำประกันภัยสุขภาพจึงเป็นตัวช่วยที่ดีในการลดภาระและความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ เช่น

  • ค่ารักษาพยาบาลที่มีแนวโน้มว่าจะแพงขึ้นเรื่อยๆ ในทุกปี
    อย่างที่รู้ๆ กันว่าโรคภัยไข้เจ็บสมัยนี้พัฒนาความเสี่ยงขึ้นไปมาก ค่ารักษาพยาบาลจึงพุ่งสูงมากตามเป็นธรรมดา การรักษาในบางโรค เช่น โรคมะเร็งอาจจะต้องเสียเงินเป็นล้าน ซึ่งข้อดีของการทำประกันสุขภาพ คือ ช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลแทน ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลถึงค่ารักษาพยาบาลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกต่อไป
  • ลดภาระค่าใช้จ่ายของตัวเราและครอบครัว
    ยามที่เจ็บป่วยและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ภาระค่าใช้จ่ายอาจจะเป็นภาระใหญ่ที่ทำให้คุณและคนในครอบครัวต้องเป็นกังวลแต่เมื่อมีประกันสุขภาพจะทำให้มั่นใจได้ว่าบริษัทฯ จะช่วยดูแลเรื่องค่ารักษาพยาบาลแทน
  • ป้องกันการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยที่อาจนำไปสู่โรคร้าย
    คนส่วนใหญ่ที่ไม่มีประกันสุขภาพ เมื่อป่วยมักเลี่ยงที่จะไปหาหมอ และหายามาทานเอง ซึ่งการรักษาไม่ถูกวิธีอาจทำให้อาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยสะสมจนกลายเป็นโรคร้ายแรงได้


เป็นอย่างไรบ้างมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ตอนนี้รู้แล้วใช่มั้ยว่า “กลยุทธ์ในการลดหย่อนภาษี” มีอะไรกันบ้าง เช็คดูว่าคุณมีสิทธิ์ลดหย่อนอะไร และซื้อประกันลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ ที่ไม่ได้มีดีแค่ช่วยเราลดหย่อนภาษีเท่านั้น แต่คุ้มครองทั้งชีวิตและความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สำหรับใครที่มองหาประกันสุดคุ้ม อย่าง การทำประกันสุขภาพอยู่ละก็ ตอนนี้ประกันสุขภาพมิติใหม่จากซิกน่ามีแพ็คเกจคุ้มครองดูแลโรคมะเร็ง (ทุกระยะ) เนื้องอก และซีสต์ โดยจุดเด่นของประกันนี้ นั่นก็คือ การคุ้มครองทั้งโรคร้ายแรงและโรคอื่นๆ โดยเฉพาะโรคที่คนไทยส่วนใหญ่มีความเสี่ยง จึงไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินความจำเป็น พร้อมทั้งยังดูแลคุณอย่างอุ่นใจ ตั้งแต่

  • ก่อนป่วย - ดูแลตั้งแต่ก่อนป่วยด้วย Health line ที่ให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ
  • เมื่อพบโรค - มอบเงินก้อนดำรงชีพ เมื่อพบโรคร้ายแรง
  • ระหว่างการรักษาจนหายป่วย - จ่ายค่ารักษาตามจริง อย่างที่ไม่เคยมีแผนใดให้คุณได้

ในส่วนของความคุ้มครองของกลุ่มโรคร้ายแรงและมะเร็งระยะลุกลาม เงินชดเชยแบบเหมาจ่าย (ครั้งเดียว) สูงสุด 500,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (ตลอดระยะเวลาที่ถือกรมธรรม์)สูงสุด 2,500,000 บาท โรคมะเร็งระยะไม่ลุกลาม, เนื้องอก, ซีสต์ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (ตลอดระยะเวลาที่ถือกรมธรรม์) 300,000 บาท เพียงจ่ายค่าเบี้ยเริ่มต้นเดือนละ 281 บาท

สำหรับความคุ้มครองกลุ่มโรคทั่วไป (ออฟฟิศซินโดรม และกลุ่มโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และทางเดินอาหาร)ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก (ตลอดระยะเวลาที่ถือกรมธรรม์)สูงสุด 300,000 บาท เพียงจ่ายค่าเบี้ยเริ่มต้นเดือนละ 452 บาท

ที่สำคัญแผนประกันสุขภาพนี้ยังเป็นประกันลดหย่อนภาษีที่ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท แถมข้อดีคือ ไม่ต้องจ่ายเบี้ยเกินความจำเป็น เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนสุดๆ

เห็นไหมว่าในชีวิตประจำวันของมนุษย์เงินเดือนที่มีรายจ่ายมากมายก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีกันได้ถ้าหากเราบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและเข้าใจก็จะทำให้ประหยัดไปหลายบาทเลยทีเดียว และที่สำคัญการวางแผนประกันลดหย่อนภาษีก็เป็นอีกเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนควรวางแผนให้ดีเช่นกัน

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : www.cigna.co.th

 1422
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับแนวคิดการบริหารคนจากต่าง Gen กัน วันนี้เราจะสรุปไว้เป็น 4 Gen และจะดูไปด้วยกันว่าในแต่ ละวัฒนธรรม (ไทยญี่ปุ่น จีน อเมริกัน) นั้นมีลักษณะแต่ละ Gen เหมือนหรือต่างกันอย่างไรด้วยครับ โดยการแบ่ง Gen ไมได้ หมายความว่ามี เส้นแบ่งโดย เด็ดขาด ว่า Gen ไหนก็จะต้องเป็นแบบนั้น แต่เป็นการบอกแนวโน้ม บอกความน่าจะเป็น ของกลุ่มคนโดยส่วนใหญ่ใน Gen นั้นเท่านั้น การแบ่ง นั้น บางตําราแบ่งเป็น 8 Gen คือ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง มี 3 Gen และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มี 5 Gen รวมกันเป็น 8 Gen แต่บางตำราแบ่งเป็น 5 Gen คือเหมารวมพวกก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเป็น 1 Gen และ พวกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็น 4 Gen
3030 ผู้เข้าชม
1.ไม่เป็นไร ผิดพลาดกันได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทำงานผิดพลาดแล้วยังจะมานั่งโทษตัวเองให้เหนื่อยทำไม ให้กำลังใจตัวเองเพื่อทำงานชิ้นต่อไปดีกว่า ยิ่งเรามัวจมกับความผิดพลาดเดิม ๆ เราก็จะทำงานอื่นต่อไม่ได้ สู้เอาความผิดพลาดมาทำให้ถูกต้องในงานชิ้นใหม่ดีกว่า สัจธรรมของชีวิตที่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีใครจำเรื่องของคนอื่นนานหรอก ถึงใครจะว่าเรามากมายแค่ไหน แต่พอเดินพ้นหน้าเราไปเขาก็ต้องคิดเรื่องอื่นแทน แล้วเราจะมาลงโทษตัวเองอยู่ทำไม 2.งานไม่ได้หนักทุกวันสักหน่อย เดี๋ยวก็ได้พักแล้ว เวลางานล้นมือเราอาจท้อ แต่ท้อไปงานก็ไม่เสร็จ ลุกมาทุ่มเททำให้เสร็จ ๆ ไปดีกว่า เหนื่อยแค่ไหนเดี๋ยวก็ได้พัก และสิ่งที่เราต้องทำเมื่องานเยอะ คือจัดระเบียบเส้นตายของงานแต่ละชิ้น เจรจาต่อรองถ้าคิดว่าจะไม่เสร็จตรงเวลา แล้วก็ค่อย ๆ ทำไปทีละงาน เดี๋ยวดีเอง 3.ถึงจะไม่เก่งงานนี้ แต่เราก็พยายามเต็มที่แล้ว บ่อยครั้งที่เราได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด ก็คิดเสียว่าไม่เป็นไร ทำให้เต็มที่ แต่ก่อนทำก็บอกคนที่มอบหมายหน่อยว่าไม่ค่อยถนัดนะ แต่จะทำเต็มที่ ผิดพลาดอะไรก็บอกได้ เขาจะได้ไม่คาดหวังมาก แต่ถ้าทำออกมาแล้วดีก็ถือเป็นกำไร อย่าเสียใจที่ทำงานบางประเภทไม่เก่ง เพราะเราก็อาจจะเก่งในงานประเภทอื่นก็ได้ จำไว้ว่าปลาอาจจะว่ายน้ำเก่งกว่าลูกสุนัข แต่ปลาก็วิ่งไม่ได้เหมือนกัน ถ้าปลาตัวหน่งจะโดดขึ้นมาบนบกแล้วคืบคลานจนถลอกปอกเปิกก็คงไม่มีใครว่าอะไร เพราะมันเป็นปลาจริงไหม
1155 ผู้เข้าชม
รวบรวมคำศัพท์สายอาชีพ และตำแหน่งงานในแต่ละสายอาชีพทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ได้แก่ งานบัญชี งานธุรการ งานเลขานุการ งานเกษตรกรรม งานประมง งานเหมืองแร่ งานสายการบิน งานการเงิน งานธนาคาร งานก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานที่ปรึกษา งานนักวิเคราะห์ งานบริการลูกค้า งานวิศวกร เป็นต้น
2591 ผู้เข้าชม
อย่างที่ทราบกันว่าเอกสารทางราชการนั้นมีมากมาย สำหรับ HR มือใหม่อาจจะงงๆ ว่าชื่อย่อของเอกสารเหล่านั้นมันคือเอกสารอะไรกันนะ วันนี้แอดมินจะมาแนะนำเอกสาร 3 ตัวหลักๆด้วยกัน ได้แก่ ภ.ง.ด.1, ภ.พ.20 และ 50 ทวิ ว่าคืออะไรนะคะ
13361 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์