หลักการฉบับย่อของการคำนวณภาษี คือ การนำรายได้รวมทั้งปี หักออกด้วยค่าใช้จ่าย หักด้วยค่าลดหย่อน แล้วนำยอดที่เหลือไปคำนวณภาษีตามอัตราที่กำหนด ซึ่งจะเห็นได้ว่า การคำนวณต้องมีสี่องค์ประกอบหลัก ดังนี้ (ผมขอใช้ภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดาในการอธิบายนะครับ
นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม หรือในภาษากฎหมาย เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน” ตัวอย่างเช่น เงินเดือน รวมถึงรายได้จากการทำงานพิเศษ โดยก่อนที่จะนำเงินได้พึงประเมินไปคำนวณค่าใช้จ่าย เราจะหักออกด้วยเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น เช่น เงินที่ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หรือเงินสะสมกองทุนบำนาญข้าราชการ
รายได้ | อัตราภาษีที่ต้องเสีย |
รายได้ไม่เกิน 150,000 บาท | ไม่ต้องเสียภาษี |
รายได้ 150,001-300,000 บาท | ร้อยละ 5 |
รายได้ 300,001-500,000 บาท | ร้อยละ 10 |
รายได้ 500,001-750,000 บาท | ร้อยละ 15 |
จากการคำนวณตามอัตราภาษีข้างต้น ถึงตอนนี้ เราจะได้ยอดเงินภาษีที่ต้องชำระแล้วครับ จากนั้น นำภาษีที่คำนวณได้นี้ เปรียบเทียบกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่เราได้ชำระไปแล้วในระหว่างปี หากยอดรวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย สูงกว่าภาษีที่คำนวณได้ เราก็จะได้รับเงินภาษีคืน และในทางตรงข้าม หากยอดรวมภาษีหัก ณ ที่จ่าย ต่ำกว่าภาษีที่คำนวณได้ เราก็มีหน้าที่ยื่นชำระภาษีเพิ่มเติม แต่ถ้าเลขทั้งสองตัวเท่ากัน ก็หมายความว่า เราได้ชำระภาษีครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องชำระเพิ่ม และไม่ได้เงินคืน แต่ยังคงต้องยื่นแบบภาษีไว้เพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น สำหรับตัวเลขภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะอยู่ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่นายจ้างจะส่งให้เมื่อมีการชำระเงิน หรือบางบริษัท จะส่งให้พนักงานประจำตอนปลายปี เพื่อใช้เป็นเอกสารในการยื่นแบบภาษีครับ
ในส่วนของภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็จะมีหลักการคำนวณที่คล้ายกันกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลักการคำนวณแบบย่อ คือ รายได้ลบด้วยค่าใช้จ่าย จากนั้นจึงนำกำไรที่ได้ไปคำนวณภาษีตามอัตราที่กำหนด โดยรายละเอียดของรายได้ ค่าใช้จ่าย และอัตราภาษีนั้นค่อนข้างจะมีรายละเอียดมากกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งยังมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไปในธุรกิจแต่ละประเภทอีกด้วยครับ
จากหลักการคำนวณจะเห็นได้ว่า วิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราได้รับเครดิตภาษีเงินคืนเพิ่มได้ คือ เพิ่มค่าลดหย่อน เช่น ลงทุนในกองทุน LTF, RMF หรือซื้อประกันชีวิตนั่นเอง ผมหวังว่า ด้วยหลักการคำนวณภาษีเบื้องต้นนี้ จะทำให้เพื่อน ๆ มีความเข้าใจ และกรอกข้อมูลภาษีได้อย่างสบายใจมากขึ้นนะครับ
สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้
ที่มา : www.krungsri.com