1. มีด้วยหรือกับองค์กรที่อยากให้คนทำงานผิดพลาด
2. เราต้องย้อนไปดูก่อนว่าระบบบริหารงานที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมันมีวิวัฒนาการมาอย่างไร
3. ในตอนเริ่มต้นศาสตร์ในการบริหารธุรกิจเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการปฎิวัติอุตสาหกรรม นั่นคือจุดเริ่มต้นของสายงานการผลิตที่มีคนตัวเล็กๆ เป็นฟันเฟืองของเครื่องจักร
4. ความผิดพลาด ความล้าช้า ความไร้ประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ ‘ผู้จัดการ’ ในยุคสมัยนั้นอยากหลีกหนีให้ห่างไกล เพราะมันหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้นและผลกำไรที่ลดลง
5. ความผิดพลาดกลายเป็น ‘หลุมดำ’ ที่พร้อมดูดกลืนแรงกาย แรงเงิน แรงเวลา ให้หายไปอย่างน่าใจหาย
6. มรดกตกทอด ‘วิธีคิด’ แบบเกลียดกลัวความผิดพลาดจึงฝังรากลึกเข้าสู่ศาสตร์การจัดการเรื่อยมา สะท้อนผ่านการทำงานแบบตอกบัตร และทีมงานที่ต้องปฎิบัติตามงานที่ระบุไว้ใน Job description ระบบโครงสร้างองค์กรเป็นแบบระดับชั้น
7. โลกเปลี่ยนไปมากมายในปัจจุบัน เทคโนโลยีช่วยให้งานหลายๆ อย่างที่เคยใช้เวลานานในการบรรลุสามารถกลายเป็นของที่ทำได้โดยง่าย เทคโนโลยีปลดปล่อยการทำงานของมนุษย์จากสิ่งที่ซ้ำซากสู่สิ่งที่สร้างสรรค์มากขึ้นเรื่อยๆ
8. ใช่, ยังมีงานอีกมากที่สุดแสนจำเจและจำเป็นต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อบรรลุผล เพราะการแหวกแนวสร้างสรรค์อาจหมายถึงความเสี่ยงที่ไม่อาจยอมรับได้
9. มีการทำนายว่าอนาคตอันใกล้ในไม่อีกกี่ปีข้างหน้านี้จะเกิด AI Disruption ซึ่งจะเป็นเทรนด์ทั่วโลก โดยกลุ่มของงานที่มีโอกาสถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัติมากที่สุดคืองานรูทีน งานใช้แรง เพราะเป็นกลุ่มงานที่เทคโนโลยี Machine learning ประกอบกับเทคโนโลยี AI สามารถที่จะลอกเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างกรณีที่เกิดขึ้นแล้วในหลายอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ไร้คนขับ ซอฟแวร์ที่สามารถวิเคราะห์ตีความบทกฎหมาย AI ที่สามารถวิเคราะห์แผ่น X-ray เพื่อวิเคราะห์หาความผิดปกติของเนื้อเยื่อ จะเกิดอะไรขึ้นกับคนขับรถ นักกฎหมาย และแพทย์เฉพาะทางเหล่านี้
10. จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวัฒนธรรมองค์กรยังเต็มไปด้วยกฎระเบียบยิบย่อย ให้รางวัลเฉพาะคนที่ปฏิบัติตามแผนงานอย่างเคร่งครัด และลงโทษ (หรือตัดรางวัล)กับคนที่ทำงานผิดพลาด
11. ในโลกยุคใหม่องค์กรกำลังต้องการคนที่คิดนอกกรอบเพื่อหาแนวทางใหม่ๆ ในการทำงานเพื่อแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่มาจากเทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้น ฟากฝั่งเทคโนโลยีก็กำลังค่อยๆทำลายงานที่มีลักษณะเป็นแบบแผน และให้คุณค่ากับงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เครื่องจักรยังไม่ส่ามารถลอกเลียนแบบได้
12. ตัดภาพมาดูที่รายงานการศึกษาค่าตอบแทนในการทำงานก็ยิ่งชัดเจน คือ คนเงินเดือนระดับแสนขึ้นไป ล้วนแต่ทำงานประเภทใช้ความคิดสร้างสรรค์แทบทั้งสิ้น (95%) เมื่อเทียบกับคนอายุใกล้เคียงกัน
13. ข้อมูลทั้งหมดนี้กำลังบอกอะไรกับเราในฐานะคนที่ทำงานในวงการทรัพยากรบุคคล และเราสามารถนำความตระหนักรู้ข้อนี้ไปช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรให้มากขึ้นได้อย่างไร
14. Ray Dalio Ray Dalio ผู้บริหารเฮดจ์ฟันด์ใหญ่สุดในโลกชวนเราคิดในประเด็นเหล่านี้ไว้หนังสือ Principles ว่าสิ่งที่แยกระหว่างคนที่ประสบความสำเร็จกับคนล้มเหลว – องค์กรที่สร้างนวัตกรรมครั้งแล้วครั้งเล่ากับองค์กรที่ทำได้แค่ลอกเลียนแบบและเป็นได้แค่ผู้ตามในอุุตสาหกรรม….ก็คือ ‘ทัศนคติที่เรามีต่อความผิดพลาด’
15. สำหรับตัวบุคคลที่เกลียดกลัวความผิดพลาดก็จะนำไปสู่การหยุดการเรียนและปิดตัวเองสู่โอกาสใหม่ๆ ในชีวิต แต่สำหรับองค์กรคุณ Ray Dalio ได้บอกไว้ว่าถ้าเราสามารถที่จะสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงาน (วัฒนธรรมองค์กร) ให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัยที่จะทำผิดทำพลาดได้ แต่ต้องเป็นการผิดพลาดที่เราสามารถเรียนรู้จากมันได้ ก็จะทำให้องค์กรสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลง เราจึงควรหันกลับมาทบทวน Mindset ที่มีต่อความผิดพลาดกันใหม่โดยเฉพาะองค์กรที่ต้องพึ่งพาเรื่องของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ
16. อาจถึงเวลาแล้วที่องค์กรจะกลับมาทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลกันใหม่ เพราะจากนี้ไปสินทรัพย์ที่มีคุณค่าสูงที่สุดขององค์กรอาจไม่ใช่เครื่อจักร สินค้า หรือที่ดิน เพราะในโลกที่วงจรธุรกิจสั้นลง เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป ทรัพยากรมนุษย์ หรือมันสมองของบริษัทนี้เองที่จะเป็น Key Success ของธุรกิจในวันข้างหน้า
ไม่แน่ว่าอันที่จริงแล้วคนเก่งๆ ไอเดียดีๆ วิถีทางใหม่ๆ ได้ฝังตัวอยู่ภายในองค์กรของคุณอยู่แล้ว แต่เป็นวิถีปฏิบัติเก่าๆ ในสมัยที่ธุรกิจยังมองมนุษย์เป็นเครื่องจักรที่ทำให้ศักยภาพเหล่านั้นไม่ได้เฉิดฉาย
17. พวกเราในฐานะของ HR สามารถที่จะเริ่มตั้งคำถามกับระบบระเบียบเก่าๆ บางแบบที่อาจล้าสมัยไปแล้ว พยายามเปิดพื้นที่ให้พนักงานได้ทดลอง สร้างบางโปรเจกที่อนุญาตให้ล้มเหลวได้โดยไม่ส่งผลกระทบมากเกินไป ปรับระบบการประเมินผลงานเพื่อสนับสนุนให้พนักงานได้คิดริเริ่ม จัดกิจกรรมในองค์กรให้เกิดการแชร์ไอเดีย อย่าให้โครงสร้างองค์กรแบบเป็นลำดับชั้นมาขัดขวางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ไอเดียที่ดีที่สุดต้องสามารถมาจากทุกคนนองค์กรโดยไม่เกี่ยวกับความใหญ่โตในบริษัท มีการอบรมคนในระดับผู้จัดการเพื่อสร้างทีมงานที่รู้สึกปลอดภัยกล้าทดลอง ไม่กลัวความล้มเหล็ว
สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางที่แต่ละองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของตัวเอง แต่อย่างแรกที่ต้องทำคือการเริ่มจากทัศนคติที่ว่า “เป็นเรื่องโอเครที่จะสร้างความผิดพลาด แต่ต้องเป็นการผิดพลาดที่สามารถนำมาเรียนรู้ต่อได้”
HR NOTEคือมีเดียสำหรับ HR ที่เชื่อในการพัฒนาตัวเองเพื่อพัฒนาโลก เรานำเสนอ Content คุณภาพที่เกี่ยวกับเทรนด์การบริหารงานบุคคล เทคโนโลยีในแวดวง HR และกรณีศึกษาเจ๋งๆ จากองค์กรที่น่าสนใจ และในปี 2020 เรายังเพิ่มในส่วนมุมมองจาก HR People ระดับโลกทั้งในและต่างประเทศ เพื่อช่วยให้ HR มืออาชีพนำไปต่อยอดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาประสบการณ์สำหรับพนักงานในองค์กรก่อกำเนิดเป็นการงานที่มีคุณค่า มีความหมาย และงดงาม
สามารถอ่าน บทความเกี่ยวกับHR และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้
ที่มา : th.hrnote.asia