• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • AI จะพลิกโฉมวงการ HR และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหา 'คน' ในอนาคตได้อย่างไร?

AI จะพลิกโฉมวงการ HR และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหา 'คน' ในอนาคตได้อย่างไร?

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • AI จะพลิกโฉมวงการ HR และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหา 'คน' ในอนาคตได้อย่างไร?

AI จะพลิกโฉมวงการ HR และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหา 'คน' ในอนาคตได้อย่างไร?

ในอนาคตอันใกล้ AI จะเข้ามาพลิกโฉมวงการ HR ทั่วโลก ในการช่วยลดอคติ เพิ่มประสิทธิภาพในการหาคน พัฒนาความสัมพันธ์ รวมถึงสร้างการเรียนรู้ในองค์กร

ในการจัดการทรัพยากรบุคคล (HR) เทคโนโลยี Machine Learning อาจเป็นสาขาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ AI ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถระบุผู้สมัครที่มีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุดในตำแหน่งงานนั้นๆ หรือตรวจสอบว่าพนักงานคนใดไม่เหมาะกับบางตำแหน่งงานในช่วงสองสามปีข้างหน้า เราจะสามารถคาดการณ์ล่วงหน้า และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลได้เพียงการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ

การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคาดการณ์เกี่ยวกับบุคลากร และแบบจำลองความเสี่ยงที่พนักงานจะลาออกจะช่วยให้การวางแผนทรัพยากรบุคลากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่เราสามารถป้อนข้อมูลเข้าไปในโปรแกรมจำแนกประเภท และรับทราบข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโลกของเรามีความซับซ้อน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบทบทวนแบบจำลองความเสี่ยงที่พนักงานจะลาออกภายใต้สถานการณ์ที่หลากหลาย

ตัวอย่างเช่น ในกรณีของแบบจำลองคาดการณ์การลาออก คุณทราบหรือไม่ว่าข้อมูลของคุณถูกสร้างขึ้นอย่างไร การกระจายข้อมูลแบบใดเกี่ยวข้องกับตัวแปรแต่ละตัว มีตัวแปรซ่อนเร้นที่อาจทำให้ข้อมูลของคุณขาดความเที่ยงตรงหรือไม่ แบบจำลองของคุณทำให้การคาดการณ์มีลักษณะเอนเอียงหรือไม่ และถ้าเป็นเช่นนั้น จะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะคาดการณ์คำถามเหล่านี้ และจะออกแบบวิถีการทำงาน อีกทั้งวิธีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบหลายขั้นตอนที่สามารถปรับขนาดได้อย่างยืดหยุ่นให้เข้ากับแบบจำลองที่ใช้งานอยู่ จึงช่วยให้สามารถตรวจจับแบบแผน และความผิดปกติในชุดข้อมูลได้ทุกขั้นตอน และได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์แก่องค์กร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสรรหาบุคลากร และการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล

การปรับปรุงการเรียนรู้

ในแวดวง HR ได้มีการใช้ระบบจัดการการเรียนรู้และโมดูลการฝึกสอนมานานหลายปีแล้ว เพื่อจัดหาข้อมูลด้านเส้นทางอาชีพและการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรทำงานในตำแหน่งงานปัจจุบันได้อย่างดีเยี่ยม พร้อมความมุ่งหวังที่จะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ในกรณีเช่นนี้ AI จะสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Big Data เพื่อประมวลผลชุดข้อมูลจำนวนมากที่มีความหลากหลาย เช่น ข้อมูลประวัติย่อที่มีจำนวนหลายเทราไบต์ รวมถึงการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน และข้อมูลในอดีต เพื่อปรับใช้โมดูลการเรียนรู้และการฝึกสอนแบบเฉพาะบุคคลที่สอดรับกับระดับของตำแหน่งงานและประสบการณ์ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการแบบอัตโนมัติ

อย่างไรก็ดี แม้กระทั่งในสถานการณ์ดังกล่าว องค์กรที่ประสบความสำเร็จเข้าใจว่าตนเองจำเป็นต้องว่าจ้างทีมพัฒนาระดับชั้นนำ ซึ่งจะต้องใช้เวลานานในการออกแบบสถาปัตยกรรมข้อมูลที่มีการแบ่งระดับชั้นและจัดระเบียบเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลังข้อมูลส่วนกลาง (Data Lake) เป็นตัวชี้วัดเส้นแบ่งระหว่างสถาปัตยกรรมข้อมูลที่ประสบความสำเร็จและสถาปัตยกรรมข้อมูลที่ล้มเหลว แม้ว่าการที่บริษัทสามารถรวบรวมแหล่งข้อมูลต่างๆ มาไว้ในที่เดียวกันจะถือเป็นความสำเร็จที่น่าชื่นชม แต่ขั้นตอนถัดไปในกระบวนการนี้มีความสำคัญยิ่งกว่า นั่นคือ การใส่ป้ายระบุและจัดระเบียบข้อมูลของคุณ ขั้นตอนนี้ดูเหมือนง่าย แต่กลับมีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กรในการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลบิ๊กดาต้าให้ประสบความสำเร็จ และจะมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่ต้องการปฏิวัติกระบวนการพัฒนาบุคลากรโดยอาศัยการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

การวิเคราะห์ความรู้สึกเพื่อดึงดูดพนักงาน

มีการใช้งานเทคโนโลยีการวิเคราะห์ความรู้สึกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อเปิดเผยความรู้สึกแง่บวกและแง่ลบและอคติที่ปรากฏอยู่ในสิ่งต่างๆ ตั้งแต่ข้อความทวีตไปจนถึงรีวิวบน Yelp แม้ว่าหลายๆ บริษัทได้ลงทุนกับเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว แต่ในช่วงหลายปีนับจากนี้ เราจะพบเห็นการประยุกต์ใช้งานเพิ่มมากขึ้นในงาน HR เพื่อตรวจวัดความรู้สึกและระดับการมีส่วนร่วมของพนักงาน เช่น พนักงานชอบบริษัทหรือเปล่า พอใจกับงานที่ทำอยู่หรือไม่ หรือพนักงานรู้สึกไม่พอใจที่ไม่มีโอกาสเลื่อนตำแหน่งหรือเปล่า

การวิเคราะห์ความรู้สึกกับการมีส่วนร่วมของพนักงานเกี่ยวข้องกันอย่างไร โดยสาระสำคัญแล้ว ในคำตอบของพนักงานคนหนึ่งๆ จะมีคำสำคัญที่ถูกเชื่อมโยงเข้ากับบัญชีศัพท์ และจะมีการกำหนดคะแนนบวกหรือลบให้กับคำศัพท์ต่างๆ กลไกการให้คะแนนบางรูปแบบมีลักษณะเรียบง่าย โดยมีการกำหนดเรตติ้ง + หรือ – ให้กับคำศัพท์ ขณะที่กลไกอื่นๆ จะมีการแบ่งระดับชั้น โดยมีการกำหนดคะแนนบวกและลบที่หลากหลาย (-5 ถึง +5)

ในทางปฏิบัติ การวิเคราะห์ความรู้สึกเพื่อตรวจวัดการมีส่วนร่วมของพนักงานอาจมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งที่ถูกมองข้ามก็คือ ระบบดังกล่าวอาจนำเสนอผลลัพธ์ที่เอนเอียงหรือไม่ถูกต้อง ที่จริงแล้วแทนที่จะเชื่อมโยงคำศัพท์ต่างๆ เข้ากับความรู้สึก องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะเข้าใจว่าการบันทึกข้อมูลบริบทที่ละเอียดที่สุดของถ้อยคำนั้นๆ จะช่วยให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เที่ยงตรงมากกว่าในเรื่องที่เกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของพนักงาน 

แนวทางที่สมดุล

ขณะที่ระบบต่างๆ ได้รับการพัฒนาและมีข้อมูลพร้อมใช้งานเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยี AI จะส่งผลกระทบต่องาน HR ในหลายๆ ด้าน และการศึกษาเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของแนวทางต่างๆ ก็มีความสำคัญมากพอๆ กับการสร้างอัลกอริธึมและสถาปัตยกรรมข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในท้ายที่สุดจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายแก่บริษัทที่พยายามในเรื่องนี้อย่างเต็มที่

ทั้งนี้มีข้อมูลจากการวิจัยของ Deloitte พบว่า AI และหุ่นยนต์ กำลังเปิดทางให้ HR ได้ใช้ความสามารถใหม่ๆ ที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการจดจำใบหน้าและแยกแยะเพศ สามารถฟังเสียงแล้วระบุได้ว่าเสียงนั้นอยู่ในอารมณ์ไหน และสามารถถอดวิดีโอจากการสัมภาษณ์พนักงานออกมาได้ว่าผู้ที่มาสมัครงานนั้นมีการศึกษาระดับใด ทำการจับเท็จและวิเคราะห์ผู้สมัครได้ เครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ จะทำการเลือกผู้สมัครอย่างชาญฉลาด ระบุทางเลือกในการประกอบอาชีพของพนักงาน และโค้ชผู้จัดการในเรื่องของการปรับปรุงทักษะความเป็นผู้นำของตนได้

งานวิจัย AI, robotics and automation: Put humans in the loop ของ Deloitte ระบุว่า การที่ AI และเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเริ่มแทรกซึมเข้าสู่องค์กร ทำให้ทักษะการทำงานเช่น การคิดเชิงวิเคราะห์และประเมินผล ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นเรื่องสำคัญ องค์กรชั้นนำต่างตระหนักดีว่า เทคโนโลยีเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อนำมาใช้งานร่วมกับมนุษย์ ไม่ใช่แทนที่มนุษย์

จากรายงาน  Rewriting the rules of the digital age ซึ่งเป็นรายงานด้านทุนมนุษย์ล่าสุดของ Deloitte ระบุว่า ทรัพยากรมนุษย์แบบดิจิทัล การสรรหาผู้มีความสามารถพิเศษ ความเป็นผู้นำ เส้นทางอาชีพและการเรียนรู้ เป็นเทรนด์ด้านทุนมนุษย์สามอันดับแรกของประเทศไทยในปีที่ผ่านมา

รายงานนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 10,000 ราย จาก 140 ประเทศ ในจำนวนนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามจากประเทศไทย42 ราย ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าภาคการจ้างงานในไทยให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลแบบดิจิทัล 98% การสรรหาผู้มีความสามารถ 95% ความเป็นผู้นำ อาชีพ และการเรียนรู้ 93%

อีกไม่นาน AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดลักษณะของงานด้านการจัดการทรัพยากรบุคคลทั่วโลก เนื่องจากการใช้ AI จะช่วยลดอคติของคน เพิ่มประสิทธิภาพในการสรรหาพนักงาน พัฒนาความสัมพันธ์ รวมถึงสร้างการเรียนรู้ในองค์กร

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้


ที่มา : techsauce.co

 2723
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

หากใครที่กำลังมองหาการออมในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ต้องบอกไว้ก่อนว่า สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ถึงปี 2562 นี้เท่านั้นนะครับ หรืออีกนัยนึงก็คือ จะมียกเลิกการใช้กองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF มาลดหย่อนภาษี ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปนั่นเอง แต่ก็ไม่ต้องตกใจไปนะครับ เพราะถึงแม้ว่า LTF จะถูกยกเลิก ในการนำมาลดหย่อนภาษีได้
1134 ผู้เข้าชม
จากกระทรวงแรงงานะระบุว่า ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 12 ล้านคน พร้อมกันนี้กระทรวงแรงงานโดยคณะกรรมการค่าจ้างได้ประชุมเพื่อพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างที่เหมาะสมสำหรับ การจ้างงานผู้สูงอายุ ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว
9671 ผู้เข้าชม
แนวโน้มและทิศทางในการสรรหาในปี ค.ศ.2020 (พ.ศ. 2563) ควรเป็นแนวทางในการปรับกลยุทธ์การสรรหาบุคลากรของคุณในปี 2020 เราจะรวบรวมเทรนด์การสรรหาล่าสุด ที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการสรรหาของคุณอย่างมีนัยสำคัญ คุณพร้อมที่จะลองใช้แนวโน้มและทิศทางในการสรรหาใหม่เหล่านี้หรือยัง? ไม่อย่างนั้นคุณก็อาจจะโดนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
2789 ผู้เข้าชม
สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางที่แต่ละองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของตัวเอง แต่อย่างแรกที่ต้องทำคือการเริ่มจากทัศนคติที่ว่า “เป็นเรื่องโอเครที่จะสร้างความผิดพลาด แต่ต้องเป็นการผิดพลาดที่สามารถนำมาเรียนรู้ต่อได้”
1606 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์