ภาษีกับการจ้างคนพิการ

ภาษีกับการจ้างคนพิการ


กิจการใดที่มีลูกจ้างเกิน 100 คน ต้องจ้างคนพิการอย่างน้อย 1 คน

ถ้าบริษัทไม่จ้างไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม ต้องจ่ายเข้ากองทุนพัฒนาชีวิตคนพิการ (ค่าแรงขั้นต่ำ x 365)

กรณีมีพนักงาน 200 คน ต้องจ้างคนพิการ 2 คน แต่มีพนักงานคนพิการเพียงแค่ 1 คน ถือว่าไม่เป็นไปตามข้อบังคับ บริษัทต้องจ่ายเข้ากองทุนดังกล่าวทดแทนคนพิการอีก 1 คน

สิทธิประโยชน์ทางภาษีลงรายจ่าย 2 เท่า

  • กิจการใดที่ดำเนินการจ้างคนพิการ แม้ว่าจะไม่มีหน้าที่จ้าง (มีพนักงาน/ลูกจ้างไม่ถึง 100 คน)

หรือ

  • จ้างคนพิการเกินกว่าที่ กฎหมายกำหนด (100 จ้าง 1 )

กิจการนั้นมีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการนั้นมาลงรายจ่ายทางภาษีเพิ่มได้อีก 1 เท่า รวมเป็น 2 เท่า !

แต่ คนพิการนั้นต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ

เช่น บริษัทมีพนักงาน 200 คน จ้างคนพิการ 5 คน เงินเดือนคนละ 30,000 บาท ลงค่าใช้จ่าย 150,000บาท บริษัทนั้นสามารถลงค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท (150,000บาท)

ค่าใช้จ่าย หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกี่ยวกับการจ้าง เช่น เงินเดือน โบนัส โอที หรือแม้แต่เงินสมทบประกันสังคม

 

สิทธิประโยชน์ทางภาษีลงรายจ่าย 3 เท่า

ถ้ากิจการมีการจ้างคนพิการเข้ามาทำงาน โดย

  • คนพิการมีจำนวนเกินกว่า 60% ของ พนักงานลูกจ้าง

และ

  • มีระยะเวลาในการจ้างเกิน 180 วัน

กิจการมีสิทธิลงรายจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการได้อีก 1 เท่า รวม 3 เท่า !

 

กรณีที่บริษัทไม่จ้างคนพิการ และไม่ประสงค์จะจ่ายเข้ากองทุน บริษัทสามารถดำเนินการตามรูปแบบอื่นที่ กม.กำหนด (ม.35 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) ดังนี้

  • ให้สัมปทาน (การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ เช่น การให้สิทธิในลิขสิทธิ์ในการจําหน่ายสินค้า )
  • จัดสถานที่จําหน่ายสินค้าหรือบริการ (การให้สถานที่เพื่อให้คนพิการหรือ ผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ)
  • จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ
  • การฝึกงาน (การฝึกงานให้แก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในหลักสูตรที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ เพื่อให้นําไปใช้ประกอบอาชีพ )
  • จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวก (การจัดให้มีอุปกรณ์หรือ สิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่คนพิการที่ทํางานในสถานประกอบการ ให้สามารถทํางานได้ตาม ความเหมาะสม)
  • ล่ามภาษามือ
  • ให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ (การสนับสนุนด้านการเงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือ หรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการซื้อสินค้าจากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรงเพื่อให้มีอาชีพ ฝึกอาชีพ เตรียมความพร้อมในการทํางาน)บริษัทต้องทำโครงการนำเสนอต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ออกหนังสืออนุมัติให้แล้วจึงสามารถดำเนินการได้ (หากดำเนินการแล้วก็ไม่ต้องจ่ายเข้ากองทุน เพราะทำตามที่ กม.กำหนดแล้ว)

แล้ว การบริหารค่าจ้างเงินเดือน แบบไหนที่เรียกว่าเป็นธรรม? ที่พนักงานสามารถยอมรับได้ และสามารถอ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติมได้ ที่นี้


ที่มา : www.impressionconsult.com

 2600
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

แก้ปัญหาลาออกให้เจอ ทำไมลูกน้องลาออกบ่อย เคยส่งไหมครับว่าทำไมพนักงานที่เข้ามาใหม่ ไม่ค่อยจะมีใครอยู่ได้ถึง สามปี สี่ปี พอครบปีก็พากันลาออกหมด บางคนนี่ยังไม่ถึงปีด้วยซ้ำเลย…. พยายามจะแก้ปัญหาก็เเล้ว เเต่ก็ดูเหมือนยังไม่ถูกจุด
2253 ผู้เข้าชม
นายปรี๊ดค้นเจอบทความชิ้นหนึ่งของผู้เขียน ชื่อ นาเดีย กูดแมน จากเว็บไซต์ ideas.ted.com ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ ดร.เคลลี่ แมคกอนิกัล (Kelly McGonigal) อาจารย์สาขาจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด ผู้เขียนหนังสือ “The Willpower Instinct” ซึ่งถูกแปลมากว่า 10 ภาษาและประสบความสำเร็จมากในประเทศญี่ปุ่น เป็นหนังสือสไตล์ฮาวทู (how to) เผื่อใช้จัดการวินัยในตนเอง บนฐานคิดและหลักฐานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเอง
1245 ผู้เข้าชม
มีงานเขียนทำนอง White Paper ไม่ถึงกับเรียกว่าวิจัยทีเดียวนัก ชื่อว่า ระบบอัตโนมัติ : ผลกระทบต่อแรงงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต จัดทำโดย สถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล (บทความวิจัยฉบับเต็ม เผยแพร่ในงาน HR Day สามารถหาอ่านได้จากเว็บของสมาคมฯ หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่สมาคม)
1014 ผู้เข้าชม
งาน HR ในปัจจุบัน มีความสำคัญต่อองค์กรมากขึ้นกว่าในอดีต เพราะปัจจุบันทรัพยากรบุคคลถือเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร HR จึงเปรียบเสมือนหุ้นส่วนทางธุรกิจ ซึ่งไม่ได้มีบทบาทเพียงแค่ คัดคนเข้า เอาคนออก ตรวจบัตรตอก ออกใบเตือน อย่างที่คนภายนอกเข้าใจอีกต่อไป
5917 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์