ภาษีกับการจ้างคนพิการ

ภาษีกับการจ้างคนพิการ


กิจการใดที่มีลูกจ้างเกิน 100 คน ต้องจ้างคนพิการอย่างน้อย 1 คน

ถ้าบริษัทไม่จ้างไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม ต้องจ่ายเข้ากองทุนพัฒนาชีวิตคนพิการ (ค่าแรงขั้นต่ำ x 365)

กรณีมีพนักงาน 200 คน ต้องจ้างคนพิการ 2 คน แต่มีพนักงานคนพิการเพียงแค่ 1 คน ถือว่าไม่เป็นไปตามข้อบังคับ บริษัทต้องจ่ายเข้ากองทุนดังกล่าวทดแทนคนพิการอีก 1 คน

สิทธิประโยชน์ทางภาษีลงรายจ่าย 2 เท่า

  • กิจการใดที่ดำเนินการจ้างคนพิการ แม้ว่าจะไม่มีหน้าที่จ้าง (มีพนักงาน/ลูกจ้างไม่ถึง 100 คน)

หรือ

  • จ้างคนพิการเกินกว่าที่ กฎหมายกำหนด (100 จ้าง 1 )

กิจการนั้นมีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการนั้นมาลงรายจ่ายทางภาษีเพิ่มได้อีก 1 เท่า รวมเป็น 2 เท่า !

แต่ คนพิการนั้นต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ

เช่น บริษัทมีพนักงาน 200 คน จ้างคนพิการ 5 คน เงินเดือนคนละ 30,000 บาท ลงค่าใช้จ่าย 150,000บาท บริษัทนั้นสามารถลงค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท (150,000บาท)

ค่าใช้จ่าย หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกี่ยวกับการจ้าง เช่น เงินเดือน โบนัส โอที หรือแม้แต่เงินสมทบประกันสังคม

 

สิทธิประโยชน์ทางภาษีลงรายจ่าย 3 เท่า

ถ้ากิจการมีการจ้างคนพิการเข้ามาทำงาน โดย

  • คนพิการมีจำนวนเกินกว่า 60% ของ พนักงานลูกจ้าง

และ

  • มีระยะเวลาในการจ้างเกิน 180 วัน

กิจการมีสิทธิลงรายจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการได้อีก 1 เท่า รวม 3 เท่า !

 

กรณีที่บริษัทไม่จ้างคนพิการ และไม่ประสงค์จะจ่ายเข้ากองทุน บริษัทสามารถดำเนินการตามรูปแบบอื่นที่ กม.กำหนด (ม.35 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) ดังนี้

  • ให้สัมปทาน (การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ เช่น การให้สิทธิในลิขสิทธิ์ในการจําหน่ายสินค้า )
  • จัดสถานที่จําหน่ายสินค้าหรือบริการ (การให้สถานที่เพื่อให้คนพิการหรือ ผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ)
  • จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ
  • การฝึกงาน (การฝึกงานให้แก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในหลักสูตรที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ เพื่อให้นําไปใช้ประกอบอาชีพ )
  • จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวก (การจัดให้มีอุปกรณ์หรือ สิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่คนพิการที่ทํางานในสถานประกอบการ ให้สามารถทํางานได้ตาม ความเหมาะสม)
  • ล่ามภาษามือ
  • ให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ (การสนับสนุนด้านการเงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือ หรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการซื้อสินค้าจากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรงเพื่อให้มีอาชีพ ฝึกอาชีพ เตรียมความพร้อมในการทํางาน)บริษัทต้องทำโครงการนำเสนอต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ออกหนังสืออนุมัติให้แล้วจึงสามารถดำเนินการได้ (หากดำเนินการแล้วก็ไม่ต้องจ่ายเข้ากองทุน เพราะทำตามที่ กม.กำหนดแล้ว)

แล้ว การบริหารค่าจ้างเงินเดือน แบบไหนที่เรียกว่าเป็นธรรม? ที่พนักงานสามารถยอมรับได้ และสามารถอ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติมได้ ที่นี้


ที่มา : www.impressionconsult.com

 2767
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ถ้าเกิดทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ก็จะส่งผลให้มีความรู้สึกไม่มีแรงใจในการทำงานต่อไปเพราะกลัวทำงานไม่ได้ตามเป้าหมายเหมือนงานที่ผ่านมา จะทำอย่างไรเมื่อเราไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่องค์กรได้วางเอาไว้
2302 ผู้เข้าชม
การซื้อ ประกัน ถือเป็นอีกเครื่องมือทางการเงินหนึ่งที่สามารถบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพและชีวิตในระยะยาว และยังสามารถนำเบี้ยประกัน มาหักลดหย่อนภาษีได้ด้วย เนื่องจากรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้คนไทยทำประกันชีวิตเพื่อความมั่นคงในอนาคต
1058 ผู้เข้าชม
Talent Management หรือ ระบบการบริหารจัดการคนเก่ง เป็นเครื่องมือทางการบริหารทรัพยากรบุคคลอยางหนึ่งที่ในปัจจุบันองค์กรจํานวนมากกำลังให้ความสนใจกับการบริหารจัดการคนเก่งที่มีอยูในองค์กร หากจะกำหนดนิยามของ Talent Management ก็อาจกล่าวได้ว่า Talent Management หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และวางแผนที่มีความสอดคล้องกันในการหาแหล่งที่มา (Sourcing) กลั่นกรอง (Screening) การคัดเลือก (Selection) การนําไปใช้ (Deployment) การพัฒนา (Development) และการทําให้คงอยู่(Retention) ของทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพสูงและ สามารถทํางานได้อยางมีประสิทธิภาพสูงสุด
12865 ผู้เข้าชม
ก็ยังได้รับคำถามในแนวนี้อยู่ ก็คือ หน้าที่ในการพัฒนาพนักงานเป็นหน้าที่ของใครกันแน่ การที่จะส่งพนักงานไปอบรม หรือการที่เราจะวางแผนพัฒนาพนักงานในเรื่องใดนั้น ตกลงเป็นหน้าที่ใคร
3225 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์