ตายแล้วไปไหนไม่รู้… แต่ที่รู้ต้องไปเสียภาษี

ตายแล้วไปไหนไม่รู้… แต่ที่รู้ต้องไปเสียภาษี

ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี” หมายความว่า ถ้าตายไประหว่างปีไหน ปีนั้นก็จะกลายเป็นว่ายังต้องเสียภาษีอยู่ในชื่อของตัวเอง แต่เปลี่ยนฐานะใหม่เป็นผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี หรือพูดง่ายๆ ว่า ตายแล้วก็ต้องไปเสียภาษีอีกต่อหนึ่ง หลายคนคงเคยได้วลียอดฮิตอย่าง ‘Nothing is certain except for death and taxes.’ ของ Benjamin Franklin ที่แปลว่า ‘ไม่มีอะไรที่แน่นอนเท่าความตาย และ การจ่ายภาษี’


เราลองสมมติสถานการณ์ง่ายๆ กันก่อนครับ เช่น ถ้านายบักหนอมเป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่งที่มีรายได้เดือนละประมาณ 100,000 บาท เรียกว่าอยู่ในระดับตัวท็อปของวงการมนุษย์เงินเดือนเลยทีเดียว แถมยังมีรายได้จากการให้เช่าที่ดินอีกเดือนละ 50,000 บาทต่อเดือนจากทรัพย์สินทีได้รับจากคุณพ่อเป็นมรดกตกทอดมา


นายบักหนอมแต่งงานกับภรรยา มีลูกน้อยอยู่หนึ่งคน ทุกวันนี้ดูแลทั้งภรรยาและลูกเป็นอย่างดี โถว พ่อเทพบุตรในฝัน คนดีแบบนี้หาได้ยากจริงๆ (เหมือนชีวิตจริงพรี่หนอมเป๊ะเลยครับ)


แต่แล้วฟ้าก็เหมือนมากลั่นแกล้ง นายบักหนอมทำงานอยู่ดีๆ ทำโอที (Over Time) ดึกไปหน่อย มีเป็นอันต้องหัวใจวายล้มฟุบคาโต๊ะทำงานไป เจ้านายมาเจอตอนเช้าก็เห็นแต่ร่างไร้วิญญานของนายบักหนอมเสียแล้ว และออฟฟิศที่ว่านี้ก็จะไม่กล้ามีใครพูดประโยค “งานหนักไม่เคยฆ่าคนอีกต่อไป”


คำถามคือนายบักหนอมตายแล้วไปไหนคงไม่มีใครรู้ แต่ถ้ามาดูภาระภาษีในชีวิตของนายบักหนอมตามหลักของกฎหมายแล้วล่ะก็ เรียกได้ว่าน่าสนใจกันเลยล่ะครับ


ถ้าเราลองค้นหาคำว่า ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใน Google จะพบว่าอันดับแรกของการค้นหาคือเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งให้ความหมายของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

  1. บุคคลธรรมดา 
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล        
  3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

ข้อแรกคำว่า ‘บุคคลธรรมดา’ คนส่วนใหญ่ก็เข้าใจได้ทั้งนั้น ว่าหมายถึงคนปกติทั่วไปหรือใครก็ตามที่มีชีวิตอยู่ คนนั้นคือบุคคลธรรมดาทั้งหมดนั่นแหละ


แต่ข้อ 3 ที่เขียนว่า ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี อันนี้บอกเลยครับว่า อ่านแล้วมีสะดุ้งกันหลายคน ถ้าหากนายบักหนอมคนเมื่อตะกี้ ตายไประหว่างปีไหน ปีนั้นก็จะกลายเป็นว่ายังต้องเสียภาษีอยู่ในชื่อของตัวเองนี่แหละ แต่เปลี่ยนฐานะใหม่เป็นผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี หรือพูดง่ายๆ ว่า ตายแล้วก็ต้องไปเสียภาษีอีกต่อหนึ่งนี่แหละจ้า


เอ๊ะ!! แต่ถ้านายบักหนอมตายไป หลังจากนั้นก็ไม่ได้เงินเดือนแล้วนี่หว่า ก็แปลว่าไม่ต้องเสียภาษีใช่ไหม คำตอบคือ ไม่แน่ใจจ๊ะ! เพราะว่า หลังจากตายแล้ว ถ้าที่ดินที่ให้เช่ายังทำรายได้อยู่ แล้วเมียของนายหนอมกับลูกน้อยยังไม่ได้รับมรดกที่ดินก้อนนี้เสียที มันก็อาจจะเป็นไปได้ว่า ศพนายบักหนอมที่นอนสงบอยู่ใต้ดิน หรือ อังคารที่ลอยไปตามน้ำนั้น ยังมีภาระต้องเสียภาษีอยู่ตามข้อที่ 4 ที่เรียกว่า กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง นั่นเอง


เห็นแล้วใช่ไหมครับว่า เรื่องของภาษีนี่มันไม่ใช่เรื่องเล่นๆ มีทั้งการเสียภาษีในชื่อตัวเองปกติ ตัวเองที่ตายแล้ว และมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ซึ่งถ้าหากจัดการเรื่องภาษีได้ไม่ดี มันก็อาจจะมีปัญหาชีวิตได้เหมือนกันนะครับผม


ดังนั้น เราอย่ามีมรดกมากเลย แล้วก็พยายามทำงานเดือนชนเดือนไปดีกว่า ชีวิตจะได้มีความสุข ไม่ต้องมาทุกข์ใจเรื่องภาษี ตายไปแล้วก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายอะไรให้ยุ่งยาก แบบนี้ดีกว่าไหมน้า? แต่อย่างไรเราควรรู้เรื่องของ สิทธิและหน้าที่ของผู้เสียภาษี เพื่อจะได้ทราบสิทธิและหน้าที่ต่างๆของผู้ต้องเสียภาษีและปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย


ที่มา : www.scb.co.th.

 1852
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

HR (Human Resource) ตำแหน่งที่ต้องเจอทุกคน ต้องแก้ทุกปัญหา เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีความรู้รอบด้าน เอาทั้งศาสตร์และศิลป์มาปรับใช้กับทุกสถานการณ์ที่ต้องเจอ ทำให้องค์กรหลาย ๆ แห่งมักจะมีตำแหน่งนี้อยู่ด้วยเสมอเพื่อจัดการความเรียบร้อยให้องค์กร
1537 ผู้เข้าชม
สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเข้าอยู่ในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องว่าจ้างให้ทำของหรือใช้บริการ ยกตัวอย่าง จ้างฟรีแลนซ์ (บุคคลทั่วไป) ให้ทำเว็บไซต์ ออกแบบกราฟิก จ้างช่างมาซ่อมแอร์ หรือการว่าจ้างบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี บริษัทออกแบบโฆษณา หรือค่าบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันภัยสินค้า ค่าประกันขนส่ง ค่าเช่าออฟฟิศ ฯลฯ รายจ่ายเหล่านี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจะมีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ของเงินค่าจ้างของผู้ให้บริการออกมาด้วย โดยที่เงินนี้จะไม่ใช่เงินของเรา แต่เป็นเงินที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร
6051 ผู้เข้าชม
นื่องจากความเชื่อข้างต้น ก็เลยทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้เงิน เป็นเครื่องมือในการสร้างแรงจูงใจ โดยเริ่มต้นจากเรื่องของเงินเดือนเป็นอันดับแรก ให้เงินเดือนเพราะต้องการให้พนักสร้างผลงานให้กับองค์กร จากนั้นก็ต่อด้วยเรื่องของการให้คอมมิชชั่นสำหรับพนักงานขาย ใครที่ขายได้มาก ก็ยิ่งได้เงินมากขึ้น ระยะหลังๆ มานี้ก็เริ่มมีสิ่งที่เรียกกว่า pay for performance เกิดขึ้น โดยเอาผลงานของพนักงานมาเป็นพื้นฐานและผูกด้วยระบบการจ่ายค่าจ้างที่เป็นไปตามผลงาน ใครทำงานได้ดี ก็ได้รับเงินรางวัลที่สูงกว่าคนที่ทำผลงานได้ไม่ดีพอ โดยบางแห่งก็กำหนดเป็นเรื่องของโบนัสตามผลงาน คำถามก็คือ เงินรางวัลที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เราสามารถใช้ในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในระยะยาวได้จริงๆ หรือ
1180 ผู้เข้าชม
เศรษฐกิจขาลงอย่างนี้ ตัวเลขคนว่างงานพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน ความยากในการหางานใหม่ก็ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว เราเลยรีบหยิบเทคนิคหางานให้รุ่งมาฝากกันโดยพลัน
792 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์