• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • สวัสดิการพนักงานที่ต้อง-ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สวัสดิการพนักงานที่ต้อง-ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • สวัสดิการพนักงานที่ต้อง-ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

สวัสดิการพนักงานที่ต้อง-ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หลาย ๆ คนคงทราบดีอยู่แล้วว่า สวัสดิการพนักงาน นั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ทางบริษัท หรือนายจ้างมอบให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างทุก ๆ คน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของลูกจ้างและเพื่อให้ลูกจ้างมีสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานที่ดีขึ้นก็ตาม แต่สิ่งที่ได้รับมาเหล่านั้นก็ต้องถูกนำไปคิดคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินของเราในการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในรอบปีบัญชีนั้น ๆ เว้นแต่สวัสดิการต่าง ๆ ที่เราได้รับ จะถูกจัดอยู่ในข้อบัญญัติตามกฎหมายให้มีการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่จะมีสวัสดิการตัวใดกันที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมาคำนวณภาษี ค่าคลอดบุตรถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ ค่าเบี้ยเลี้ยงทางภาษี ถือเป็นสวัสดิการที่ได้รับการยกเว้นหรือเปล่า และค่าเดินทางเหมาจ่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ

สำหรับสิ่งที่จะถือว่าเป็น สวัสดิการ (welfare) ได้นั้น จะต้องเป็นสิ่งที่ทางบริษัทมีระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ออกมาให้แก่ลูกจ้าง โดยไม่เลือกปฏิบัติ ลูกจ้างของบริษัทต้องได้รับทุกคนไม่ว่าจะเท่าเทียมหรือไม่ก็ตาม และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของธุรกิจ ซึ่งหากสิ่งที่นายจ้างมอบให้ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายข้างต้นนี้ จะถือว่าเป็นประโยชน์เพิ่มเติมที่ลูกจ้างได้รับ โดยหมายถึง ประโยชน์, ทรัพย์, สิทธิ, หรือบริการใด ๆ ที่นายจ้างได้ให้แก่พนักงานอันเนื่องมากจากการทำงานในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งประโยชน์เพิ่มนี้อาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานด้วย

          ทั้งนี้ ต้องกลับมาดูกันก่อนว่า เหตุใด สวัสดิการ ที่เราได้รับจากบริษัท จึงถูกจัดให้เป็นรายได้พึงประเมินซึ่งจะต้องคำ มาคำนวณภาษี โดยตามประมวลกฎหมายรัษฎากร หรือกฎหมายภาษีอากร มาตราที่ 39 ได้ระบุไว้ว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายความว่า เงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสียภาษี ให้หมายความรวมตลอดถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน โดยเราสามารถพิจารณาได้จากประเภทของเงินได้พึงประเมินจากประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตราที่ 40 (1) แห่ง ซึ่งระบุว่า เงินได้พึงประเมิน คือ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้ อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

          ดังนั้น จะเห็นได้ว่าเงินได้พึงประเมินจากการจ้างแรงงานตามกฎหมายภาษีอากรดังกล่าว ไม่ว่าลูกจ้างจะได้รับเป็นตัวเงิน อาทิ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด หรือบำเหน็จบำนาญ หรือได้รับประโยชน์เพิ่มในรูปสวัสดิการจากนายจ้าง เช่น เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่จ่ายและชำระเงิน ทรัพย์ หรือประโยชน์ใด ๆ ที่ลูกจ้างได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน ลูกจ้างก็ต้องนำทั้งหมดที่ได้รับมาคิดเป็นรายได้พึงประเมิน

          แต่ใช่ว่าสวัสดิการทุกอย่างที่เราได้รับจากนายจ้าง จะถือเป็นรายได้พึงประเมินที่ต้องนำมาคำนวณเสียภาษีทั้งหมด เพราะในบทบัญญัติของกฎหมายยังได้มีการกำหนดในส่วนของเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีไว้ด้วย

สวัสดิการและประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับจากทางบริษัทที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเสียภาษี มีดังนี้

   1. ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พัก ในการปฏิบัติงานนอกสำนักงานเป็นครั้งคราว ตามคำสั่งของนายจ้าง โดยไม่ใช่ตำแหน่งหน้าที่ประจำ
   2. ค่าพาหนะและเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ซึ่งหมายรวมถึงการช่วยค่าน้ำมัน ค่าพาหนะ และค่าทางด่วน เมื่อนำรถมาใช้ในกิจการของนายจ้าง
   3. รถรับ-ส่งพนักงาน ที่ทางบริษัทมีการกำหนดเส้นทางและจุดรับ-ส่งไว้ไว้เฉพาะ โดยที่ลูกจ้างคนใดก็สามารถเข้ามาใช้บริการได้
   4. เงินค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างเดินทางจากต่างถิ่นเพื่อมาเข้ารับงานเป็นครั้งแรก หรือในการกลับถิ่นเดิมเมื่อการจ้างได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ข้อยกเว้นนี้ มิให้รวมถึงเงินค่าเดินทางที่ลูกจ้างได้รับในการกลับถิ่นเดิม และในการเข้ารับงานของนายจ้างเดิมภายใน 365 วัน นับแต่วันที่การจ้างครั้งก่อนได้สิ้นสุดลง
   5. ค่ารักษาพยาบาล
   6. ค่าเบี้ยประกันภัย ทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย

   7. ค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
   8. เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น

   9. ค่าช่วยเหลืองานสมรส
 10. ค่าคลอดบุตร
 11. ค่าฌาปนกิจศพ ลูกจ้างที่เสียชีวิต

 12. ทุนการศึกษาแก่พนักงาน
 13. จัดฝึกอบรมพนักงาน เพื่อกิจการของนายจ้างโดยตรง

 14. ค่าสมาชิกสโมสรกีฬา หรือสโมสรเพื่อการพักผ่อน
 15. เครื่องแบบพนักงาน อันประกอบด้วย 2 ชุด เสื้อนอก 1 ตัว
 16. การจัดงานเลี้ยงในวันปีใหม่ ตามโอกาสเพื่อขนบธรรมเนียมประเพณี
 17. เงินเดือนหรือค่าจ้างที่คนประจำเรือได้รับเนื่องจากการปฏิบัติงานบนเรือไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวีที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

ตัวอย่างสวัสดิการอื่น ๆ ที่ลูกจ้างต้องนำมาคำนวณรวมในการเสียภาษี

   1. ให้พนักงานกู้ยืมเงิน
   2. เบี้ยขยัน
   3. อยู่บ้านนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า หรือนายจ้างชำระค่าห้องให้
   4. บริษัทออกภาษีแทนลูกจ้าง
   5. บริการอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ชา กาแฟ ยารักษาโรค ที่ทางบริษัทจัดไว้ให้
   6. พนักงานซื้อหุ้น/แลกหุ้น
   7. ช่วยค่าเล่าเรียนบุตรพนักงาน
   8. การจัดกีฬาสี รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรง


ที่มา : money.kapook.com

 22653
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

การบริหารทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันนี้ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จตามพันธกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งก็คือ ทรัพยากรบุคคลขององค์กรนั่นเอง อย่างไรก็ดี เรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับองค์กรต่างๆ ต่างก็ให้ความสำคัญที่ไม่ค่อยเท่ากันเท่าไหร่ บางองค์กรก็ให้ความสำคัญในเรื่องของคนเป็นอย่างมาก บางองค์กรก็ให้ความสำคัญเรื่องคนเป็นเรื่องๆ ไป และบางองค์กรก็ไม่ให้ความสำคัญอะไรเลย
1278 ผู้เข้าชม
ถ้ามีใครสักคนพูดขึ้นมาว่า “อยากวางแผนลดหย่อนภาษี” เชื่อเลยครับว่าต้องมีคนแนะนำ “ประกันชีวิต” ตามมาทันทีเป็นตัวเลือกแรกๆ แถมบางคนมักจะตบท้ายด้วยประโยคว่า เลือกประกันชีวิตนอกจากได้ลดหย่อนภาษีแล้ว เงินต้นยังไม่หาย แถมได้รับผลตอบแทนอีกด้วยนะ
894 ผู้เข้าชม
ปีหน้านี้ (2563) พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ แต่การจัดเก็บภาษีที่จริงๆ จะล่าช้าออกไป 4 เดือน จากเดิมที่ประชาชนต้องชำระภาษี ภายในเดือน เม.ย. 63 เลื่อนไปเป็นเดือน ส.ค. 63 เพราะกฎหมายลูกอีก 8 ฉบับ ยังไม่แล้วเสร็จ
2072 ผู้เข้าชม
ผู้ประกันตนที่เกษียณจากการทำงาน ควรจะวางแผนและดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ “สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ” คุ้มค่ามากที่สุด ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง
2876 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์