การประเมินผลงานแบบ 4.0

การประเมินผลงานแบบ 4.0



ใกล้สิ้นปีแล้ว  เรื่องการประเมินผลการทำงานของพนักงานว่า บริษัทต่าง ๆ ในโลกตอนนี้เขาทำอย่างไรกันบ้าง อะไรเป็นเทรนด์ยอดฮิต แนวโน้มตอนนี้จะมีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากจากระบบการประเมินแบบปัจจุบันคือ การให้คะแนนตาม KPIs และไปลิงก์กับการให้โบนัส ขึ้นเงินเดือนอย่างไร

เพราะด้วยเหตุผลที่ว่าการทำแบบนี้ไม่เหมาะกับ “จริต” พนักงานส่วนมาก (โดยเฉพาะในอเมริกา) เนื่องจากพนักงานส่วนมากในบริษัทต่าง ๆ อายุน้อยลงเรื่อย ๆ (หรือคือ เจน Y ที่เราเรียกกันนั่นเอง) ความต้องการ ความชอบ หรือจริตของเขาเปลี่ยนแปลงไปค่ะ พวกเขาชอบการประเมินที่เห็นผลเร็ว ๆ ยิ่ง real time ยิ่งดี

พวกเขาต้องการการประเมินผลที่ช่วยเขาในการพัฒนาตัวเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา (มากกว่าการขึ้นเงินเดือนให้โบนัสอย่างเดียว) เมื่อความต้องการของพนักงานส่วนใหญ่เปลี่ยนไประบบประเมินผลต้องเปลี่ยนตาม (เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานให้มากที่สุด) ลองมาดูกันว่าเทรนด์ในอเมริกาตอนนี้มีเรื่องอะไรบ้าง

1.การประเมินจะเน้นการให้ ongoing Feedback หมายถึง การให้ Feedback ตลอดเวลาไม่ต้องรอให้สิ้นปีค่อยให้ Feedback การให้ Feedback ตลอดเวลานี้ถูกจริตพวกเจนวายมาก เพราะพวกเขาชอบที่จะรับทราบข้อจำกัด (หรือข้อดี) แล้วนำมาพัฒนาปรับปรุงตลอดเวลา

2.การประเมินผลจะไม่เน้นกับการขึ้นเงินเดือน โบนัสอย่างที่เราคุ้นเคยกันแล้ว เนื่องจากมีผลการวิจัยบอกว่า การที่เราสื่อสารเรื่องผลการประเมินสิ้นปี ในเรื่องการให้รางวัลพร้อมกับบอกจุดที่เขาต้องแก้ไขปรับปรุงพร้อม ๆ กันมีผลเสียมากกว่าผลดี เพราะพนักงานมักให้ความสนใจเฉพาะเรื่องเงิน และเรื่องเงินไม่เคยเป็นที่พอใจของพนักงานไม่ว่าได้มากแค่ไหน (555 หลักจิตวิทยานะคะ)

ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่พนักงานจะปิดกั้นการรับฟังเรื่องการพัฒนาตัวเอง (หลังจากได้รับฟังเรื่องเงินแล้ว) และทำให้การให้ Feedback เรื่องการพัฒนาไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เดี๋ยวนี้หลาย ๆ บริษัทเริ่มปรับวิธีการ โดยแยกการให้ Feedback ออกจากการสื่อสารเรื่องเงิน ตัวอย่างเช่น หลาย ๆ บริษัทจะมีการให้ ongoing Feedback ทุกไตรมาส แล้วมีการสื่อสารเรื่องเงินเฉพาะสิ้นปี เพื่อให้พนักงานมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และไม่ต่อต้านการพัฒนาเมื่อได้ฟังเรื่องเงินค่ะ

3.การประเมินโดยไม่เน้นการให้คะแนนตาม KPIs (ratingless) เริ่มมีการใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยผูกให้สัมพันธ์กับการให้ ongoing Feedback อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องมีการประเมินให้คะแนน แต่เน้นที่การให้ Feedback การสื่อสารพูดคุยกันเป็นประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากกว่า

4.การประเมินโดยวิธี 360 เป็นที่นิยมมากเรียกได้ว่า เกือบทุกบริษัทต้องใช้วิธีการนี้ แต่ที่น่าสังเกตคือ การประเมินแบบ peer review (คือการประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน) จะเป็นการประเมินที่มีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็นมาปกติ การประเมิน 360 จะเน้นผลการประเมินของนายเป็นหลัก เนื่องจากมีความคิดว่าการประเมินโดยเพื่อนร่วมงานนั้นอาจไม่ตรง

เนื่องจากเพื่อนร่วมงานไม่ได้ทำงานใกล้ชิดเท่าหัวหน้างานจะประเมินได้ไม่ดีพอ แต่ในมุมมองใหม่ การประเมินโดยเพื่อนร่วมงานมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันวัฒนธรรมองค์กรเปลี่ยนไป เราจะเน้นการทำงานที่สอดประสานกัน (collabora-tive) วัฒนธรรมที่คล่องตัว (agile) พยายามกำจัดการทำงานแบบตัวใครตัวมัน (silo) การที่จะปรับวัฒนธรรมดังกล่าวได้ การยอมรับจากเพื่อนร่วมงานสำคัญมาก เพราะถ้าทำงานเก่งแต่ไม่มีใครยอมรับ คงไม่ใช่คนที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการ

มีตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ที่ Google ให้ความสำคัญกับ peer review มากถึงขนาดที่ว่าผลการประเมินของเพื่อนร่วมงานไม่ดี จะไม่ promote หรือได้รับโบนัสดี ๆ เลยล่ะคะ Google บอกว่า…ไม่ว่านายคุณจะรักคุณขนาดไหน แต่ถ้าเพื่อนร่วมงานไม่คิดอย่างนั้น เราก็ยังคิดว่าคุณก็ยังต้องปรับปรุงอยู่ดี

หรือมีอีกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ บางบริษัทจัดสรร budget เพื่อให้เพื่อนร่วมงานให้โบนัสแก่เพื่อนร่วมงานที่คิดว่าทำงานดีได้ (แทนที่จะเป็นเฉพาะหัวหน้างานเท่านั้น) ตรงนี้ทำให้เกิดการทำงานอย่างสอดประสานกันมากขึ้น และเป็นผลต่อการมีวัฒนธรรมแบบ collaboration ด้วย

5.การใช้วิธีการ OKR บริษัทต่าง ๆ ในอเมริกาหันมาใช้ OKR มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสอดคล้อง และสนับสนุนการให้ ongoing Feedback เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเหมาะกับจริตคนรุ่นใหม่

6.การให้โบนัสเฉพาะที่ระดับองค์กรเท่านั้น เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกัน เพราะการที่เราให้โบนัสไปถึงระดับหน่วยงาน หรือบุคคลนั้นมีข้อจำกัดคือ ทำให้เกิดการทำงานแบบ silo ต่างคนต่างทำ (เพราะต้องการให้ได้ตามเป้าของตัวเองเท่านั้น) แต่มีข้อถกเถียงว่าถ้าให้โบนัสในระดับองค์กรอย่างเดียว จะทำให้เกิดพวกกาฝาก กินแรงเพื่อน เกาะเพื่อนเอาโบนัสหรือไม่ เรื่องนี้ต้องดูให้เหมาะกับความพร้อมของคนและวัฒนธรรมองค์กรด้วยค่ะ

จากที่สรุปมาข้างต้น ดิฉันไม่ได้บอกนะคะว่าเราต้องนำมาใช้กับองค์กรของเราทั้งหมด ในความเห็นส่วนตัวสิ่งสำคัญที่สุดคือความพร้อมของคนของเราค่ะ ในอเมริกาอาจใช้ได้เหมาะสม แต่ในประเทศเราอาจไม่เหมาะเพราะคนเราไม่พร้อม วัฒนธรรมไม่พร้อมก็ได้


ดังนั้น ต้องพิจารณานำมาปรับใช้เรื่องที่เหมาะสม ในความเห็นดิฉันคิดว่าเรื่องนี้น่านำมาปรับใช้ได้ทันทีเลยคือ

-การเน้นการให้ ongoing Feedback เพราะเรื่องนี้คือการปรับพฤติกรรมของการประเมินผลเลยโดยเน้นการให้ Feedback เพื่อพัฒนา

-การแยกการสื่อสารเรื่องการให้ Feedback ออกจากเรื่องเงิน โดยมีการให้ ongoing Feedback ทุกไตรมาส และสื่อสารเรื่องเงินเฉพาะสิ้นปี จะทำให้การสื่อสารเรื่อง Feedback เป็นการพัฒนาจริง ๆ

-การให้ความสำคัญกับเรื่องการประเมินโดยเพื่อนร่วมงานมากขึ้น (peer review) ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ในเมืองไทยพยายามลบวัฒนธรรมแบบ silo ต่างคนต่างทำให้หมดไป การให้ความสำคัญกับการยอมรับของเพื่อนร่วมงานให้มากขึ้นจะช่วยได้ แต่ต้องระวังที่จะทำให้เหมาะสมกับความพร้อมของคนของเราด้วยนะคะ (ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นให้เพื่อนประเมินแล้วมี bias ต่อกันอีก)

-การให้โบนัสระดับองค์กร ตรงนี้อาจต้องปรับใช้โดยการกำหนดเปอร์เซ็นต์การให้โบนัสให้เน้นที่ระดับองค์กรมาก ๆ ระดับหน่วยงานน้อยลงโดยไม่ต้องมีระดับบุคคลเลย

-อีกเรื่องที่ไม่มีในสรุปแต่ดิฉันอยากเพิ่มเข้ามาคือ เรื่องการใช้เทคนิควิธีการ calibration เข้ามาช่วยในการสรุปผลการประเมินเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมให้มากที่สุด การ calibration ที่เหมาะสมจะช่วยขจัดผลการประเมินที่เกิดจาก
bias ได้มากทีเดียวค่ะ



ที่มา: prachachat

 2960
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

หากเปรียบง่ายๆ คือ ภาษีเหมือนกับค่าธรรมเนียมค่าเช่าที่สมาชิกทักคนในประเทศจะต้องจ่ายเมื่อใช้ทรัพย์ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทห้างร้านต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในประเทศหรือเป็นพนักงาน ประชาชนทั่วไปที่ใช้ถนน รถไฟ สะพาน สาธารณูปโภคต่างๆ ที่อยู่ในประเทศไทย ซึ่งหากสมาชิกทุกคนร่วมกันใช้ทรัพยากรหรือสาธารณูปโภคนั้นๆ แล้วก็ต้องช่วยกันจ่ายเงินบำรุงทรัพยากรนั้นสามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไปในอนาคต หรือนำเงินที่เรียกเก็บแต่ละคนในแต่ละปีนำไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ด้วยเหตุนี้ ภาษีจึงมีความสำคัญกับประเทศอย่างมาก
38827 ผู้เข้าชม
สิทธิและหน้าที่ของผู้เสียภาษี สำหรับผู้เสียภาษีทุกท่านการรู้สิทธิ์และหน้าที่ของตัวเองในเรื่องของภาษีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เราทราบถึงสิทธิ์ต่างๆ ด้านภาษีและหน้าที่ของเราที่ต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายด้านภาษี เพื่อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเอง
2706 ผู้เข้าชม
ปัญหาวุ่น ๆ ของการประสานงาน ไม่มีใครที่ไม่เคยเจอปัญหาในการติดต่อประสานงาน แม้แต่ตัวอลิสเองก็ยังต้องเจอะเจอกับเรื่องวุ่น ๆ ในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นเลย แต่สิ่งสำคัญก็คือ จะเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างไร พบว่าโดยส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดต่อประสานงานมักจะเป็นเรื่องของการบริหารคน เราไม่สามารถบังคับให้ใครทำอะไรตามใจเราได้ คนเป็นเรื่องที่เราควบคุมค่อนข้างลำบาก เรื่องหนักใจอยู่ที่ว่า เราต้องไปติดต่อประสานงานกับคนที่คุยกันแล้วจูนกันไม่ติด พูดกันไม่รู้เรื่อง คิดกันคนละอย่าง และที่ซ้ำร้ายหากคุณต้องไปติดต่อประสานงานกับคนที่ไม่ถูกชะตากัน รับรองว่าใครก็ใคร จะต้องคิดมาก กลุ้มใจ หรือมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาสารพัด
9678 ผู้เข้าชม
นายปรี๊ดค้นเจอบทความชิ้นหนึ่งของผู้เขียน ชื่อ นาเดีย กูดแมน จากเว็บไซต์ ideas.ted.com ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ ดร.เคลลี่ แมคกอนิกัล (Kelly McGonigal) อาจารย์สาขาจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนด์ฟอร์ด ผู้เขียนหนังสือ “The Willpower Instinct” ซึ่งถูกแปลมากว่า 10 ภาษาและประสบความสำเร็จมากในประเทศญี่ปุ่น เป็นหนังสือสไตล์ฮาวทู (how to) เผื่อใช้จัดการวินัยในตนเอง บนฐานคิดและหลักฐานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเอง
1270 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์