HR ยุคนี้ต้องเป็นอย่างไร

HR ยุคนี้ต้องเป็นอย่างไร




HR สำหรับคุณคืออะไร

หลาย ๆ คนน่าจะมีคำตอบอยู่ในใจไปในทิศทางเดียวกัน งาน HR คือแผนกที่ดูแลเกี่ยวกับเรื่องพนักงานของบริษัท รับพนักงานเข้า ดูแลพนักงานที่อยู่ ทำเรื่องให้คนออก ดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคน ภาพต่าง ๆ เหล่านั้นอาจจะเป็นภาพที่ HR สร้างให้ตัวเองมาโดยตลอด แต่ในวันนี้ HR ยังควรรักษาเพียงภาพนี้เอาไว้อย่างเหนียวแน่นหรือไม่ ด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงพนักงานที่เริ่มเปลี่ยนจากรุ่นสู่รุ่น และเทคโนโลยีที่เข้ามาทำให้รูปแบบของการทำงานต่างไปจากเดิม หาก HR  ยังคงอยู่เฉย ๆ โดยไม่ปรับตัว อาจส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพขององค์กรโดยรวมได้อย่างไม่คาดคิด

 

HR ต้องรู้ธุรกิจของบริษัท

ทุกบริษัทต่างก็ต้องการผลกำไรที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนั่นย่อมเป็นผลมาจากประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นของพนักงานทุกคน HR มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในจุดนี้เพราะเป็นผู้รับผิดชอบในการคัดเลือกพนักงานและบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลโดยตรง หากคุณไม่รู้เลยว่าธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างไร คุณก็เพียงแต่จะรับฟังความต้องการของแผนกต่าง ๆ และจัดหาคนหรือดำเนินงานไปตามนั้นแบบไม่รู้ตื้นลึกหนาบาง จะดีกว่าหรือไม่ หาก HR สามารถทำการวิเคราะห์และแนะนำได้ว่า จากรูปแบบธุรกิจและสิ่งที่พวกเขาต้องการนั้น คุณสามารถนำเสนออะไรให้ได้บ้าง HR ไม่ควรเป็นแค่ฝ่ายบุคคลที่ดูแลแต่งานเอกสารอีกต่อไป แต่ควรวางตัวเป็นเหมือนหนึ่งในผู้ร่วมธุรกิจ (strategic partner) ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อผลประกอบการของบริษัทเช่นกัน ต่างไปก็เพียงคุณบริหารผ่านทางบุคคลและการวางแผนพัฒนาพวกเขาเหล่านั้น ทุกคนในบริษัทคือลูกค้าและผู้ร่วมธุรกิจที่คุณต้องดูแลเป็นอย่างดี

 

HR ต้องคิดนอกกรอบบ้าง

เมื่อโลกเปลี่ยน พนักงานที่ทำงานเปลี่ยนรุ่น รูปแบบของงานก็เปลี่ยน ดังนั้น HR เองก็ควรจะเริ่มมองหาสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพขององค์กรให้ก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงนี้ไปได้อย่างราบรื่น จะเพิ่มเติมแผนสวัสดิการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ ที่เหมาะสมกับพนักงานหมู่มากของบริษัทในตอนนี้ได้บ้าง

ดูตัวอย่างจากบริษัทชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นการจัดที่ทำงานให้มีพื้นที่สำหรับเล่นและพักผ่อน มีขนมและของขบเคี้ยวให้ฟรีเพื่อเอื้ออำนวยต่อความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานหรือมีนโยบายการรับพนักงานโดยดูจากความสามารถเป็นหลัก ไม่ใช่ใบปริญญา

บริษัทต่าง ๆ เริ่มมีนโยบายการทำงานที่ยืดหยุ่นขึ้น เพิ่มสวัสดิการพิเศษดูแลกลุ่มพนักงานที่มีคุณภาพแต่มีอัตราการลาออกสูง ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มคุณแม่ ก็มีบริษัทหนึ่งในไทยเองได้เตรียมเพิ่มสวัสดิการลาคลอด 6 เดือนโดยยังจ่ายค่าจ้างในอัตราปกติซึ่งจะเริ่มต้นในปี 2559 รูปแบบเหล่านี้กำลังได้รับความสนใจในแวดวง HR ทั้งไทยและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีผลวิจัยและบทความต่าง ๆ ออกมามากมายในระยะหลังนี้ว่าปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานคือสภาพจิตใจที่มีความสุขของพนักงาน  อย่าลืมว่าประชากรกลุ่มที่รักการทำงานเป็นชีวิตจิตใจอย่าง Baby boomer กำลังค่อย ๆ ทยอยเกษียณอายุออกไป พนักงานรุ่นใหม่อย่าง Gen X และ Gen Y ที่กำลังขยายตัวขึ้นมาเป็นประชากรหลักในบริษัทต่างก็ให้ความสำคัญในเรื่องความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวเป็นอย่างมาก

ดังนั้น HR เองควรมีการเก็บข้อมูล สถิติต่าง ๆ เพื่อใช้วิเคราะห์ วางแผนและปรับปรุงนโยบายอย่างต่อเนื่องและสร้างสรรค์เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที

 

HR ต้องทันเหตุการณ์บ้านเมือง

จริงอยู่ว่า HR เป็นงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลภายในบริษัท แต่ถ้า HR ปิดหูปิดตา ไม่ลองมองโลกภายนอกบ้างว่ามีอะไรใหม่เกิดขึ้นในสังคมหรือในแง่เศรษฐกิจแล้ว ก็อาจทำให้บริษัทพลาดอะไรหลาย ๆ อย่างได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นเรื่อง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ที่ฟังดูเหมือนจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับ HR มากนัก แต่กลับสามารถส่งผลต่อเรื่องแรงงานได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแนวโน้มการโยกย้ายของแรงงานฝีมือดีที่เป็นที่ต้องการในตลาดอาเซียน HR เองอาจจะต้องกลับมามองโครงสร้างสวัสดิการและผลตอบแทนของบริษัทบ้างว่ายังมีความสามารถที่จะแข่งขันกับทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดแรงงานอาเซียนอยู่หรือไม่ หรืออาจจะต้องมีการเตรียมนโยบายเพื่อรับมือความหลากหลายทางเชื้อชาติของแรงงานที่กำลังจะเพิ่มขึ้นเอาไว้บ้าง

 

HR ต้องเพิ่มคุณค่าในตัวเอง

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด อย่าลืมว่าพนักงาน HR เองก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่คุณต้องดูแล หากผู้บริหาร HR  มุ่งมั่นที่จะดูแลคนทั้งองค์กรแต่ลืมพัฒนาบุคคลากรของตัวเองแล้วเป้าหมายก็คงจะไม่สำเร็จได้โดยง่าย พนักงาน HR ต้องได้รับการพัฒนาไม่ต่างจากพนักงานคนอื่น ๆ เช่นกัน และควรจะต้องได้รับการดูแลก่อนเป็นอันดับแรกเสียด้วย ยิ่งคน HR มีความสามารถมากเท่าไร ก็จะยิ่งสามารถดูแลและพัฒนาต่อยอดพนักงานคนอื่น ๆ ได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น นอกจากที่จะต้องเพิ่มความรู้ด้านธุรกิจของบริษัทให้ตัวเองแล้ว พนักงาน HR ต้องไม่ทิ้งความรู้เรื่องงานบริหารทรัพยากรบุคคล และควรเสริมสร้างทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยเพิ่มความน่าสนใจ ความน่าเชื่อถือแก่ตนเองให้มากขึ้นอีกด้วย

 

แท้จริงแล้ว หน้าที่หลักของ HR ในยุคนี้ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปนัก แต่สิ่งที่ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงคือทัศนคติในการทำงานที่มี แทนที่จะรอเป็นฝ่ายรับและตอบสนองไปตามข้อมูลจากแผนกอื่น ๆ HR ในวันนี้ควรดำเนินการในเชิงรุกให้มากขึ้น ทั้งการพัฒนาตัวเอง ทั้งการศึกษา เก็บข้อมูล ทำการวิเคราะห์และนำเสนอแก่ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จริงอยู่ สิ่งที่เราเคยทำกันมาในอดีตอาจเคยให้ผลลัพธ์ที่ดีมาโดยตลอด แต่ในวันนี้ปัจจัยต่าง ๆเปลี่ยนแปลงไปแล้วไม่น้อย ดังนั้น HR  จึงมีหน้าที่ต้องเพิ่มทางเลือกให้องค์กรด้วยการพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดยั้งเช่นกันค่ะ


ที่มา: JobsDB

 1005
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

พูดกันอยู่บ่อย ๆ ว่า HR ต้องเป็น Business Partner แล้วจะต้องออกแบบความคิด (Design Thinking) HR อย่างไรถึงจะเป็น Business Partner ล่ะครับ วันนี้เราลองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบ สบาย ๆ จาก Case Study ที่ผมเข้าไปให้คำปรึกษา ในหลายองค์กรเลยขอนำมาแชร์นะครับ
2262 ผู้เข้าชม
วันนี้เราทำงานมากไปหรือเปล่า เรามีอะไรที่อยากทำในวันหยุดอีกหรือไม่ หรืออยากพักผ่อนต่ออีกสักหน่อย แล้วถ้าหากเราได้วันหยุดเพิ่มอีกหนึ่งวันล่ะจะดีไหม หลายคนอาจตั้งคำถามเหล่านี้ขึ้นในใจแบบเงียบ ๆ
3241 ผู้เข้าชม
คนที่เพิ่งทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือทำงานประจำควบคู่กับการขายของออนไลน์มักเจอปัญหาเรื่องการเสียภาษี ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาษีอะไรบ้างที่ต้องจ่าย และมีเอกสารอะไรที่ต้องเก็บบ้าง
3416 ผู้เข้าชม
เอสซีจี ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากตระหนักอยู่เสมอว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เริ่มตั้งแต่การสรรหาผู้ที่เป็นคนเก่งและดีเข้ามาร่วมงาน โดยจัดโครงการ “Drawing Your Career with SCG Career Camp” เพื่อจูงใจผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทยให้มาทำงานกับบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นการสรรหาบุคลากรในเชิงรุก นอกจากนี้ยังมีโครงการ “Top Ten University Recruitment” เพื่อสรรหาผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยท็อป 10 ในสหรัฐอเมริกาหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำในยุโรปอีกด้วย การพัฒนาบุคลากรของเอสซีจีจะดำเนินการโดยการให้ทุนการศึกษาและการอบรม โดยการอบรมนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Business Knowledge และ Leadership Skills ซึ่งทางเอสซีจีได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 0.19 ของรายได้ของบริษัทในปี 2550 สำหรับผู้ที่ผ่านหลักสูตรทั้งหมดแล้วและได้ขึ้นเป็นผู้บริหาร ทางเอสซีจีได้จัดหลักสูตรอบรมเพิ่มเติมได้แก่ Advance Management Program (AMP) และ Executive Development Program (EDP) โดยหลักสูตรแรกเอสซีจีร่วมมือกับ ฮาวาร์ด บิสสิเนสท สคูล และวาร์ตัน บิสสิเนส สคูล ส่วนหลักสูตร EDP ร่วมมือกับ โคลัมเบีย บิสสิเนส สคูล ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับฝึกอบรมผู้บริหารนี้จะแยกอิสระออกจากงบพัฒนาบุคคลหลัก
27382 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์