10 ข้อที่มือใหม่ยื่นภาษีต้องระวังไว้ให้ดี

10 ข้อที่มือใหม่ยื่นภาษีต้องระวังไว้ให้ดี

10 ข้อที่มือใหม่ยื่นภาษีทุกคนควรรู้ เพื่อที่จะได้ระวังและไม่มีปัญหาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รามาดูกันเลยดีกว่าว่า 10 ข้อควรระวังที่ว่านี้มีอะไรบ้าง

1. มีรายได้ต้องเอามาคำนวณภาษี 

หลายๆคนมีรายได้ครับ แต่เข้าใจผิดไปว่า การทำงานส่วนตัว ฟรีแลนซ์ ธุรกิจขายของออนไลน์ หรืองานอะไรก็ได้ที่ทำไปนั้น ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งความเป็นจริงนั้นคือ มีรายได้ = เสียภาษี (ยกเว้นว่าจะเป็นรายได้ที่ยกเว้นตามกฎหมาย) ดังนั้น อันดับแรกก่อนจะยื่นภาษี ขอให้ทำใจเก็บรวบรวมรายได้ทั้งปีที่ผ่านมาไว้ให้พร้อมเลยครับ


2. ถูกหักภาษีไว้ไม่ได้แปลว่าเสียภาษีแล้ว 

เรื่องนี้ก็เขียนไว้หลายครั้งครับ แต่ขอสรุปสั้นๆอีกครั้งว่า การถูกหักภาษีไว้ คือ การจ่ายภาษีล่วงหน้าเฉยๆ ซึ่งเรามีหน้าที่ต้องเอารายได้ที่ถูกหักภาษีไว้ทั้งหมดนี้มายื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกทีหนึ่งครับผม


3. ออกจากงานระหว่างปีก็ต้องเสียภาษีนะ 

ตรงนี้อยากบอกตังๆว่า ออกจากงานแล้วไม่มีรายได้ แต่เรายังคงต้องเอารายได้ที่ได้รับในระหว่างปีมาเสียภาษีอยู่ดีนะครับ อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจไปครับผม ส่วนใครที่ได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกมาก็อย่าลืมเอามาคำนวณด้วยนะคร้าบ 


4. ไม่ยื่นภาษีก็ไม่มีใครรู้ 

ข้อนี้ชอบมีคนถามมารัวๆ ว่าถ้าไม่ยื่นภาษีจะมีใครรู้ไหม คำตอบคือ ไม่รู้ครับ หมายถึงพี่หนอมเองนะที่ไม่รู้ ส่วนสรรพากรจะรู้ไหมต้องไปเสี่ยงดวงเอาครับ (ผ่างงงง) อะฮ่า แต่บอกได้แค่ว่า ถ้าถูกหักภาษีไว้ระหว่างปี แปลได้เลยว่า พี่สรรพากรมีข้อมูลของคุณแล้วครับ ดังนั้นอย่าทำผิดกฎหมายกันเลยนะคร้าบ


5. ยื่นแล้วไม่ต้องส่งเอกสารนะ 

อีกข้อหนึ่งที่ถามกันเข้ามาบ่อยๆ คือ เวลายื่นภาษีจะให้ส่งเอกสารที่ไหน บอกไว้ ณ ตรงนี้อีกทีนะครับว่า ตอนยื่นไม่ต้องนำส่งเอกสารครับ แต่ว่าจะนำส่งเมื่อพี่ๆสรรพากรขอดูเท่านั้นครับ (ยกตัวอย่างเช่น ตอนขอคืน หรือ สงสัยว่าเรายื่นภาษีไว้ไม่ครบนั่นแหละครับ) และมันแปลว่า ยื่นเสร็จแล้วก็ต้องเก็บเอกสารไว้อยู่นะครับ


6. ขอคืนภาษีต้องสมัครพร้อมเพย์ 

สำหรับคนที่ต้องการขอคืนภาษี ไม่จำเป็นต้องสมัครพร้อมเพย์นะครับ เพียงแต่ว่าถ้าสมัครจะได้คืนเร็วกว่า แต่ถ้าไม่สมัครก็รอเช็คไปเหมือนเดิมครับผม เพียงแต่รอนานหน่อย ต้องทำใจ


7. นโยบายภาษีใหม่ เค้าใช้กันปีหน้า

ถ้าใครติดตามข่าวจะเห็นว่ามีนโยบายภาษีใหม่ๆ มามากมายครับ แต่มันเป็นสำหรับปี 2560 ซื่งต้องยื่นภาษีภายใน 31 มีนาคม 2561 ดังนั้นสำหรับปี 2559 ที่ผ่านมา ไม่มีผลต่อการยื่นภาษีใดๆ ยังใช้นโยบายเก่าอยู่ครับผม


8. ผ่อนภาษีได้ 3 เดือนนะ รู้ยัง 

เป็นอีกข้อนึงซึ่งถือว่าเป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ที่ต้องมีการชำระภาษีครับ เนื่องจากสามารถขอผ่อนได้ 3 งวดด้วยกัน (3 เดือนติดต่อกัน) โดยไม่คิดดอกเบี้ย เมื่อมียอดภาษีตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ซึ่งก็เป็นการช่วยบรรเทาภาระชีวิตได้หลายคนเลยล่ะครับ (ผมเองก็เป็นคนหนึ่งในนั้นครับ ฮ่าๆๆ)


9. กรอกรายการผิดชีวิตเปลี่ยน 

ข้อนี้เป็นภาพรวมของการยื่นแบบภาษีครับ อีกหนึ่งปัญหาก็คือ การกรอกรายการผิด เช่น กรอกโดยไม่ได้เกิดขึ้นจริง หรือ กรอกรายการผิดประเภท ซึ่งทำให้มีปัญหาภายหลังได้เหมือนกันครับ อยากแนะนำว่าตรงนี้อย่ากรอกผิดพลาดกันเลยจะดีกว่าครับ ตรวจเช็ครายการให้ดีก่อนจะยื่นภาษีนะครับ


10. ยื่นผิดก็ยื่นใหม่ได้ 

ข้อสูดท้ายเป็นทางออกของข้อที่แล้วครับ (อ้าว) เพราะต่อให้ทำผิดแค่ไหน แต่ถ้าเรารู้ตัวก่อนหมดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เราสามารถกลับใจโดยยื่นภาษีใหม่ได้ครับ แต่การยื่นภาษีใหม่ครั้งนี้จะต้องกรอกรายการเหมือนกรอกใหม่ทั้งหมดนะครับ โดยคิดเหมือนกับว่าเป็นการยื่นใหม่ไปเลย และกรอกจำนวนภาษีที่ขอคืนหรือจ่ายเพิ่มในการยื่นครั้งก่อนเข้าไปเฉยๆ เพื่อจ่ายเพิ่มหรือขอคืนเพิ่มครับผม

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : aommoney.com

 1261
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

แก้ปัญหาลาออกให้เจอ ทำไมลูกน้องลาออกบ่อย เคยส่งไหมครับว่าทำไมพนักงานที่เข้ามาใหม่ ไม่ค่อยจะมีใครอยู่ได้ถึง สามปี สี่ปี พอครบปีก็พากันลาออกหมด บางคนนี่ยังไม่ถึงปีด้วยซ้ำเลย…. พยายามจะแก้ปัญหาก็เเล้ว เเต่ก็ดูเหมือนยังไม่ถูกจุด
2251 ผู้เข้าชม
“ภาษี” อาจเป็นเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนหลายคนคิดว่ายุ่งยากและน่าปวดหัวที่สุด โดยเฉพาะเด็กจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มก้าวแรกของชีวิตการทำงานและยังไม่เคยมีประสบการณ์การยื่นแบบเพื่อจ่ายภาษีประจำปีมาก่อน คุณอาจมีคำถามและข้อสงสัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนของเราต้องจ่ายภาษีมั้ย? จ่ายภาษีอย่างไร? แล้วเงินภาษีส่วนเกินที่จ่ายไปนั้นจะได้คืนหรือเปล่า?
4002 ผู้เข้าชม
แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relation) เป็นความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้อง หรือการปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายนายจ้าง หรือฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายจัดการฝ่ายหนึ่ง กับฝ่ายลูกจ้าง หรือฝ่ายพนักงาน หรือฝ่ายผู้ปฏิบัติงานอีกฝ่ายหนึ่ง
22531 ผู้เข้าชม
เชื่อว่าทุกองค์กรมีหลักสูตรสำหรับพนักงานใหม่ บางทีอาจเรียกว่า หลักสูตรปฐมนิเทศ Orientation Program, New Employee Program ฯลฯ จะเรียกอะไรก็แล้วแต่ละองค์กร แต่ความหมายสำคัญ คือ เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นสำหรับพนักงานที่เข้างานใหม่กับองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ให้พนักงานรู้จักองค์กรมากขึ้น สามารถปรับตัวให้เข้ากับองค์กรได้ง่ายและเร็วมากขึ้น พร้อมที่จะทำงานให้กับองค์กร
4470 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์