ธุรกิจซื้อมาขายไป ผ่านทางออนไลน์ ต้องเสียภาษียังไง ?

ธุรกิจซื้อมาขายไป ผ่านทางออนไลน์ ต้องเสียภาษียังไง ?

คนที่เพิ่งทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือทำงานประจำควบคู่กับการขายของออนไลน์มักเจอปัญหาเรื่องการเสียภาษี ที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาษีอะไรบ้างที่ต้องจ่าย และมีเอกสารอะไรที่ต้องเก็บบ้าง

ยิ่งการค้าขายยุคนี้ทำเรื่องซื้อขายกันผ่านสื่อออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น FB/IG/LINE หรือสื่อเจ้าอื่นๆ การส่งเอกสารทั้งใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบส่งสินค้า หลักฐานการโอนเงิน หรือใบเสร็จ ก็ทำกันช่องทางนี้ หากไม่พิมพ์เอกสารเหล่านี้ออกมาเก็บไว้ พอถึงสิ้นปีที่จะต้องเสียภาษี ก็ไม่มีข้อมูลที่จะมาใช้คำนวณ ทำให้เสียภาษีไม่ถูกต้อง (อาจจะสูงไปหรือต่ำไป) และเป็นเหตุให้ต้องโดนสอบภาษีย้อนหลังได้

1. เก็บเอกสารการทำธุรกิจไว้ เพื่อนำมาใช้คำนวณภาษี

FB/IG/LINE เว็บไซต์ธุรกิจที่ตั้งขึ้น รวมถึงเว็บ E-Commerce เปรียบได้กับหน้าบ้านที่ช่วยให้ค้าขายได้สะดวกสบายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลากหลาย แต่ก็ไม่ควรลืมระบบหลังบ้านที่ทำหน้าที่จัดการเอกสารและหลักฐานการซื้อขาย เพื่อเอาไว้ใช้คำนวณภาษีและยื่นภาษีแก่กรมสรรพากรตามที่กำหนดด้วย ไม่ว่าผลการประกอบการจะเป็นเช่นไร จะกำไรหรือขาดทุน ก็ต้องยื่นแบบนำส่งกรมสรรพากร

2. ทำความเข้าใจว่าตัวเรามีรายได้ประเภทไหนบ้าง

รายได้ในแต่ละช่องทางที่ได้รับคือตัวบอกว่าจะต้องเสียภาษีอย่างไร หากมีรายได้จากแค่ เงินเดือน ค่าล่วงเวลา และโบนัส จะถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ต้องเสียภาษี ลงในฟอร์ม ภ.ง.ด. 91 แต่หากมีรายได้จากช่องทางอื่นๆ ก็จะเสียภาษีลงในฟอร์ม ภ.ง.ด.90

 

ซื้อมาขายไป เป็นรายได้ประเภทที่เท่าไหร่

รายได้ 8 ประเภท ที่ต้องเสียภาษี

 

สำหรับรายได้ที่มาจากการทำธุรกิจซื้อมาขายไป หรือขายของออนไลน์ จะถือเป็นรายได้ประเภทที่ 8 ก็จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ ภ.ง.ด.94 และ ภ.ง.ด.90

วิธีคำนวณ ภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาส่วนรายได้จาก “ธุรกิจซื้อมาขายไป”

ในการคำนวนภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาที่มีการทำธุรกิจซื้อมาขายไปนั้นจะต้องมีวิธีในการคำนวณภาษีอากรทั้งหมด 2 ขั้นตอน คือ

  1. คำนวณจากรายได้ที่เกิดขึ้น

(รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) = รายได้สุทธิ x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย

  1. คำนวณจากรายได้จาก ธุรกิจซื้อมาขายไป และทางอื่นๆ (ยกเว้นเงินเดือน) ถ้ามีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป จะใช้วิธีการคำนวณได้ 2 แบบ คือแบบเหมา 0.5% และแบบหักตามค่าใช้จ่ายจริง (หากเป็นธุรกิจที่ผลิตเองขายเองจะใช้วิธีคำนวณแบบหักตามค่าใช้จ่ายจริงเท่านั้น)

รายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน x 0.005% = ค่าภาษี

หลังจากนั้นให้เทียบภาษีจากทั้ง 2 วิธี หากวิธีไหนคำนวณแล้วได้ว่าต้องเสียภาษีมากกว่า ให้เลือกเสียภาษีจากวิธีคำนวณนั้น

3. บัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป ต้องทำให้ได้

เมื่อเข้าสู่โลกของการทำธุรกิจ และมีรายได้แล้ว ก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษี แต่จะเสียภาษีได้อย่างไร หากไม่รู้ว่าธุรกิจที่ตัวเองทำอยู่มีกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ ดังนั้นถ้าอยากรู้ว่าสิ้นปีเราจะมีรายได้เท่าไหร่ ก็ต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายขึ้น

ในการดำเนินธุรกิจ จะมีคนที่เกี่ยวข้องในชีวิตเราอย่างน้อย 2 คนคือ นักบัญชี และผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งคนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจที่ยังไม่ได้จ้างนักบัญชีหรือสำนักบัญชี ก็ต้องมั่นใจว่าบัญชีที่เราทำนั้นถูกต้อง แต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจในบัญชีที่ทำอยู่ว่าถูกต้องหรือไม่ หรือไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ขอให้เริ่มจากสิ่งเหล่านี้ก่อน

  • ทำบัญชีรายรับรายจ่าย บันทึกต้นทุนและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และบันทึกรายได้เมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้น
  • ทำสต็อกสินค้า เพื่อให้ทราบปริมาณความเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือ ป้องกันสินค้าสูญหาย และยังช่วยในการประเมินว่าสินค้าตัวไหนเป็นที่ต้องการของตลาด หรือสินค้าตัวไหนควรลดสต็อก เพื่อให้ต้นทุนไม่จมอยู่กับสินค้ามากเกินไป นอกจากนี้ สต็อกสินค้ายังเป็นสิ่งแรกที่กรมสรรพากรมักจะตรวจสอบด้วย
  • แยกกระเป๋าเงินส่วนตัวและกระเป๋าธุรกิจ เพราะถ้าไม่แยก จะเกิดปัญหาว่าทำไมสินค้าขายได้ มีกำไรแล้ว แต่เงินหายไปไหนไม่รู้ แล้วผลที่ตามมาคือทำให้เกิดการขาดสภาพคล่อง
  • เก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายให้ครบ คือหลักฐานทางการเงินที่แสดงให้เห็นว่ามีการซื้อขาย เช่น ใบเสนอราคา ใบวางบิล ใบแจ้งหนี้  ใบเสร็จ ใบกำกับภาษี เพื่อถึงเวลาสิ้นปีจะได้ใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณภาษี

สามารถอ่าน  บทความเกี่ยวกับภาษี และ บทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : flowaccount.com

 3418
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวนึงที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว
862 ผู้เข้าชม
ในแต่ละปี หน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกา จัดอันดับรัฐโลกตามระดับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง และยิ่งตัวเลขยิ่งต่ำเท่าไหร่ก็ยิ่งถือว่าประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้นเท่านั้น
1959 ผู้เข้าชม
โซลูชั่นเพื่อการคิดคำนวณเวลาขององค์กรโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ค่าใช้จ่าย จะมุ่งเป้าไปยังการคิดและคำนวณเวลาทำงานของพนักงาน รวมถึงค่าตอบแทน หน้าที่และแผนกที่สังกัด ทั้งยังให้ส่วนบริหารตรวจสอบและติดตามผล พร้อมกับตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วย ต่อไปนี้เป็นการตรวจสอบและตรวจวัดที่คุณอาจนำไปใช้ เพื่อประเมินชุดซอฟต์แวร์สำหรับงานดังกล่าว
3654 ผู้เข้าชม
เงินโบนัส หมายถึง เงินพิเศษ ที่องค์กรจ่ายให้เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานนอกเหนือจากเงินเดือนค่าจ้าง ซึ่งอาจจะเป็นรายปี รายครึ่งปี แล้วแต่องค์กรถ้าพูดให้เข้าใจโดยทั่วๆไปก็คือ โบนัสเป็นเงินค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้พนักงาน เนื่องจากผลประกอบการดี เป็นไปตามเป้า หรือมีกำไรนั่นเอง 
348023 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์