ยื่นภาษี หัก ณ ที่จ่าย กรอกเอกสารอย่างไร

ยื่นภาษี หัก ณ ที่จ่าย กรอกเอกสารอย่างไร

ภ.ง.ด.3 คือแบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคล ที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) จะต้องหักออกจากค่าจ้างที่จ้างบุคคลภายนอกให้มาทำงานให้บริษัท

ส่วนภ.ง.ด.53 คือแบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน ซึ่งเอกสารที่ว่านี้จะต้องนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปทุกเดือน หากเดือนไหนไม่มีการหักก็ไม่ต้องนำส่ง แต่ถ้ามีการหักแต่ไม่นำส่ง ก็จะถูกเสียค่าปรับนะจ๊ะ

เจ้าของธุรกิจต้องรู้อะไรบ้าง

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่มีการจดทะเบียนเข้าอยู่ในรูปบริษัทแล้ว เมื่อมีรายจ่ายต่างๆ ที่เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องว่าจ้างให้ทำของหรือใช้บริการ ยกตัวอย่าง จ้างฟรีแลนซ์ (บุคคลทั่วไป) ให้ทำเว็บไซต์ ออกแบบกราฟิก จ้างช่างมาซ่อมแอร์

หรือการว่าจ้างบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทบัญชี บริษัทออกแบบโฆษณา หรือค่าบริการที่จำเป็นต่างๆ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าประกันภัยสินค้า ค่าประกันขนส่ง ค่าเช่าออฟฟิศ ฯลฯ

รายจ่ายเหล่านี้ ในฐานะเจ้าของธุรกิจซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างจะมีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ของเงินค่าจ้างของผู้ให้บริการออกมาด้วย โดยที่เงินนี้จะไม่ใช่เงินของเรา แต่เป็นเงินที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร

การหัก ณ ที่จ่าย จะหักตามอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด แบ่งเป็นรายการประเภทที่ต้องหัก คือ

ค่าขนส่ง ร้อยละ 1
ค่าประกันภัย ร้อยละ 1
ค่าโฆษณา ร้อยละ 2
ค่าบริการ/ค่าจ้างทำของ ร้อยละ 3
ค่าเช่า ร้อยละ 5

ส่วนใหญ่แล้วพ่อค้าแม่ขายจะเจอกับค่าบริการ และค่าเช่าแน่นอน จึงเป็นเรื่องที่เจ้าของธุรกิจต้องทำความเข้าใจเรื่องภาษี หัก ณ ที่จ่าย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

และเป็นเหตุผลที่ทำให้เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องเก็บเอกสารให้ครบทุกครั้งเมื่อมีการดำเนินกิจกรรมใดๆ ในธุรกิจของเราเสมอ เพราะในทุกๆ เดือน ทั้งผู้ให้บริการเรา รวมถึงตัวเราซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจต่างก็มีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีให้กรมสรรพากรนั่นเอง เมื่อเจ้าของธุรกิจทำการหัก ณ ที่จ่าย มาแล้ว ก็ต้องทำหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ให้กับบุคคลหรือบริษัทที่มาทำงานให้เรา

จากนั้นเอาเอกสารตัวจริงให้เขา เราเก็บสำเนาเอาไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเก็บไว้คู่กันกับใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี จากนั้นเก็บเอกสารทั้งหมดในห้องบัญชี เพื่อเอาไว้ใช้เป็นหลักฐานและเป็นข้อมูลเวลาที่จะต้องทำภ.ง.ด.3 และภ.ง.ด.53 นำส่งกรมสรรพากร

ส่งเมื่อไหร่

ทั้งภ.ง.ด.3 และภ.ง.ด.53 จะนำส่งต่อเมื่อระหว่างเดือนมีการหัก ณ ที่จ่าย ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ถ้าเดือนนี้ไม่หักบุคคลใด หรือบริษัทไหนเลย ก็ไม่ต้องส่ง

หรือถ้าเดือนนี้มีแต่รายการหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะบุคคล ก็ส่งเฉพาะภ.ง.ด.3 หรือถ้ามีหัก ณ ที่จ่าย เฉพาะนิติบุคคล ก็นำส่งเฉพาะภ.ง.ด.53

แต่ถ้ายื่นผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถยืดเวลาออกไปได้อีก 8 วัน (ถึงวันที่ 15) และสามารถเช็กย้อนหลังหลังส่งแล้วได้ 3 วัน

ทำยังไง     

เริ่มแรก แยกเอกสารรายรับรายจ่ายของเดือนที่จะนำส่งภาษีออกเป็น 2 กอง เลือกเฉพาะกองเอกสารรายจ่ายทั้งหมดมาคัดเอกสารดูว่า เอกสารรายจ่ายชุดไหนที่เรามีการทำหัก ณ ที่จ่าย ไปบ้าง

จากนั้นแยกเอกสารรายจ่ายออกเป็น เอกสารรายจ่ายที่มีหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่เป็นบุคคล และเอกสารรายจ่ายที่มีหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่เป็นนิติบุคคล

เวลาส่งกรมสรรพากร หากนำส่งเฉพาะภาษี หัก ณ ที่จ่าย ของบุคคลธรรมดา จะมีเอกสารภ.ง.ด.3 (ใบปะหน้า) ใบแนบภ.ง.ด.3 (สำหรับลงรายละเอียด) ถ้าหากนำส่งเฉพาะภาษีหัก ณ ที่จ่ายของนิติบุคคล จะมีเอกสารภ.ง.ด.53 และใบแนบภ.ง.ด.53 ถ้าในเดือนนั้นมีการหักทั้งบุคคลและนิติบุคคลก็ต้องนำส่งเอกสารทั้งหมด

การทำ ภ.ง.ด.3 

เอาข้อมูลจากหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ที่หักจากบุคคลธรรมดา มาใส่ใน ใบแนบภ.ง.ด.3 โดยใส่ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน ที่อยู่ วันเดือนปีที่ออกหนังสือฉบับนี้ ประเภทของเงินได้ (เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ ค่าเช่า) อัตราภาษีที่หัก จำนวนเงินที่จ่าย และภาษีที่เก็บจากเขามา

ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบ ภ.ง.ด.3
ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบภ.ง.ด.3

ส่วน ใบภ.ง.ด.3 ใส่ข้อมูลของกิจการของเรา เดือนที่จ่าย (เช่น ส่งของรอบเดือนมกราคมก็ใส่เครื่องหมายลงช่องมกราคม) ใส่รายละเอียดว่ามีใบแนบมากี่ใบ ยอดรวมของเงินได้ และยอดรวมของภาษี

การทำ ภ.ง.ด.53

ทำแบบภ.ง.ด.3 เช่นเดียวกัน โดยใส่ข้อมูลเฉพาะนิติบุคคล

ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบ ภ.ง.ด.53

ตัวอย่างการลงข้อมูลในใบแนบภ.ง.ด.53

เจ้าของธุรกิจทำเองได้ไหม

ได้ เพราะเจ้าของธุรกิจเป็นผู้หัก ณ ที่จ่ายด้วยตนเอง ก็จะถือว่าเป็นผู้ที่รู้กิจกรรมต่างๆ ของกิจการดีที่สุด แต่ถ้าคิดว่าไม่สะดวกก็จ้างสำนักงานบัญชีทำให้ก็ได้ หากต้องเช็กดูตัวเลขให้ดีว่าส่งครบอย่างเรียบร้อย

ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถลดความกังวลเรื่องการคำนวณผิดพลาดโดยใช้โปรแกรมบัญชีช่วยคำนวณตัวเลขให้อัตโนมัติได้

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้

ที่มา : flowaccount.com

 6023
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

กระแส แนวคิดและการปฎิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ (Corporate Social Responsibility) หรือ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อน ที่หลายองค์การให้ความสำคัญ และทำให้บทบาทของนักบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) เริ่มมีความเด่นชัดมากขึ้น ในการทำหน้าที่หุ้นส่วนกลยุทธ์ (Strategic Partner) ทั้งนี้เนื่องจาก CSR ช่วยตอกย้ำและเพิ่มพูนบทบาทหน้าที่และความเชี่ยวชาญของ HR ที่มีเป็นทุนเดิมมาก่อน
28884 ผู้เข้าชม
ปัญหาวุ่น ๆ ของการประสานงาน ไม่มีใครที่ไม่เคยเจอปัญหาในการติดต่อประสานงาน แม้แต่ตัวอลิสเองก็ยังต้องเจอะเจอกับเรื่องวุ่น ๆ ในการติดต่อประสานงานกับผู้อื่นเลย แต่สิ่งสำคัญก็คือ จะเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างไร พบว่าโดยส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการติดต่อประสานงานมักจะเป็นเรื่องของการบริหารคน เราไม่สามารถบังคับให้ใครทำอะไรตามใจเราได้ คนเป็นเรื่องที่เราควบคุมค่อนข้างลำบาก เรื่องหนักใจอยู่ที่ว่า เราต้องไปติดต่อประสานงานกับคนที่คุยกันแล้วจูนกันไม่ติด พูดกันไม่รู้เรื่อง คิดกันคนละอย่าง และที่ซ้ำร้ายหากคุณต้องไปติดต่อประสานงานกับคนที่ไม่ถูกชะตากัน รับรองว่าใครก็ใคร จะต้องคิดมาก กลุ้มใจ หรือมีปัญหาเกิดขึ้นตามมาสารพัด
9383 ผู้เข้าชม
หลาย ๆ คนคงทราบดีอยู่แล้วว่า สวัสดิการพนักงาน นั้น แม้จะเป็นสิ่งที่ทางบริษัท หรือนายจ้างมอบให้แก่พนักงานหรือลูกจ้างทุก ๆ คน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของลูกจ้างและเพื่อให้ลูกจ้างมีสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานที่ดีขึ้นก็ตาม แต่สิ่งที่ได้รับมาเหล่านั้นก็ต้องถูกนำไปคิดคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินของเราในการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในรอบปีบัญชีนั้น ๆ เว้นแต่สวัสดิการต่าง ๆ ที่เราได้รับ จะถูกจัดอยู่ในข้อบัญญัติตามกฎหมายให้มีการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ แต่จะมีสวัสดิการตัวใดกันที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมาคำนวณภาษี ค่าคลอดบุตรถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ ค่าเบี้ยเลี้ยงทางภาษี ถือเป็นสวัสดิการที่ได้รับการยกเว้นหรือเปล่า และค่าเดินทางเหมาจ่ายต้องเสียภาษีหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
22661 ผู้เข้าชม
HR (Human Resource) ตำแหน่งที่ต้องเจอทุกคน ต้องแก้ทุกปัญหา เป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีความรู้รอบด้าน เอาทั้งศาสตร์และศิลป์มาปรับใช้กับทุกสถานการณ์ที่ต้องเจอ ทำให้องค์กรหลาย ๆ แห่งมักจะมีตำแหน่งนี้อยู่ด้วยเสมอเพื่อจัดการความเรียบร้อยให้องค์กร
1528 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์