ได้ดอกเบี้ยจากการฝากเงิน ต้องเสียภาษียังไงหว่า?

ได้ดอกเบี้ยจากการฝากเงิน ต้องเสียภาษียังไงหว่า?



คำถามส่วนใหญ่ที่เข้ามาในช่วงนี้ คือ ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ออมทรัพย์ ฝากประจำ เงินฝากเผื่อเรียก กระแสรายวัน ฝากประจำปลอดภาษี เสียภาษีไหม?

อ่า เดี๋ยวก่อนนะ! ฝากประจำปลอดภาษีเนี่ยไม่เสียภาษีอยู่แล้ว
ไม่ต้องถามว่าเสียภาษีไหมนะ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้ว

เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์

ส่วนฝากประจำปลอดภาษีที่เมื่อกี้เล่นมุกไป ดอกเบี้ยก็ไม่เสียภาษีเหมือนกันแต่เราต้องทำตามเงื่อนไขการฝากที่ธนาคารกำหนดไว้ด้วย 

ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่มีดราม่าในช่วงก่อนหน้านี้ อยากให้เข้าใจชัดๆว่า ดอกเบี้ยที่ต้องเสียภาษีคือต้องได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท ถึงจะเสียภาษี แต่ถ้าได้ไม่ถึงก็ยกเว้นภาษีเหมือนกับทั้งหมดที่ว่ามานั่นแหละจ้า

แต่ตรงนี้รู้ไว้หน่อยนะ สมมติว่าถ้าได้ดอกเบี้ยเกินจริงๆ เช่นได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์มาทั้งหมด 25,000 บาท ตรงนี้เราจะเสียภาษีจากยอด 25,000 บาทเลยนะ ไม่ใช่แค่ส่วนที่เกินมา 5,000 บาท อันนี้ฝากไว้ให้เป็นความรู้กันครับผม

ทีนี้.. กรณีดอกเบี้ยออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาทที่กรมสรรพากรออกมาบอกว่า ต้องมีการแจ้งความยินยอมกับธนาคารว่าให้ส่งข้อมูลให้สรรพากรถึงจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีนั้น มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แยกย่อยออกมาเป็นดราม่าต่อแบบนี้ คือ 

1. ถ้าหากยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร

กรณีนี้ถ้าดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท เราอยู่เฉยๆไม่ไปทำอะไร นั่นคือยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร และธนาคารจะไม่หักภาษีเราไว้สักบาท ดังนั้นถ้าไม่ลำบากใจในการส่งข้อมูลและดอกเบี้ยเราไม่เกิน 20,000 บาทแน่ๆ ก็อยู่เฉยๆ ชิวๆ ไป

2. ถ้าหากไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร

เราต้องถูกธนาคารหักภาษีไว้ 15% ของดอกเบี้ยที่ได้ทันที ไม่ว่าจะได้ดอกเบี้ยเท่าไรก็ตาม ต่อให้ได้ไม่เกิน 20,000 บาทก็ต้องโดนหักภาษีไว้ด้วยนะจ๊ะ

ย้ำอีกทีว่า ข้อมูลที่ธนาคารส่งให้ให้สรรพากรแค่นั้นและส่งเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยออมทรัพย์เท่านั้น  ไม่ได้เกี่ยวกับส่วนอื่นนะจ๊ะ

โอเค ทีนี้มากันต่อในส่วนของเงินฝากประจำกันบ้าง กรณีของเงินฝากประจำเราจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15 % จากยอดดอกเบี้ยที่ได้ นั่นคือ ถ้าเราได้เงิน 100 บาท เราจะถูกหักภาษีไว้ 15 บาทแล้วได้เงินแค่ 85 บาทเท่านั้น โดยเรามีสิทธิ์เลือกเอารายได้ดอกเบี้ยจำนวน 100 บาทตรงนี้มายื่นภาษีเพื่อขอคืนภาษีได้ ถ้าหากเราเสียภาษีไม่ถึงฐาน 15% ก็มีสิทธิได้คืนภาษีไป หรือจะเลือกให้หักไปแล้วจบไม่ต้องเอามายื่นภาษีเลยก็ได้เหมือนกัน (ตรงนี้ก็เป็นทางเลือกว่าจะเลือกแบบไหนที่คุ้มค่ากับเรามากกว่านั่นเอง)

ส่วนวิธีเช็คว่าเงินฝากไหนจะโดนหักไม่หักภาษี แนะนำง่ายๆ คือ ตอนเปิดบัญชีถามพนักงานเลยว่าฝากแบบนี้เสียภาษีไหมเสีย 15% หรือเปล่า ถ้าหากว่าอยากขอคืนภาษี ก็อย่าลืมขอใบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีครับผม  

ดังนั้นทางเลือกชีวิตสำหรับเรื่องดอกเบี้ยนั้นมีหลายทางมากครับ เราสามารถเลือกจะฝากเงินแบบที่ไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ หรือจะเลือกฝากแล้วเสียภาษีก็ได้ เอาแบบที่เราได้ผลตอบแทนโดยรวมมากกว่า แค่นี้ก็น่าจะมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นแล้วครับผม

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ เพิ่มเติมได้ ที่นี้

ที่มา : aommoney.com

 1221
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

ตัวอย่างการเขียนเรซูเม่งานโปรแกรมเมอร์ สมประสงค์ พงพันอาภา 45/54ถนน ลาดพร้าว แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร 02-512-1212, 085-522-5555 surapongsa@hotmail.com จุดมุ่งหมายทางอาชีพ • สามารถนำวิชาความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เว็บไซต์มากที่สุด การศึกษา • พ.ศ. 2545 - 2548 • ปริญญาตรี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย............... • เกรดเฉลี่ย 3.50 ประสบการณ์ • พ.ศ. 2551- ปัจจุบัน รับงานอิสระ ออกแบบเว็บไซต์ เขียนโปรแกรมและพัฒนาเว็บไซต์ พ.ศ. 2548-2552 โปรแกรมเมอร์ บริษัท.................... เขียน Web application โดยใช้ภาษา php หรือ asp.net กิจกรรม • พ.ศ. 2545 – 2548 สมาชิกชมรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัย ความสามารถด้านภาษา • สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี • คะแนน TOEIC 560 ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ • มีความรู้เกี่ยวกับ Database MSSQL,MySQL • มีทักษะในการใช้ภาษา PHP หรือ ASP.NET (VB, C#) เป็นอย่างดี • มีความรู้และเข้าใจใน HTML, XML, JAVA Script, CSS ความพร้อมในการเริ่มงาน • เริ่มงานได้ทันที
22015 ผู้เข้าชม
วันนี้คุณในฐานะผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน ซึ่งมีทีมงานอยู่ภายในการปกครองจำนวนหนึ่ง คุณเคยวิเคราะห์ผู้ใต้บังคับบัญชาในแต่ละคนหรือไม่ ว่าแต่ละคนนั้นอยู่ในช่องไหนของตาราง ถ้าคุณสามารถจัดได้ตามช่องอย่างชัดเจนแล้วการพัฒนาเขาเหล่านี้ก็ต้องใช้วิธีที่แตกต่างกัน
1841 ผู้เข้าชม
ผมเชื่อว่า มีเพื่อน ๆ อีกหลายคนที่ยังคงรู้สึกงุนงงอยู่ทุกครั้งเวลายื่นแบบภาษี เพราะมีตัวเลขมากมายไปหมด ถึงแม้โปรแกรมคำนวณภาษีจะช่วยให้การกรอกข้อมูลง่ายขึ้น แต่ก็อาจจะไม่เข้าใจอยู่ดีว่า ตัวเลขแต่ละตัวนั้นถูกนำไปคำนวณเป็นภาษีได้อย่างไร วันนี้ ผมจะมาเล่าหลักการคำนวณภาษีให้ฟังกันครับ รับรองว่า ไม่ยากอย่างที่คิด
1622 ผู้เข้าชม
หัวหน้างานมักกังวัลเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงานของลูกน้องว่าจะทำอย่างไรให้พวกเขาทำงานกันได้อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันหัวหน้างานก็มักจะไม่ค่อยรู้วิธีสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานเลย
3095 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์