ยุคนี้เป็นยุคที่ใครๆ ต่างก็มีความสามารถกันทั้งนั้น แต่ในทางตรงกันข้ามยุคนี้เป็นยุคที่ตามหาคนที่มีทัศนคติที่ดีในการทำงานได้ยากกว่าเมื่อก่อนมากเช่นกัน หลายองค์กรในยุคนี้มองข้ามความสามารถเป็นหลักไป ไม่ใช่ว่าเขาจะไม่สนใจหรือไม่ใส่ใจ แต่สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นในด่านแรกตั้งแต่ใบสมัครและ Resume ไปแล้ว ซึ่งผู้ผ่านเข้ารอบทั้งหลายแทนที่จะมาสู่รอบสัมภาษณ์งานอย่างเมื่อก่อน แต่จะกลายเป็นว่าเชิญมาสัมภาษณ์เชิงทัศนคติแทน การสัมภาษณ์เชิงทัศนคตินั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดเลย เพราะทุกการสัมภาษณ์นั้นต่างก็มีการเช็คเรื่องทัศนคติอยู่แล้ว แต่เทรนด์ที่กำลังมาในยุคนี้ก็คือการแข่งขันกันด้านเชิงทัศนคติที่มีการเชิญผู้ถูกคัดเลือกมาเป็นกลุ่ม สัมภาษณ์ร่วมกัน เพื่อวัดทัศนคติโดยเฉพาะ
การสัมภาษณ์ในลักษณะการแข่งขันกันเชิงทัศนคติ (Fighting Attitude Interview) นี้เป็นการฟาดฟันความสามารถกันในรูปแบบ Soft Fighting มากกว่าที่จะฟาดฟันกันอย่างหนักหน่วงแบบ Hard Fighting ที่วัด Performance ด้านการทำงานกัน แต่การสัมภาษณ์ที่มีการต่อสู้กันในเชิงทัศนคตินี้จะไม่ได้เน้นการแข่งขันกับคู่แข่งคนอื่น แต่จะเน้นที่การแข่งขันกันของตัวผู้สมัครเองเสียมากกว่า เรียกได้ว่าใครเป็นตัวเองได้โดดเด่นที่สุด มีทัศนคติต่อตนเองและผู้อื่นได้ยอดเยี่ยมที่สุด มันจะเห็นกันได้ชัดเจนมากเมื่อทำการคัดเลือกแบบกลุ่มนี้
การคัดเลือกในลักษณะนี้ทำได้ไม่ยากเย็นเลย ไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมากเสียด้วยซ้ำ เพียงแค่เป็นตัวของตัวเองให้ดีที่สุด ถ่ายทอดความเป็นตัวของตัวเองออกมาให้องค์กรสัมผัสให้ได้มากที่สุด แสดงความคิดเห็นในทัศนคติของเราให้มากที่สุด นั่นแหละคือสิ่งสำคัญที่สุด ทุกคำถามมักจะเป็นคำถามปลายเปิดให้เราแสดงทัศนะ หรือเป็นคำถามปลายปิดที่เฉพาะเจาะจงแต่มักเกี่ยวข้องกับประสบการณ์การทำงานของเราโดยตรงมากกว่า การตอบคำถามของผู้สมัครนั้นไม่ยากเลย แต่ในส่วนนี้จะมาหนักในส่วนของผู้ทำการคัดเลือกมากกว่าที่จะมีหลักเกณฑ์ตลอดจนจิตวิทยาในการคัดเลือกอย่างไร ซึ่งองค์กรจะคัดเลือกคนที่มีทัศนคติสอดคล้องกับองค์กรมากที่สุด เพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
การคัดสรรโดยใช้กระบวนการ Workshop นี้เป็นกระบวนการที่ทำกันมานานแล้ว แต่ก็ยังเป็นที่นิยมเฉพาะบางกลุ่มธุรกิจอยู่ เพราะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงและสิ้นเปลืองพอสมควรเช่นกัน แต่สำหรับในยุคนี้ที่หลายองค์กรต่างก็สร้างสรรค์วิธีการสรรหารูปแบบใหม่ๆ ที่น่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ การคัดสรรแบบกระบวนการ Workshop นี้จึงกลับมาได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น และสร้างสรรค์ไปในหลายลักษณะทีเดียว
ถึงแม้ว่ากระบวนการคัดสรรนี้จะใช้เวลาค่อนข้างมาก และใช้การลงทุนที่สูงกว่าวิธีทั่วไป แต่การคัดสรรกระบวนการนี้จะทำให้เราได้เห็นวิธีการทำงานของแต่ละคนจริงๆ รวมถึงทัศนคติในการทำงานได้อีกด้วย ซึ่งเราจะเห็นฝีมือของผู้เข้าร่วมคัดเลือกเลยว่ามีศักยภาพในการทำงานมากน้อยแค่ไหน หรือมีศักยภาพที่จะส่งเสริมในด้านใดให้ก้าวหน้า ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับองค์กรได้หรือไม่ ซึ่งมันคุ้มค่าเป็นอย่างมากสำหรับการต้องการคัดสรรบุคลากรที่มีคุณภาพจริงๆ ทำงานให้กับองค์กรได้แน่นอน และมีแนวโน้มที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ในระยะยาว
จะว่าไปแล้วลักษณะของ Bootcamp นี้ก็คล้ายกับการ Workshop อยู่เหมือนกัน แต่หัวใจของ Bootcamp จากจุดเริ่มต้นจริงๆ นั้นชัดเจนกว่า Workshop ซึ่งนั่นก็คือการเข้าค่ายเพื่อคัดเลือกคนเข้าทำงานนั่นเอง โดยคำนี้เริ่มใช้ครั้งแรกๆ ในยุคปี ค.ศ.1898 ในการคัดเลือกคนเข้ารับราชการทาหารของกองทัพสหรัฐนั่นเอง ซึ่ง Boot นั้นมีความหมายหนึ่งว่า “การเริ่มต้นใหม่” เป็นความหมายตรงตัวว่าค่ายแห่งการเริ่มต้นใหม่ แต่ในขณะเดียวกันการฝึกทหารทุกคนต้องสวม Boot ซึ่งก็คือรองเท้าบูทด้วยนั่นเอง มันก็เลยกลายเป็นคำแสลงที่ใช้เรียกการเข้าข่ายลักษณะนี้ไปด้วย ซึ่งมันหมายถึงการเข้าค่ายที่มีการฝึกฝนเข้มช้นอย่างหนักดังค่ายทหารไปด้วยนั่นเอง
การจัดโปรแกรมฝึกงานในรูปแบบพิเศษที่มีความเป็นจริงเป็นจังและมีความเฉพาะตัวนั้นเป็นที่นิยมในองค์กรขนาดใหญ่ตลอดจนองค์กรเชิงสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก โดยโปรแกรมการฝึกงานนี้ไม่ใช่ว่าใครจะขอเข้ามาฝึกงานก็ได้ แต่ทุกคนจะต้องส่งประวัติของตนเองเพื่อมาคัดเลือกให้ได้เข้าร่วมโปรแกรมนี้ ซึ่งนี่คือด่านแรกที่องค์กรจะได้คัดสรรคนดีมีความสามารถเบื้องต้นจากโปรไฟล์ตลอดจน Resume ของแต่ละคนเอง
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเข้าโปรแกรมฝึกงานในแบบฉบับพิเศษที่องค์กรนั้นจัดขึ้นโดยเฉพาะ ได้ทดลองทำงานจริง ได้รับการสอนงานแบบเป็นจริงเป็นจัง รวมถึงบางองค์กรก็ได้ให้ผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมได้คิดค้นทดลองทำงานใหม่ของตนเองขึ้นมาอีกด้วย ซึ่งการฝึกงานแบบนี้จะได้รับการเทรนกันจริงๆ ไม่ใช่แค่การฝึกงานเก็บชั่วโมงเท่านั้น แล้วในขณะที่ฝึกงานนั้นทางองค์กรก็จะคอยสังเกตการณ์แต่ละคนรอบด้าน เพื่อคัดสรรคนที่มีศักยภาพที่องค์กรต้องการให้เข้าร่วมงานกับองค์กรนั่นเอง หรือใครที่ไม่ได้รับการคัดเลือกนั้นก็จะได้รับองค์ความรู้ที่ดีเยี่ยม พร้อมที่จะทำงานที่องค์กรอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย แถมยังเป็นโปรไฟล์ที่ดีสำหรับใส่ลงไปใน Resume อีกด้วย
การคัดเลือกคนโดยการแก้โจทย์ปัญหานี้เป็นวิธีการสรรหาพนักงานที่ค่อนข้างสร้างสรรค์มากๆ และเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถคัดสรรพนักงานได้ยอดเยี่ยมที่สุด โดยเฉพาะบรรดาพนักงานหัวกะทิทั้งหลาย ซึ่งบางครั้งองค์กรจะปล่อยโจทย์ปัญหาให้แก่ไข ใครสามารถแก้ได้ก็สามารถเข้ามาร่วมการสัมภาษณ์งานได้ หรือบางครั้งองค์กรเรียกมาสัมภาษณ์แล้วส่งโจทย์แก้ปัญหาให้ผู้สมัครไปลองทำเป็นการบ้าน ซึ่งโจทย์นี้อาจเป็นการแก้ปัญหาที่มีคำตอบ ไปจนถึงการหาวิธีการต่างๆ ที่จะนำมาแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด
Resume เป็นสิ่งที่บ่งบอกตัวตนตลอดจนความสามารถของคนแต่ละคนได้ดีทีเดียว มีหลายองค์กรที่คัดสรรคนจากการสร้างสรรค์ Resume ของตนได้น่าสนใจอย่างแตกต่าง แล้วก็มีหลายองค์กรที่คัดสรรจากโปรเจกต์สร้างสรรค์ Resume ในธีมที่กำหนดอีกด้วย
การจัดกระบวนการกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ตลอดจนสร้างระบบทีมสัมพันธ์นั้นมักใช้กับกระบวนการพัฒนาศักยภาพพนักงานในองค์กร แต่มีบางองค์กรนำกระบวนการนี้มาใช้ในการคัดสรรพนักงานเข้าทำงานด้วยเช่นกัน โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจากประวัติเบื้องต้นจะถูกเชิญมาทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ร่วมกัน เพื่อดูพฤติกรรมของผู้สมัคร โดยเฉพาะในเรื่องภาวะการเป็นผู้นำและการบริหารควบคุมการทำงานกับผู้อื่น ตลอดจนการจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้า เป็นต้น ซึ่งภาวะเหล่านี้สำคัญในการทำงานเช่นกัน โดยเฉพาะตำแหน่งที่เป็นผู้นำทั้งหลาย หลังจากนั้นองค์กรจึงคัดสรรพนักงานที่มีคุณสมบัติตามต้องการได้ วิธีการนี้อาจใช้เวลานานและเปลื่องงบประมาณ แต่ก็คุ้มค่าที่จะได้คนที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการของงานจริงๆ
กระบวนการสรรหานี้อาจคล้ายกับการแก้โจทย์ปัญหาอยู่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการตั้งโจทย์แบบเปิดเผย เข้าใจได้ง่ายๆ และเปิดให้ผู้สมัครนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหานั้นๆ ในแนวทางที่น่าสนใจตามแบบของตน หรือบางครั้งก็เป็นการบอกผลว่าต้องการได้ผลลัพธ์อย่างนี้ ให้ผู้สมัครทุกคนหาวิธีที่จะได้ผลลัพธ์อย่างนี้ เป็นต้น การตั้งภาระกิจให้ทำนั้นถือเป็นการวัดศักยภาพได้ดีอีกวิธีหนึ่ง และสามารถวัดการทำงานได้ในระยะเวลาจำกัดได้ดีอีกด้วย
การสร้างสรรค์กระบวนการคัดสรรในรูปแบบใหม่ๆ นั้นมีประโยชน์ในหลายด้านต่อองค์กร ที่คุ้มค่าต่อการลงทุนและประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีทีเดียว