บริหารคนให้ทำงาน ต้องวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์

บริหารคนให้ทำงาน ต้องวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์


การวิจารณ์ที่ดีเป็นไปเพื่อเสริมสร้างและชี้แนะผู้ถูกวิจารณ์ให้เกิดการพัฒนา ไม่ใช่เพื่อจ้องจับผิด หรือต้องการประจานให้เสียหายแต่อย่างใด หากแต่บางครั้งบางคราที่ผู้วิจารณ์มีเจตนาดีแต่ไม่รู้วิธีพูด ความหวังดี จึงกลับกลายเป็นการทำร้ายให้เจ็บช้ำน้ำใจได้โดยไม่รู้ตัว ผู้มีหน้าที่ในการบริหารบุคลากรจึง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์

1. อย่าเพิ่มค่าของตน ด้วยการลดค่าคนอื่น

การที่คุณบอกกับเขาว่า คุณเตือนเขาด้วยความหวังดี เท่ากับว่าคุณกำลังลดค่าของเขาด้วยการจี้จุดอ่อนบางอย่างที่เป็นความผิดในตัวเขา โดยใช้ความหวังดีมาเพิ่มค่าให้กับตัวคุณเอง

2. พูดกันสองต่อสอง

การจะวิจารณ์ใด ๆ นั้น คุณต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเขาก่อนเป็นสำคัญ อย่าทำให้เขารู้สึกอับอายและเสียหน้า ด้วยการวิจารณ์เขาต่อหน้าบุคคลที่สาม และพึงระลึกไว้ว่า คุณต้องให้เกียรติผู้ที่ถูกวิจารณ์เสมอ

3. ต้องรู้จักลูกน้อง

ในที่นี้หมายถึง คุณต้องรู้จักนิสัยใจคอ พื้นฐานจิตใจ ความละเอียดอ่อนไหวของลูกน้องแต่ละคน แล้วเลือกวิธีและดีกรีการพูดที่เหมาะสม บางคนอาจต้องใช้ความนิ่มนวลมากกว่าปกติ บางคนชอบแบบตรงไปตรงมา หรือบางคนแค่แสดงออกด้วยสีหน้าท่าทางว่าผิดหวังก็เพียงพอแล้ว

4. หาจังหวะและโอกาส

เมื่อคุณทราบถึงปัญหาหรือข้อผิดพลาดของเขา คุณควรหาข้อเท็จจริงก่อน ว่าเป็นความผิดพลาดของเขาอย่างแท้จริง หรือมีที่มาจากสาเหตุอื่นด้วย แล้วค่อยหาจังหวะและโอกาสพูดคุยกันเป็นเรื่องเป็นราวแบบไม่ต้องซีเรียสอะไร

5. กล่าวนำด้วยคำชมเชย

การเปิดประเด็นด้วยคำวิจารณ์ในทันที จะทำให้ผู้ฟังปิดประตูใจใส่คุณ เขาจะเกิดความรู้สึกต่อต้านคุณในทันทีเช่นกัน ฉะนั้นควรเปิดประตูใจของเขาโดยกล่าวถึงส่วนที่ดีของเขาก่อนจากนั้นจึงวิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่รื่นหู เช่น การเลี่ยงไปใช้คำอื่นแทนคำว่า “ผิด” เป็นต้น

6. วิจารณ์ที่ผลงาน ไม่ใช่ที่ตัวบุคคล

การวิจารณ์ที่ผลงานเป็นการทำงานแบบผู้ใหญ่กับผู้ใหญ่ แสดงให้เห็นว่าคุณยังชื่นชมเขาอยู่ แม้คุณจะตำหนิเขา นั่นเป็นเพราะการกระทำของเขา ไม่ใช่เพราะเขาเป็นคนไม่ดีหรือว่าคุณไม่ชอบเขา แต่การวิจารณ์ที่ตัวบุคคลเป็นการทำงานแบบผู้ปกครองกับเด็ก ผู้ถูกวิจารณ์จะรู้สึกว่า เขาไม่ได้รับการเคารพ และเขาก็จะไม่เชื่อถือคุณ หากเป็นเช่นนั้นปัญหาต่าง ๆ ก็ไม่มีทางคลี่คลายได้อย่างแน่นอน

7. ขอความร่วมมือ ดีกว่าบังคับ

เป็นธรรมดาของคนเรา ถ้าเมื่อไรที่มีคนขอความร่วมมือ เรามักจะยินดีให้ความร่วมมือ ถ้าไม่มีอะไรเหลือบ่ากว่าแรง แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามที่เราถูกออกคำสั่ง เราจะรู้สึกต่อต้านและไม่อยากทำตาม

8. แนะแนวทางแก้ไข

เมื่อคุณบอกเขาว่าทำอย่างนั้นไม่ถูก คุณควรจะบอกเขาด้วยว่าทำอย่างไรจึงจะถูก เพื่อเป็นการช่วยคนที่หลงทางให้หาทางออกได้โดยเร็ว แต่ถ้าคุณเอาแต่ชี้ข้อบกพร่อง โดยไม่ได้มีความรู้สึกอยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้นมา ยิ่งกลับเป็นการตอกย้ำซ้ำเติมข้อผิดพลาดของเขา อย่างนี้แหละที่เรียกว่าวิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์

9. ทำผิดครั้งเดียว เตือนครั้งเดียวก็เกินพอ

การที่คุณเรียกเขามาพูดคุยในครั้งนี้ เป็นเพราะความผิดเรื่องใด คุณสมควรพูดเฉพาะเรื่องนั้น การขุดคุ้ยเรื่องเก่า ๆ ที่เขาเคยทำผิดพลาดขึ้นมาตำหนิซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นการทำลายความน่าเคารพของตัวคุณเอง และเมื่อการพูดคุยในวันนี้จบลง ก็ไม่จำเป็นต้องเตือนเขาอีกเป็นรอบที่สอง เพราะการวิจารณ์เป็นไปเพื่อให้งานสำเร็จ ไม่ใช่เพื่อตอกย้ำซ้ำเติมใครๆ

10. จบคำวิจารณ์อย่างมิตร

ด้วยการให้กำลังใจ ชื่นชม และแสดงความมั่นใจว่าเขาทำได้ แต่หากยังมีความขุ่นข้องหมองใจต่อกัน อย่าจบบทสนทนาทั้งที่ยังค้างคาใจกันอยู่เด็ดขาด

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี้

ที่มา : th.jobsdb.com

 2038
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

การวางแผนภาษีเป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงปลายปีแบบนี้ ซึ่งเราทุกๆคนมีหน้าที่จะต้องจ่ายภาษีในช่วงต้นปีถัดไป ก่อนถึงกำหนดจ่ายภาษี การวางแผนภาษีไม่ใช่การหนีภาษีนะ แต่ถือเป็นกระบวนการที่ถูกต้องตามหลักสิทธิประโยชน์ทางภาษีทางกฎหมายที่ระบุไว้อยู่แล้ว
2021 ผู้เข้าชม
มาทำความเข้าใจ เงินเดือนหรือรายได้สำหรับลดหย่อนภาษี นั้นมีอะไรบ้าง สำหรับเงินหรือรายได้ในแต่ละเดือนที่เรียกว่าเงินได้พึงประเมิน นั้นสามารถนำไปลดหย่อนหักลดภาษีได้อย่างไรบ้าง และสามารถแบ่งออกได้กี่ประเภทมีอะไรบ้าง
1922 ผู้เข้าชม
HR คือส่วนงานแรกขององค์กรที่ต้องเจอกับคลื่น Digital Disruption ส่งผลให้หลายองค์กรหันมามุ่ง Transform สู่ Digital HR เปิดเทรนด์ประเทศไทยและทั่วโลก พบคนส่วนใหญ่หันหน้าสู่อาชีพฟรีแลนซ์มากกว่าทำงานประจำ
1603 ผู้เข้าชม
กระแส แนวคิดและการปฎิบัติเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การ (Corporate Social Responsibility) หรือ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อน ที่หลายองค์การให้ความสำคัญ และทำให้บทบาทของนักบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) เริ่มมีความเด่นชัดมากขึ้น ในการทำหน้าที่หุ้นส่วนกลยุทธ์ (Strategic Partner) ทั้งนี้เนื่องจาก CSR ช่วยตอกย้ำและเพิ่มพูนบทบาทหน้าที่และความเชี่ยวชาญของ HR ที่มีเป็นทุนเดิมมาก่อน
28884 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์