ภาษีกับการจ้างคนพิการ

ภาษีกับการจ้างคนพิการ


กิจการใดที่มีลูกจ้างเกิน 100 คน ต้องจ้างคนพิการอย่างน้อย 1 คน

ถ้าบริษัทไม่จ้างไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม ต้องจ่ายเข้ากองทุนพัฒนาชีวิตคนพิการ (ค่าแรงขั้นต่ำ x 365)

กรณีมีพนักงาน 200 คน ต้องจ้างคนพิการ 2 คน แต่มีพนักงานคนพิการเพียงแค่ 1 คน ถือว่าไม่เป็นไปตามข้อบังคับ บริษัทต้องจ่ายเข้ากองทุนดังกล่าวทดแทนคนพิการอีก 1 คน

สิทธิประโยชน์ทางภาษีลงรายจ่าย 2 เท่า

  • กิจการใดที่ดำเนินการจ้างคนพิการ แม้ว่าจะไม่มีหน้าที่จ้าง (มีพนักงาน/ลูกจ้างไม่ถึง 100 คน)

หรือ

  • จ้างคนพิการเกินกว่าที่ กฎหมายกำหนด (100 จ้าง 1 )

กิจการนั้นมีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการนั้นมาลงรายจ่ายทางภาษีเพิ่มได้อีก 1 เท่า รวมเป็น 2 เท่า !

แต่ คนพิการนั้นต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ

เช่น บริษัทมีพนักงาน 200 คน จ้างคนพิการ 5 คน เงินเดือนคนละ 30,000 บาท ลงค่าใช้จ่าย 150,000บาท บริษัทนั้นสามารถลงค่าใช้จ่ายได้เพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท (150,000บาท)

ค่าใช้จ่าย หมายความรวมถึง ค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกี่ยวกับการจ้าง เช่น เงินเดือน โบนัส โอที หรือแม้แต่เงินสมทบประกันสังคม

 

สิทธิประโยชน์ทางภาษีลงรายจ่าย 3 เท่า

ถ้ากิจการมีการจ้างคนพิการเข้ามาทำงาน โดย

  • คนพิการมีจำนวนเกินกว่า 60% ของ พนักงานลูกจ้าง

และ

  • มีระยะเวลาในการจ้างเกิน 180 วัน

กิจการมีสิทธิลงรายจ่ายค่าใช้จ่ายในการจ้างคนพิการได้อีก 1 เท่า รวม 3 เท่า !

 

กรณีที่บริษัทไม่จ้างคนพิการ และไม่ประสงค์จะจ่ายเข้ากองทุน บริษัทสามารถดำเนินการตามรูปแบบอื่นที่ กม.กำหนด (ม.35 พรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ) ดังนี้

  • ให้สัมปทาน (การให้สิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ ได้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ เช่น การให้สิทธิในลิขสิทธิ์ในการจําหน่ายสินค้า )
  • จัดสถานที่จําหน่ายสินค้าหรือบริการ (การให้สถานที่เพื่อให้คนพิการหรือ ผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ)
  • จัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ
  • การฝึกงาน (การฝึกงานให้แก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในหลักสูตรที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ เพื่อให้นําไปใช้ประกอบอาชีพ )
  • จัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอํานวยความสะดวก (การจัดให้มีอุปกรณ์หรือ สิ่งอํานวยความสะดวกให้แก่คนพิการที่ทํางานในสถานประกอบการ ให้สามารถทํางานได้ตาม ความเหมาะสม)
  • ล่ามภาษามือ
  • ให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ (การสนับสนุนด้านการเงิน วัสดุ ครุภัณฑ์ เครื่องมือ หรือทรัพย์สินอื่น รวมทั้งการซื้อสินค้าจากคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการโดยตรงเพื่อให้มีอาชีพ ฝึกอาชีพ เตรียมความพร้อมในการทํางาน)บริษัทต้องทำโครงการนำเสนอต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้ออกหนังสืออนุมัติให้แล้วจึงสามารถดำเนินการได้ (หากดำเนินการแล้วก็ไม่ต้องจ่ายเข้ากองทุน เพราะทำตามที่ กม.กำหนดแล้ว)

แล้ว การบริหารค่าจ้างเงินเดือน แบบไหนที่เรียกว่าเป็นธรรม? ที่พนักงานสามารถยอมรับได้ และสามารถอ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติมได้ ที่นี้


ที่มา : www.impressionconsult.com

 2702
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวนึงที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว
838 ผู้เข้าชม
อย่างที่ทราบกันดีว่า ในปี 2563 เป็นปีที่เริ่มต้นการเก็บภาษีที่ดินใหม่ หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2562 (พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง) โดยในครั้งแรกประกาศให้เริ่มจัดเก็บไปเป็นเดือนสิงหาคม 2563 แทน
1806 ผู้เข้าชม
รวบรวมคำศัพท์สายอาชีพ และตำแหน่งงานในแต่ละสายอาชีพทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ได้แก่ งานบัญชี งานธุรการ งานเลขานุการ งานเกษตรกรรม งานประมง งานเหมืองแร่ งานสายการบิน งานการเงิน งานธนาคาร งานก่อสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานที่ปรึกษา งานนักวิเคราะห์ งานบริการลูกค้า งานวิศวกร เป็นต้น
2809 ผู้เข้าชม
เอสซีจี ให้ความสำคัญกับพนักงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากตระหนักอยู่เสมอว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เริ่มตั้งแต่การสรรหาผู้ที่เป็นคนเก่งและดีเข้ามาร่วมงาน โดยจัดโครงการ “Drawing Your Career with SCG Career Camp” เพื่อจูงใจผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทยให้มาทำงานกับบริษัท ซึ่งถือว่าเป็นการสรรหาบุคลากรในเชิงรุก นอกจากนี้ยังมีโครงการ “Top Ten University Recruitment” เพื่อสรรหาผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยท็อป 10 ในสหรัฐอเมริกาหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำในยุโรปอีกด้วย การพัฒนาบุคลากรของเอสซีจีจะดำเนินการโดยการให้ทุนการศึกษาและการอบรม โดยการอบรมนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ Business Knowledge และ Leadership Skills ซึ่งทางเอสซีจีได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมคิดเป็นร้อยละ 0.19 ของรายได้ของบริษัทในปี 2550 สำหรับผู้ที่ผ่านหลักสูตรทั้งหมดแล้วและได้ขึ้นเป็นผู้บริหาร ทางเอสซีจีได้จัดหลักสูตรอบรมเพิ่มเติมได้แก่ Advance Management Program (AMP) และ Executive Development Program (EDP) โดยหลักสูตรแรกเอสซีจีร่วมมือกับ ฮาวาร์ด บิสสิเนสท สคูล และวาร์ตัน บิสสิเนส สคูล ส่วนหลักสูตร EDP ร่วมมือกับ โคลัมเบีย บิสสิเนส สคูล ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับฝึกอบรมผู้บริหารนี้จะแยกอิสระออกจากงบพัฒนาบุคคลหลัก
27254 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์