คำถามที่ใช้วัดแรงจูงใจของผู้สมัครงาน

คำถามที่ใช้วัดแรงจูงใจของผู้สมัครงาน


จะถามคำถามอย่างไรให้รู้ว่าผู้สมัครงานมีแรงจูงใจในการทำงานมากแค่ไหน เพราะขณะสัมภาษณ์งานผู้สมัครทุกคนย่อมต้องแสดงออกถึงความกระตือรือร้นอยากได้งานทั้งนั้น ลองเจาะประเด็นตามคำแนะนำ ต่อไปนี้อาจช่วยคุณได้


1. ประวัติการทำงาน

          การพูดคุยถึงประวัติการทำงานที่ผ่านมาของผู้ สมัครงานสามารถใช้ประเมินแรงจูงใจของผู้สมัครได้ จากระยะเวลาที่เขาทำงานแต่ละบริษัท เขาอยู่แต่ละที่นานแค่ไหน เคยได้รับการเลื่อนตำแหน่งหรือไม่ เคยถูกซื้อตัวให้ย้ายงานหรือไม่ สาเหตุที่ย้ายงานเพื่อความก้าวหน้าหรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ นายจ้างเก่าเคยรับพนักงานที่ออกไปแล้วกลับเข้าทำงานหรือไม่ เป็นต้น


2. ความสนใจที่นอกเหนือจากงาน

          คนที่มีแรงจูงใจจะไม่ได้มีแต่แรงจูงใจในการทำ งานเท่านั้น แต่รวมถึงแรงจูงใจในชีวิตด้วย จึงควรมีการพูดคุยถึงความสนใจอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากงาน ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก การหาความรู้เพิ่มเติม เป้าหมายในชีวิต คนเหล่านี้มักมีความใฝ่ฝัน และหาโอกาสพัฒนาตนเองผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การอ่านหนังสือ การเรียนภาษา การวิ่งมาราธอน การร่วมกิจกรรมกับกลุ่มที่สนใจ เป็นต้น


3. ความล้มเหลวที่ผ่านมา

          แรงจูงใจช่วยให้เราโฟกัสในงานที่ทำ แม้ว่าอาจต้องพบกับอุปสรรคที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้สัมภาษณ์งานจึงควรถามคำถามผู้สมัครงานเกี่ยวกับความผิดพลาดพี่ผ่านมา เพื่อค้นหาว่าเขารู้จักตนเองดี เพียงไร เช่น อุปสรรคที่ยากลำบากที่สุดที่เขาเคยเผชิญคืออะไร และเขาผ่านมันมาได้อย่างไร เขาเคยทำงานผิดพลาดหรือไม่ เขารู้สึกอย่างไร และแก้ปัญหานั้นอย่างไร


4. บุคคลอ้างอิง

          สอบถามบุคคลอ้างอิงที่ผู้สมัครงานให้ไว้ หากผู้สมัครเป็นที่ชื่นชม บุคคลอ้างอิงย่อมยินดีที่จะเล่าเกี่ยวกับผู้สมัครให้ฟังด้วยน้ำเสียงชื่นชม แต่ถ้าตอบเป็นพิธี แสดงว่ารู้สึกเฉย ๆ กับผู้สมัครงาน ไม่ Recommend แต่อย่างใด คุณอาจให้บุคคลอ้างอิงลองให้คะแนนผู้สมัคร 1-5 โดยผู้ที่ผ่านเกณฑ์จะต้องได้คะแนนตั้งแต่ 4 คะแนนขึ้นไป

การสร้างแรงจูงใจสามารถสร้างได้หลายวิธี ถ้าคุณสงสัยว่า เงินสามารถสร้างแรงจูงใรได้หรือไม่? ก็สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้เลย


ที่มา : www.dotproperty.co.th

 2372
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

Elon Musk ชายมาดธุรกิจผู้มีฉากหลังเป็นวิศวะกรแสนปราดเปรื่องที่ ณ 2020 นี้คงไม่ต้องกล่าวว่าเขาคือใคร เพราะแค่พูดชื่อบริษัทอวกาศ SpaceX กับรถไฟฟ้าพลังงานสะอาด Tesla แทบทุกคนก็ต้องร้องอ๋อ
3806 ผู้เข้าชม
สำหรับมนุษย์เงินเดือนซึ่งรับเงินได้ประเภทที่ 1 หรือ เงินได้ตามมาตรา 40(1) นั้น นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมาย ที่จะต้องประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของลูกจ้างไปล่วงหน้าตลอดทั้งปี จากนั้นจะนำภาษีที่คำนวณได้ตลอดทั้งปีนั้น มาเฉลี่ยเป็น “ต่อเดือน” แล้วจึงทำการหัก “ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย” ออกจากเงินเดือนของเราในแต่ละเดือน ทำให้เราได้รับเงินเดือนสุทธิน้อยลง
3911 ผู้เข้าชม
HR เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีความสำคัญมากกับนายจ้าง พอ ๆ กับหน่วยงานผลิต หน่วยงาน ขาย หน่วยงาน HR เป็นเสมือนมือขวาที่จะช่วยผลักดันให้ “นายจ้าง” อยู่ในดวงใจของพนักงาน การเป็น HR มืออาชีพต้องสามารถบริหารความคาดหวังของนายจ้างได้ ความปรารถนาของนายจ้างก็คือ การมี พนักงานที่ตั้งใจ เต็มใจ พร้อมที่จะทุ่มเทการทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่องค์กรกำหนดขึ้น โดยมี ความเชื่อว่าเมื่อพนักงานมีความสามารถหรือ Competency ในการทำงานที่ดีแล้ว ย่อมส่งผลให้ผลลัพธ์ หรือ KPIs ที่องค์กรต้องการบรรลุผลสำเร็จตามมาด้วย ดังนั้น HR จึงต้องปรับตนเองให้มีความพร้อม ที่จะช่วยให้นายจ้างเป็นบุคคลที่พนักงานทั้งองค์กรรัก เคารพ และปรารถนาที่จะทำงานด้วย
2247 ผู้เข้าชม
การทำ Succession Planning เชิงรุกเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดพนักงานในตำแหน่งสำคัญๆ ได้มาก เพราะบริษัทจะทำการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าเป็นระยะๆ มีการสรรหา พัฒนา และตระเตรียมคนไว้ทดแทนอยู่ตลอดเวลา แทนที่จะรอพนักงานคนเก่งลาออกไปแล้วค่อยมาคิดหาคนทดแทน ซึ่งกว่าจะหาคนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงมาทดแทนได้ก็ยาก และบางทีก็ใช้เวลานาน
9105 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์