• หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • กลยุทธ์HR เรื่องความเสี่ยงขององค์กร ถ้าไม่บริหารทรัพยากรบุคคลให้ดี

กลยุทธ์HR เรื่องความเสี่ยงขององค์กร ถ้าไม่บริหารทรัพยากรบุคคลให้ดี

  • หน้าแรก

  • HR Articles (hide)

  • กลยุทธ์HR เรื่องความเสี่ยงขององค์กร ถ้าไม่บริหารทรัพยากรบุคคลให้ดี

กลยุทธ์HR เรื่องความเสี่ยงขององค์กร ถ้าไม่บริหารทรัพยากรบุคคลให้ดี

กลยุทธ์HR เรื่องความเสี่ยงขององค์กร ถ้าไม่บริหารทรัพยากรบุคคลให้ดี

    การบริหารทรัพยากรบุคคลในปัจจุบันนี้ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ต้องการประสบความสำเร็จตามพันธกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ปัจจัยที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งก็คือ ทรัพยากรบุคคลขององค์กรนั่นเอง 

    อย่างไรก็ดี เรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลสำหรับองค์กรต่างๆ ต่างก็ให้ความสำคัญที่ไม่ค่อยเท่ากันเท่าไหร่ บางองค์กรก็ให้ความสำคัญในเรื่องของคนเป็นอย่างมาก บางองค์กรก็ให้ความสำคัญเรื่องคนเป็นเรื่องๆ ไป และบางองค์กรก็ไม่ให้ความสำคัญอะไรเลย ถ้าองค์กรไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลจะมีความเสี่ยงอะไรเกิดขึ้นบ้างลองมาดูกันนะครับ 

ขาดคนเก่ง และคนที่เหมาะสมกับองค์กร

การที่องค์กรไม่ให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหารคน แปลว่า องค์กรนั้นก็ไม่ได้ต้องการหาคนเก่งเข้ามาทำงานในองค์กร ดังนั้นเรื่องของการสรรหาคัดเลือกพนักงานก็ทำไปโดยให้สามารถหาคนเข้ามาทำงาน ได้ แต่คนที่หาเข้ามานั้นจะเป็นอย่างไร หรือมีคุณสมบัติอย่างไรก็ไม่สนใจอะไรมาก ผลก็คือ องค์กรก็จะขาดคนเก่ง ขาดคนที่จะเข้ามาสร้างความก้าวหน้า พนักงานที่หาเข้ามา ก็ทำงานไปตามหน้าที่ปกติ ถ้าต้องการให้ทำงานอะไรที่ยากขึ้นอีกหน่อย พนักงานก็ไม่อยากทำ หรือบางคนก็ทำไม่ได้ นี่คือความเสี่ยงแรกที่องค์กรต้องระวังถ้าไม่ให้ความสำคัญต่อการบริหารคน 

ขาดการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง

อีกเรื่องที่องค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องของทรัพยากรบุคคลมักจะทำกันก็ คือ มักจะไม่ให้ความสำคัญในการพัฒนาพนักงาน งบประมาณที่จะใช้ในการพัฒนาพนักงานก็ไม่มี และไม่คิดที่จะมีด้วย เวลามีใครเสนอว่าควรจะพัฒนาพนักงานให้เก่งขึ้น ก็มักจะมีคนค้านว่า เสียเวลาทำงาน พัฒนาไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ถ้าเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นในองค์กรจริงๆ ลองจินตนาการไปอีกสัก 5 ปีข้างหน้าว่าองค์กรจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่าองค์กรคงตามคนอื่นไม่ทันแน่นอน โลกไปไกลแล้ว แต่องค์กรกลับย่ำอยู่กับที่ หรือจริงๆ แล้วก็คือ ถอยหลังไปเรื่อยๆ 

ขาดผู้สืบทอดตำแหน่ง

อีกปัญหาหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นสำหรับองค์กรที่ขาดการดูแลเรื่องของคน หรือพนักงาน ก็คือ การขาดผู้สืบทอดตำแหน่งในการทำงาน บางองค์กรมีพนักงานที่มีฝีมือดี ทำงานดี อยู่ทำงานไปเรื่อยๆ โดยที่ผู้บริหารไม่ได้คิดเรื่องของการสร้างคนขึ้นมาทดแทน สุดท้ายพอพนักงานคนเก่ง ใกล้เกษียณอายุ ค่อยเพิ่งมานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรดี ซึ่งเอาเข้าจริงๆ ก็พัฒนาคนไม่ทัน จึงทำให้ต้องใช้วิธีการต่ออายุพนักงานที่เกษียณอายุคนนั้นออกไปอีก พอได้ต่อเวลา ก็เลยลืมเรื่องของการพัฒนาคนอีก สุดท้ายก็เลยไม่มีการพัฒนาใครเพื่อขึ้นมาสืบทอดตำแหน่งงาน ทำให้การทำงานขององค์กรขาดช่วง และทำให้ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในองค์กรนั้นหายไปพร้อมกับพนักงานที่เกษียณอายุไป 

ขาดพนักงานที่ทุ่มเทให้กับองค์กร

สุดท้ายการที่องค์กรไม่ให้ความสำคัญในการบริหารทรัพยากรบุคคลเลย ความเสี่ยงอีกเรื่องที่อาจเกิดขึ้นก็คือ พนักงานในองค์กรขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน เนื่องจากผู้นำขององค์กรมองพนักงานเป็นแค่เพียงเครื่องจักรที่คอยสร้างผลงาน ให้เท่านั้น ไม่มีการดูแลเอาใจใส่ทั้งในเรื่องของค่าจ้างและสวัสดิการต่างๆ สุดท้ายพนักงานก็มีแค่คิดที่จะหาทางออกจากองค์กรเพื่อไปหาอนาคตที่ดีกว่าที่องค์กรอื่น ความเสี่ยงต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ถ้าเกิดขึ้นในองค์กรของท่าน ย่อมจะทำให้อนาคตขององค์กรเกิดความไม่แน่นอนขึ้น เนื่องจากความสำเร็จต่างๆ ขององค์กรที่จะเกิดขึ้นนั้นล้วนมาจากทรัพยากรบุคคลในองค์กรทั้งสิ้น การที่ผู้บริหารไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ และมองแค่เพียงผลกำไร และยอดขายขององค์กรเพียงอย่างเดียวนั้น เป็นการมองอนาคตขององค์กรในระยะสั้นๆ เท่านั้น ถ้าผู้บริหารคนใดที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีความต้องการให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้นั้น สิ่งที่จะต้องทำก็คือ การวางแผนและเตรียมความพร้อมทุกอย่างในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลนั่นเอง 

ที่มา : www.siamhrm.com

 1278
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

แม้ว่าการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานนั้น จะมี AI เข้ามาช่วยมากขึ้นในการ screen และ การ Matching คุณสมบัติของผู้สมัคร อีกทั้งยังมี chatbot ที่เข้ามาช่วยในการพูดคุยสัมภาษณ์เบื้องต้นได้ แต่สุดท้าย เราก็ยังคงต้องมีการสัมภาษณ์แบบที่เป็นมนุษย์คุยกันอยู่
1222 ผู้เข้าชม
ความหลากหลายของบุคลากรในตลาดแรงงานหรือการบริหารงานแบบองค์กรนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละอย่างต่างก็มีลักษณะและข้อดีกับองค์กรที่แตกต่างกัน ซึ่งความหลากหลายต่างๆ นั้นมีดังนี้
2193 ผู้เข้าชม
มีการเผยแพร่บทความที่น่าสนใจเรื่อง 6 People Strategies for Startups โดย Shefali Anand อดีตผู้สื่อข่าวของ Wall Street Journal ในประเทศอินเดีย เขามีโอกาสติดตามข่าวสารด้านการลงทุนต่างๆ ของนักลงทุนหน้าใหม่ตลอดเวลา จึงมีข้อมูลนำมาประมวล จนสรุปคำแนะนำที่น่าจะสร้างแนวคิดหรือประโยชน์แก่คนที่อยากเป็นเถ้าแก่รุ่นใหม่มือใหม่ของบ้านเรา
1842 ผู้เข้าชม
1.ไม่เป็นไร ผิดพลาดกันได้ ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ทำงานผิดพลาดแล้วยังจะมานั่งโทษตัวเองให้เหนื่อยทำไม ให้กำลังใจตัวเองเพื่อทำงานชิ้นต่อไปดีกว่า ยิ่งเรามัวจมกับความผิดพลาดเดิม ๆ เราก็จะทำงานอื่นต่อไม่ได้ สู้เอาความผิดพลาดมาทำให้ถูกต้องในงานชิ้นใหม่ดีกว่า สัจธรรมของชีวิตที่ต้องจำไว้อย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีใครจำเรื่องของคนอื่นนานหรอก ถึงใครจะว่าเรามากมายแค่ไหน แต่พอเดินพ้นหน้าเราไปเขาก็ต้องคิดเรื่องอื่นแทน แล้วเราจะมาลงโทษตัวเองอยู่ทำไม 2.งานไม่ได้หนักทุกวันสักหน่อย เดี๋ยวก็ได้พักแล้ว เวลางานล้นมือเราอาจท้อ แต่ท้อไปงานก็ไม่เสร็จ ลุกมาทุ่มเททำให้เสร็จ ๆ ไปดีกว่า เหนื่อยแค่ไหนเดี๋ยวก็ได้พัก และสิ่งที่เราต้องทำเมื่องานเยอะ คือจัดระเบียบเส้นตายของงานแต่ละชิ้น เจรจาต่อรองถ้าคิดว่าจะไม่เสร็จตรงเวลา แล้วก็ค่อย ๆ ทำไปทีละงาน เดี๋ยวดีเอง 3.ถึงจะไม่เก่งงานนี้ แต่เราก็พยายามเต็มที่แล้ว บ่อยครั้งที่เราได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด ก็คิดเสียว่าไม่เป็นไร ทำให้เต็มที่ แต่ก่อนทำก็บอกคนที่มอบหมายหน่อยว่าไม่ค่อยถนัดนะ แต่จะทำเต็มที่ ผิดพลาดอะไรก็บอกได้ เขาจะได้ไม่คาดหวังมาก แต่ถ้าทำออกมาแล้วดีก็ถือเป็นกำไร อย่าเสียใจที่ทำงานบางประเภทไม่เก่ง เพราะเราก็อาจจะเก่งในงานประเภทอื่นก็ได้ จำไว้ว่าปลาอาจจะว่ายน้ำเก่งกว่าลูกสุนัข แต่ปลาก็วิ่งไม่ได้เหมือนกัน ถ้าปลาตัวหน่งจะโดดขึ้นมาบนบกแล้วคืบคลานจนถลอกปอกเปิกก็คงไม่มีใครว่าอะไร เพราะมันเป็นปลาจริงไหม
1226 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์