เคล็ดลับ HR สำหรับสอนงานระดับผู้บริหาร

เคล็ดลับ HR สำหรับสอนงานระดับผู้บริหาร



ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการ และพนักงานระดับต่างๆ ล้วนสนใจการพัฒนาภายใต้รูปแบบการสอนงานด้านธุรกิจที่มีการคิดค้นขั้นตอนการพัฒนาเฉพาะตัว ในส่วนนี้ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาบุคคลต้องเข้ามามีส่วนในการสอนงาน มิเช่นนั้นอาจพลาดโอกาสสำคัญที่จะพัฒนาคนรุ่นใหม่ขององค์กร

 จากคำกล่าวของ Winston Corner ที่ปรึกษาด้านการสอนงานชั้นนำ “การสอนงานมีความแตกต่างจากการอบรม เพราะการอบรมเป็นการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้จัดการและพนักงาน ที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการถ่ายทอด จึ่งไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าใด ส่วนการสอนงานนั้นได้ผลดีกับผู้จัดการ เพราะสามารถออกแบบวิธีการสอน และเน้นไปที่ทักษะเฉพาะด้าน ซึ่งการสอนงานนี้ สามารถช่วยผู้จัดการเปลี่ยนพฤติกรรมได้ตามต้องการและสร้างความเจริญเติบโตในสายอาชีพได้” ซึ่งเขาได้แนะนำว่า การสอนงานควรกำหนด Competency (คุณสมบัติอันพึงประสงค์) ให้ชัดเจน จึงจะได้ผลดีเยี่ยม จากนั้นควรวัดผลอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับให้การสนับสนุน

 

Winston Corner กล่าวว่าฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรเป็นหน่วยงานสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กร “ฝ่ายทรัพยากรบุคคลสามารถเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการเป็นผู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ไม่ควรทำตัวเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้า” เขายังเตือนอีกว่า “ควรที่จะรื้อทักษะเก่าๆ มาสอนงานใหม่ ในฐานะฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องสามารถหาทางออกที่ดีได้ ในการสอนงาน เราไม่ควรให้คำตอบแก่พนักงานโดยตรง แต่เราควรจะแนะนำระบบและวิธีการที่จะช่วยให้พนักงานได้ค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง”

ในการนี้ Winston Corner ได้แนะนำเคล็ดลับในการสอนงานให้ผู้บริหารดังต่อไปนี้

 

คุณต้องได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่สอน

การสอนงานที่มีประสิทธิภาพต้องกำหนดขอบเขตด้านความสัมพันธ์ของระดับผู้จัดการให้แน่ชัด ว่าเขาคนนั้นเป็น ที่ปรึกษาหรือเพื่อนที่ไว้ใจได้หรือไม่? เขาจะสามารรจะรับฟังและให้การประเมินผล ( Feedback) ได้หรือไม่ ? เขาสามารถดำเนินการประเมินผลแบบ 360 องศา ให้การประเมินผล และสร้างแผนปฏิบัติได้หรือไม่? ดังนั้นฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องกำหนดบทบาทการสอนงานให้กับผู้จัดการแผนกต่างๆและตัวผู้จัดการเองต้องเห็นด้วยที่จะทำงานในหน้าที่นี้

 

การสอนงานไม่ใช่การควบคุม

ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องเป็นผู้คอยช่วยเหลือให้กับผู้จัดการแผนก โดยต้องสร้างความสัมพันธ์กับผู้จัดการที่ทำหน้าที่สอนงาน เพื่อการพัฒนาขององค์กรและการพัฒนาของตัวผู้จัดการเอง ซึ่งต้องใช้ความรู้ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับผู้จัดการแผนกต่างๆ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้พวกเขาทำหน้าที่สอนงานอย่างเต็มใจ

 

ทำหน้าที่เป็นผู้สอนงานที่มีความรู้ และเป็นแหล่งรวมความรู้ – บอกความจริงเมื่อคุณไม่รู้คำตอบ

พวกผู้จัดการและหัวหน้างานต่างต้องการให้คุณช่วยแนะนำเวลาที่พวกเขาไม่แน่ใจในบางสถานการณ์ ซึ่งจะทำให้คุณต้องพบคำถามยากๆหรือสถานการณ์ที่ซับซ้อนในการแก้ปัญหา ควรจำไว้ว่าในบางครั้งพวกผู้จัดการต่างต้องการหาความมั่นใจและการยืนยัน ถึงแม้พวกเขาจะทราบคำตอบที่ถูกต้องแล้วก็ตาม ดังนั้นคุณควรกระตุ้นความสามารถและความเคารพในตัวเอง ด้วยการถามกลับไปว่าคุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับกรณีนี้ ? พร้อมกับยืนยันว่าแนวคิดของเขานั้นถูกต้องแล้ว ซึ่งหน้าที่ของคุณในส่วนนี้จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับ Competency แต่คุณไม่ควรที่จะแสดงออกมาอย่างชัดเจนว่า คุณเองก็รู้คำตอบเหมือนกัน ในบางครั้งคุณเองก็ไม่ทราบคำตอบที่ถูกต้อง ก็ให้บอกไปตามตรง ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่จะบอกไปตามตรงว่าคุณไม่ทราบ จากนั้นก็รับปากว่าจะนำไปตรวจสอบและหาคำตอบให้ อย่างนี้ดีกว่าการให้คำตอบไปผิดๆซึ่งจะทำให้คุณเสื่อมเสียชื่อเสียงได้

 

ช่วยแนะนำให้ผู้จัดการหาทางออกด้วยตัวเอง

คนทั่วไปรู้ว่าอะไรถูกต้องและเป็นสิ่งเหมาะสมที่จะทำ งานของคุณคือชี้แนะ หากคุณให้คำตอบไปตรงๆ พวกผู้จัดการจะไม่สามารถสร้างระบบการคิดได้เอง Winston Corner แนะนำว่าผู้สอนงานควรชี้แนะไปว่า “ ลองหาความเป็นไปได้ดู ว่าทางเลือกไหนเป็นสิ่งที่คุณต้องการใช้มากที่สุด?” ซึ่งจะทำให้พวกเขารู้สึกมั่นใจในผลลัพธ์มากขึ้น

 

คุณสามารถให้ทางเลือก และแนะนำแหล่งข้อมูลได้ คุณสามารถให้ความคิดเห็นได้ แต่คำตอบจริงๆนั้นควรให้พวกผู้จัดการตอบเอง โดยการถามย้อนไปว่า ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้คุณจะตอบสนองอย่างไร ? คุณจะตัดสินใจทำอย่างไร ?


ที่มา: impressionconsult

 1203
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

HR Articles

Talent Management หรือ ระบบการบริหารจัดการคนเก่ง เป็นเครื่องมือทางการบริหารทรัพยากรบุคคลอยางหนึ่งที่ในปัจจุบันองค์กรจํานวนมากกำลังให้ความสนใจกับการบริหารจัดการคนเก่งที่มีอยูในองค์กร หากจะกำหนดนิยามของ Talent Management ก็อาจกล่าวได้ว่า Talent Management หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และวางแผนที่มีความสอดคล้องกันในการหาแหล่งที่มา (Sourcing) กลั่นกรอง (Screening) การคัดเลือก (Selection) การนําไปใช้ (Deployment) การพัฒนา (Development) และการทําให้คงอยู่(Retention) ของทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพสูงและ สามารถทํางานได้อยางมีประสิทธิภาพสูงสุด
12893 ผู้เข้าชม
เศรษฐกิจขาลงอย่างนี้ ตัวเลขคนว่างงานพุ่งสูงขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน ความยากในการหางานใหม่ก็ทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว เราเลยรีบหยิบเทคนิคหางานให้รุ่งมาฝากกันโดยพลัน
844 ผู้เข้าชม
แรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation) หรืออาจจะเรียกได้ว่า พนักงานสัมพันธ์ (Employee Relation) หรืออุตสาหกรรมสัมพันธ์ (Industrial Relation) เป็นความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้อง หรือการปฏิบัติต่อกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายนายจ้าง หรือฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายจัดการฝ่ายหนึ่ง กับฝ่ายลูกจ้าง หรือฝ่ายพนักงาน หรือฝ่ายผู้ปฏิบัติงานอีกฝ่ายหนึ่ง
23390 ผู้เข้าชม
ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการ และพนักงานระดับต่างๆ ล้วนสนใจการพัฒนาภายใต้รูปแบบการสอนงานด้านธุรกิจที่มีการคิดค้นขั้นตอนการพัฒนาเฉพาะตัว ในส่วนนี้ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาบุคคลต้องเข้ามามีส่วนในการสอนงาน มิเช่นนั้นอาจพลาดโอกาสสำคัญที่จะพัฒนาคนรุ่นใหม่ขององค์กร
1203 ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์