คำถามที่พบบ่อย FAQs
Q : กรณี Text file ภงด. ผ่านโปรแกรมโอนย้ายข้อมูลของกรมสรรพากร ไม่ได้ มีวิธีการตรวจสอบอย่างไร
A : ขั้นตอนการโอนย้ายข้อมูลผ่านโปรแกรมโอนย้ายข้อมูลแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด. 1
1. กรณีที่มีการ generate text file จากโปรแกรม โดยไม่เลือก “ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต” ตัวอย่างข้อมูลการกรอกรหัสข้อมูลเงินได้
จากโปรแกรมโดยไม่เลือก “ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต”
สามารถกำหนดได้ดังนี้
1. กรอกข้อมูลเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (13 หลัก)
2. กรอกข้อมูล สาขา จากนั้นเลือก
3. เลือกไฟล์ที่จะนำมาโอนย้ายข้อมูล(Text file) จากโปรแกรม
4. เลือกเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน และ เลือกปี พ.ศ. 5. จากนั้นกรอก ข้อมูลในแท็บต่าง ๆ ดังนี้
5.1 รหัสข้อมูล (ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง)
รหัสเงินได้
เงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ กรณีทั่วไป ให้กรอกเลข “1”
เงินได้ตามมาตรา 40 (1)เงินเดือน ค่าจ่าง ฯลฯ กรณีได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากรให้หักร้อยละ 3 ให้กรอกเลข “2”
เงินได้ตามมาตรา 40 (1)(2) กรณีนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะสาเหตุออกจากงาน กรอกเลข “3”
เงินได้ตามมาตรา 40 (2) กรณีผู้รับเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย กรอกเลข “3”
เงินได้ตามมาตรา 40 (2) กรณีผู้รับเงินได้มิได้อยู่ในประเทศไทย กรอกเลข “4”
รหัสเงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย หัก ณ ที่จ่าย กรอกเลข “1” ออกให้ตลอด กรอกเลข “2” ออกให้ครั้งเดียว กรอกเลข “3”
ตัวอักษรที่ใช้แบ่งแยกข้อมูล ใช้ “ | “
5.2 ตำแหน่งข้อมูล (ตามภาพด้านล่าง) ข้อมูล (จำนวนตัวอักษรสูงสุด) ในส่วนของข้อมูลตรงนี้ต้องเทียบกับ
ไฟล์ที่นำออกมาจากโปรแกรมซึ่งจะนำมากำหนดจำนวนตัวคั่น ตามตัวอย่างด้านล่างนี้
ตัวอย่างการกำหนดตำแหน่งข้อมูลในส่วนของ “ตัวคั่นที่” ตามตัวอย่าง Text file
หมายเหตุ : รูปแบบการกำหนดตัวคั่น ใน Tab ตำแหน่งข้อมูล สามารถเปลี่ยนแปลงไปตาม Text file ที่นำออกมา
2. กรณีที่มีการ generate text file จากโปรแกรม โดยเลือก “ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ต” เปลี่ยนแปลงในหน้าจอตามภาพ