• หน้าแรก

  • HR Articles

  • การกำหนดและวัดผล KPI ขั้นตอนสำคัญเพื่อความสำเร็จขององค์กร

การกำหนดและวัดผล KPI ขั้นตอนสำคัญเพื่อความสำเร็จขององค์กร

  • หน้าแรก

  • HR Articles

  • การกำหนดและวัดผล KPI ขั้นตอนสำคัญเพื่อความสำเร็จขององค์กร

การกำหนดและวัดผล KPI ขั้นตอนสำคัญเพื่อความสำเร็จขององค์กร

ตัวชี้วัด KPI ในปัจจุบันมีความเป็นดิจิทัลและมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์กร มีการเน้นที่ผลลัพธ์และคุณภาพ การเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ระดับสูง สามารถปรับเปลี่ยน KPI ตามสถานการณ์และกลยุทธ์องค์กร โดยจะเน้นคุณภาพและผลลัพธ์ระยะยาว รวมถึงการมีส่วนร่วมของพนักงาน และการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ KPI เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

KPI (Key Performance Indicators) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการดำเนินงาน และประเมินประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ดังนั้นการกำหนด KPI ที่ดีและมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้องค์กรสามารถวัดความสำเร็จและปรับปรุงการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง และนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว

เทคนิคในการกำหนด KPI ที่มีประสิทธิภาพเพื่อความสำเร็จขององค์กร

  1. การวิเคราะห์วัตถุประสงค์: เป็นขั้นตอนแรก ที่องค์กรควรทราบวัตถุประสงค์หลักของงานที่ต้องการวัดผลสำเร็จ เช่น การเพิ่มรายได้ การลดต้นทุน การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน การเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า เป็นต้น การทราบวัตถุประสงค์เหล่านี้ จะช่วยให้องค์กรสามารถวัดผลได้ และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กรที่ต้องการได้
  1. การกำหนด KPI: องค์กรควรเลือกและกำหนด KPIs ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานนั้นๆ โดย KPI ควรเป็นตัวชี้วัดที่เป็นไปตามหลักคำสั่ง SMART Goal เพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพในการติดตามและประเมินผล ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

SMART Goal

  • Specific เป้าหมายควรมีความเฉพาะเจาะจง
  • Measurable วัดผลได้
  • Achievable สามารถทำได้
  • Relevant สอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่
  • Time-bound มีกรอบเวลาชัดเจน
  1. การติดตามและวัดผล: เมื่อกำหนด KPI เรียบร้อย องค์กรควรทำการวัดผลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน KPI อย่างเป็นระบบและมีกระบวนการที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถตรวจสอบว่ากิจกรรมและการดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพหรือไม่ จากนั้นวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้ โดยอาจใช้ระบบการสำรวจหรือการเก็บข้อมูล
  2. การประเมินผลและปรับปรุง: เมื่อได้รับผลการวัด KPI แล้ว ควรทำการประเมินผลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทราบความสำเร็จหรือปัญหาที่เกิดขึ้น หากพบว่าผลลัพธ์ไม่ตรงกับเป้าหมายที่กำหนด ควรนำปัญหาที่ได้มาปรับปรุงและดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด และเหมาะสมที่สุด เพื่อให้งานนั้นประสบความสำเร็จ
ขั้นตอนการกำหนด KPI

ตัวอย่างการกำหนด KPI สำหรับองค์กร

KPI: อัตราการเพิ่มขึ้นของยอดขาย

เป้าหมาย: เพิ่มยอดขายสินค้า A 20% ในไตรมาสหน้า

เหตุผล: เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจและเพิ่มรายได้

วัดผล: จำนวนยอดขายสินค้า A ในไตรมาส

 

KPI: อัตราการลดต้นทุนการผลิต

เป้าหมาย: ลดต้นทุนการผลิตสินค้า B 5% ภายในปี

เหตุผล: เพื่อเพิ่มกำไรสุทธิและเพิ่มความแข็งแกร่งในการแข่งขัน

วัดผล: อัตราต้นทุนการผลิตสินค้า B ในแต่ละไตรมาส

 

10 ข้อควรระวังในการตั้งกำหนดตัวชี้วัด KPI

การตั้ง KPI เป็นกระบวนการที่สำคัญและซับซ้อน และมีข้อควรระวังหลายประการเพื่อให้ KPI ที่กำหนดมีประสิทธิภาพและไม่เกิดผลลบต่อองค์กร ต่อไปนี้เป็น

  1. อย่าตั้ง KPI ที่ไม่สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร
  2. ระวังการตั้ง KPI ที่วัดผลได้ยาก
  3. หลีกเลี่ยงการตั้ง KPI ที่มากเกินไปและมีความขัดแย้งกัน
  4. หลีกเลี่ยงการตั้ง KPI ที่มีความขัดแย้งกัน
  5. อย่าตั้ง KPI ที่ไม่มีกรอบเวลาชัดเจน
  6. ระวังการตั้ง KPI ที่เกินความสามารถของทีมงาน
  7. หลีกเลี่ยง KPI ที่เน้นกิจกรรมมากกว่าผลลัพธ์
  8. อย่ามองข้ามปัจจัยภายนอกที่อาจมีผลต่อ KPI เช่น เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงในตลาด หรือปัจจัยอื่นๆ ควรได้รับการพิจารณาในการตั้ง KPI เพื่อให้การวัดผลเป็นไปอย่างสมจริง
  9. ตรวจสอบและปรับปรุง KPI อย่างสม่ำเสมอ
  10. หลีกเลี่ยงการใช้ KPI เป็นเครื่องมือในการลงโทษ KPI ควรเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงและพัฒนา

 

สรุป การใช้ตัวชี้วัด KPI ในปัจจุบันต้องมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและเทคโนโลยี รวมถึงการใช้เครื่องมือดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในองค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรในระยะยาว

หากองค์กรของคุณ กำลังมองหา เครื่องมือที่ช่วยกำหนดตัวชี้วัด "KPI" และช่วยประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน  เราขอแนะนำระบบประเมินผลพนักงาน Prosoft HCM ตัวช่วยในการประเมินผลการปฏิบัติงานจัดการบุคลากรภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกระบวนการที่ดีที่สุด ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีระบบ Setup ที่ใช้สำหรับการตั้งค่าข้อมูลเริ่มต้นต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นในส่วนขององค์กร พนักงาน สิทธิ์การเข้าถึง รวมไปถึงค่าตั้งต้นของแบบประเมิน KPI และแบบประเมินสมรรถนะ Competency การจัดการตัวชี้วัด (KPI) การเพิ่มคะแนนประเมิน จนถึงการหักคะแนนประเมินจากเอกสารภายนอก

ระบบประเมินผลพนักงาน Prosoft HCM ที่รองรับการประเมินได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ประเมิน KPI ประเมินสมรรถนะ Competency ประเมินผลงานแบบ 360 องศา พนักงานประเมินตนเอง ประเมินองค์กร ประเมินประจำปี ผู้บริหารสามารถตรวจสอบแบบประเมินของพนักงานภายใต้สังกัดได้ พร้อมออกรายงานสรุปผลการประเมินให้พนักงานทราบคะแนนของตนเองในด้านต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังสามารถใช้งานผ่าน Smart Phone ตอบโจทย์ทุก Lifestyle ของคนรุ่นใหม่ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Prosoft HCM หรือลงทะเบียนทดลองใช้งาน

 975
ผู้เข้าชม
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์