บุคลิกภาพของผู้สมัครงานที่นายจ้างต้องการ

บุคลิกภาพของผู้สมัครงานที่นายจ้างต้องการ


     ระหว่างรอการตัดสินเรามาดูกันดีกว่าว่า บริษัทหรือนายจ้างของคุณในอนาคตเขาใช้มาตรการอะไรเป็นเครื่องตัดสินว่าควรจะ เลือกใครที่มีความเหมาะสมที่สุดในการรับเข้าทำงาน เพื่อนประโยชน์ในการปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับความต้องการของบริษัทมากขึ้น โดยหัวข้อประเมินมีดังนี้

แนวทางประเมินผู้สมัครงาน   
     แต่ละบริษัทมีวิธีประเมินผู้สมัครงานต่างกันออกไป  โดยบางหน่วยงานก็ประเมินผู้สมัครตามหัวข้อสั้น ๆ ต่อท้ายแบบฟอร์มการสมัครงาน โดยจะใช้วิธีการให้คะแนนจาก 1 ถึง 10 แต่บางบริษัทก็จะให้เป็นเกรดคือ A B C D E และมีช่องแสดงความคิดเห็นว่าควรจ้างหรือไม่ แต่ถ้าการสัมภาษณ์มีผู้สัมภาษณ์หลายคน ก็อาจจะใช้วิธีรวมคะแนนจากผู้สัมภาษณ์ทุก ๆ คน เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับผู้สมัครคนอื่น ๆ

การประเมินความประทับใจ

      จะเริ่มนับตั้งแต่พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด และพฤติกรรมที่เป็นคนพูดในลักษณะต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งที่ควรหรือไม่ควรพูดในช่วงการสัมภาษณ์ และจะถูกรวมเป็นลักษณะทางบุคลิกภาพต่าง ๆ ของคุณ หรือผู้สัมภาษณ์บางคนอาจเกิดอคติส่วนตัวจึงอาจจะทำให้ไม่ได้รับเข้าทำงานก็เป็นได้แม้ว่าคุณจะตอบคำถามได้ดีเลิศเพียงใดแต่เมื่อพบกันครั้งแรกแล้วไม่ถูกชะตาก็คงต้องถือว่าเป็นกรรมเก่าแล้วกัน หรืออีกสาเหตุคือเขามีคนที่เตรียมไว้แล้วแต่การเรียกสัมภาษณ์เพื่อเป็นธรรมเนียมในการรับคนเท่านั้น ซึ่งทั้งสองกรณีคุณก็ไม่สามารถที่จะโทษใครได้

     การไม่ได้งาน อาจเกิดจากการตกสัมภาษณ์ ซึ่งคุณก็ควรที่จะเตรียมตัวก่อน อ่านเพิ่มเติม:วิธีเตรียมตัวก่อนไปสมัครงาน หรือมีสาเหตุมาจากตัวเอง และอาจจะหมายความว่า คุณมีลักษณะบางอย่างที่ไม่เหมาะสมที่จะรับตำแหน่งนั้น ๆ ก็เป็นได้ ในช่วงระหว่างนี้ เรามาดูวิธีการพิจารณาเหตุผลในการตกสัมภาษณ์ที่ได้รวบรวมจากที่ต่าง ๆ เอาไว้ ดังนี้

1. พฤติกรรมที่ไม่ใช่คำพูด

1.1 แต่งกายสกปรก ไม่สุภาพ ไม่เหมาะสม

1.2 หลุกหลิก ไม่มีสัมมาคารวะ

1.3 ท่าทางจะยืนนิ่ง ขาดความมั่นใจ วิตกกังวล และลุกลี้ลุกลน

1.4 ไม่กล้าสบตากับผู้สัมภาษณ์ มือไม้สั่น

1.5 ดูเซื่องซึม ห่อเหี่ยว เฉื่อยชา ขาดชีวิตจิตใจ

1.6 ระหว่างการสัมภาษณ์แสดงกิริยาน่ารังเกียจ

1.7 วางท่ามากเกินไป หรือดูแล้วเป็นคนเหยียดผู้อื่น ทำให้เกิดความรู้สึกว่าคงจะเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ลำบาก

2. พฤติกรรมที่เป็นคำพูด

2.1 อ้ำอึ้ง ไม่มีการเตรียมตัว แม้การเล่าเรื่องของตัวเองก็เล่าสับสน จับต้นชนปลายไม่ถูก

2.2 ต่อปากต่อคำ หรือโต้แย้งกับผู้สัมภาษณ์ ขาดเหตุผล และใช้อารมณ์

2.3 พูดมากไป พูดจนดูเหมือนเป็นการโอ้อวดมากเกินไป

2.4 ซักถามเรื่องส่วนตัวของผู้สัมภาษณ์ หรือถามเกี่ยวกับสวัสดิการมากกว่าเรื่องงาน

2.5 เส้นตื้นทุกเรื่อง พูดไปก็หัวเราะไป

2.6 ขาดจุดยืน ใครจะพูดอะไรก็เห็นด้วยกับคนอื่นไปหมด

2.7 ใช้วาจาไม่สุภาพ ก้าวร้าว หรือใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม

2.8 ตอบคำถามไม่กระจ่าง ไม่ตรงจุด และพูดไม่รู้เรื่องวกไปวนมา

2.9 เล่าแต่ปัญหาของตนเอง และขอความเห็นใจในลักษณะต่างๆ

2.10 พูดคล้ายไม่ให้ความสำคัญในการสัมภาษณ์งาน เป็นประเภทลองมาดูเล่นๆ

2.11 เรียกค่าจ้างสูงเกินไป

2.12 ขาดไหวพริบ ปฏิภาณ ไม่รู้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร

2.13 แสดงความเห็นรุ่นแรง2    

3. ขาดความรู้ในด้านต่างๆ

3.1 ขาดความรู้เกี่ยวกับตัวเอง ไม่รู้ถึงจุดเด่น ความสามารถของตัวเอง

3.2 ขาดจุดมุ่งหมายของชีวิตหรืออาชีพ

3.3 ขาดความรู้เกี่ยวกับบริษัท โดยไม่รู้ว่าบริษัทที่ไปสมัครนั้นต้องการรับสมัครงานตำแหน่งใด

3.4 ขาดความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาการที่ควรรู้ หรือไม่ความรู้ไม่แน่นพอ

3.5 ขาดความเป็นผู้ใหญ่ หวั่นไหวง่าย

4. ข้อปลีกย่อยอื่น ๆ

4.1 มีนิสัยที่ไม่สมควรบางประการ เช่น รักความสนุกสนาน รักความสบาย ไม่สู้งาน

4.2 พื้นฐานครอบครัว มีปัญหากับทางบ้าน

4.3 ผลการเรียนอ่อนมาก อาจจะทำให้มองว่าไม่ฉลาด สอนงานลำบาก

       เมื่อถึงตรงนี้แล้วหากคุณเข้าข่ายหลายข้อก็อย่าเพิ่งท้อ เพราะการที่เรารู้ตัวเอาว่ามีจุดบกพร่องตรงไหนบ้างนั้นเป็นสิ่งที่ดีเพื่อน คุณจะได้ขวนขวายปรับปรุงตัวเองซะใหม่ และแก้ไขให้ตัวคุณสมบูรณ์มากขึ้น คราวนี้คุณก็จะได้วางตัวได้ถูกลักษณะเวลาเข้ารับการสัมภาษณ์ต่อไป


 6507
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

People Management

ไม่พบรายการที่คุณค้นหา
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์