สมัครงานอย่างไร หากคุณสมบัติสูงเกินไป

สมัครงานอย่างไร หากคุณสมบัติสูงเกินไป


      ผู้หางานที่มีดีกรีสูง ประสบการณ์ยาวเป็นหางว่าวอาจคิดไม่ถึงว่าจะประสบปัญหาการหางาน ไม่ต่างจากนักศึกษาจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์ แต่ปัญหาของคนสองกลุ่มนี้มีสิ่งที่สลับขั้วกันอยู่นั่นคือ นักศึกษาจบใหม่นั้น คุณสมบัติยังต่ำกว่ามาตรฐานที่นายจ้างต้องการ ในทางกลับกัน ผู้หางานบางคนกับมีคุณสมบัติที่สูงกว่ามาตรฐานที่นายจ้างต้องการ จึงเป็นสาเหตุให้หางานทำไม่ได้เสียที

     มาดูกันว่าเหตุใดนายจ้างจึงไม่สนใจคนที่มีคุณสมบัติสูงมาร่วมงาน ทั้งที่บริษัทควรจะดีใจที่มีคนเก่ง ๆ มีความสามารถสูงสมัครงานเข้ามา

 

เรื่องเงินเรื่องใหญ่

      ผู้หางานบางคนอาจยอมลดเงินเดือนตัวเอง เพื่อให้ได้งานในภาวะเศรษฐกิจขาลง แต่นายจ้างกลัวว่า ผู้หางานเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะลาออก เมื่อพวกเขาได้งานใหม่ที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า ในเมื่อพวกเขามีความสามารถสูง พวกเขาย่อมต้องการค่าตอบแทน และตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับความสามารถของพวกเขาเพื่อความก้าวหน้าในชีวิต

 

เรื่องของความเหมาะสม

      ผู้หางานมักคิดว่า เมื่อนายจ้างกำหนดคุณสมบัติที่ต้องการไว้แล้ว และพวกเขาพบว่า ตนเองมีคุณสมบัติเหนือกว่าในทุก ๆ ด้าน ย่อมมีโอกาสที่ได้จะรับการคัดเลือกมากกว่าคนอื่น ๆ อย่างไรก็ดีในเกณฑ์ของนายจ้าง มีคำถามที่นายจ้างใช้ถามตัวเองเวลาคัดเลือกพนักงาน ซึ่งก็คือ “ความต้องการ ความสนใจ และคุณค่าในตัวผู้สมัครคนนี้ เหมาะกับงานในตำแหน่งนี้หรือไม่” “เขาเหมาะกับโครงสร้างและวัฒนธรรมขององค์กรหรือไม่”

 

     แม้ว่าผู้สมัครจะมีความสามารถ และทักษะดีเยี่ยมที่จะทำงานในตำแหน่งดังกล่าวได้ แต่นายจ้างอาจพิจารณาจากความเหมาะสมดังกล่าวข้างต้น จึงตัดสินใจไม่รับพวกเขาเข้าทำงาน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเปลี่ยนงานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

     เมื่อทราบถึงข้อกังวลของนายจ้างเช่นนี้แล้ว ผู้หางานจะต้องทำอย่างไร

 

สร้างความมั่นใจให้นายจ้าง

      เมื่อคุณได้มีโอกาสสัมภาษณ์งาน คุณควรสร้างความมั่นใจให้นายจ้างว่า ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติสูงนั้นสามารถเป็นมือขวาให้กับนายจ้าง ซึ่งจะช่วยผลักดันให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การปฎิเสธผู้สมัครที่มีความสามารถ เป็นการปิดกั้นโอกาสที่องค์กรจะได้พนักงานที่ฝืมือดีเข้ามาร่วมงาน รวมถึงปิดกั้นโอกาสที่องค์กรจะเติบโตก้าวหน้าด้วย

 

จัดการกับประวัติการทำงานของคุณ
     การสร้างประวัติการทำงานแต่ละฉบับนั้นต้องสอดคล้องกับคุณสมบัติที่นายจ้างแต่ละแห่งต้องการมากที่สุด ซึ่งจะทำให้นายจ้างทุกคนสนใจในตัวคุณ โดยคุณอาจต้องปรับข้อมูลในประเด็นต่อไปนี้

 

    • เปลี่ยนเป้าหมาย โดยอาจลดตำแหน่งจาก “ผู้จัดการ” เป็น “หัวหน้าทีม” ให้สอดคล้องกับคุณสมบัติที่นายจ้างต้องการ

    • แสดงประวัติการทำงานให้สั้นกระชับ อาจแสดงเพียงงานที่ทำล่าสุด โดยไม่ระบุปี หากคุณเห็นว่า การระบุปีนั้นทำให้คุณดูมีประสบการณ์ที่ยาวนานเกินไป

    • เปลี่ยนชื่อตำแหน่งหากฟังดูสูงส่งเกินไป เช่น เรียกตัวเองเป็นผู้จัดการ แทนที่จะเรียกว่ารองประธานในบริษัทที่มีพนักงานเพียงไม่ถีง 10 คน

    • ไม่ระบุคุณสมบัติเพิ่มเติม เช่น ประวัติการฝึกอบรม และทักษะความรู้ชั้นสูงที่คุณมีเพิ่มเติม
 

     หากผู้หางานมีความตั้งใจจริงที่จะทำงานอย่างเต็มที่แล้วล่ะก็ ไม่ว่าตำแหน่งงานจะเล็กหรือใหญ่ก็ไม่สำคัญ เพราะความสามารถและการพิสูจน์ตัวเองจะทำให้ผู้หางาน เติบโตก้าวหน้าในอาชีพได้ แม้จะเริ่มต้นจากตำแหน่งเล็ก ๆ ก็ตาม




 

 1620
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

People Management

ไม่พบรายการที่คุณค้นหา
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์