เคล็ดลับการวิเคราะห์งานอย่างมีประสิทธิภาพ

เคล็ดลับการวิเคราะห์งานอย่างมีประสิทธิภาพ


     เป็นเรื่องที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ถ้าองค์กรขาดการวิเคราะห์กำลังคนที่มีประสิทธิภาพแล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่จำนวนกำลังคนจะเพิ่มขึ้นอย่างไม่เหมาะสมกับ ปริมาณงานแล้ว ยังมีปัญหาต่าง ๆ ติดตามมาอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ต้นทุนการบริการจัดการสูงเกินความเป็นจริง เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทุจริตคอรัปชั่นสูง หรือใช้ทรัพยากรบุคคลไม่คุ้มค่า เป็นต้นอย่างไรก็ตามเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ มีแนวทางในการวิเคราะห์งาน
10 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

1. ระบุกิจกรรมหลัก
     ถ้าต้องการวิเคราะห์ของหน่วยงานหรือตำแหน่งงานใด คุณควรเริ่มจากการศึกษาดูว่างานหลัก หรือกิจกรรมหลักของหน่วยงานนั้น ๆ มีอะไรบ้าง อะไรคืองานหลัก ซึ่งงานหลักนั้น ๆ มีหน้าที่หรือกิจกรรมหลักอะไรบ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างงานหลัก กับกิจกรรมหลัก อย่างชัดเจนและครอบคลุม เช่น งานจัดซื้อวัตถุดิบ มีกิจกรรมย่อย ๆ คือ รับคำขอซื้อจากหน่วยงานผลิต วางแผนการจัดซื้อ จัดทำใบสั่งซื้อ การตรวจสอบใบสั่งซื้อ อนุมัติใบขอสั่งซื้อ ฯลฯ

 

2. วิเคราะห์ระดับของงาน
     ลองนำกิจกรรมหลักในแต่ละข้อมาวิเคราะห์ว่ากิจกรรมในเรื่องนั้น ๆ เป็นงานระดับไหน ซึ่งระดับของงานแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ งานระดับจัดการ งาควบคุมงาน/บังคับบัญชา และงานระดับปฏิบัติการ ยกตัวอย่างเช่น การจัดทำใบสั่งซื้อถือเป็นงานปฏิบัติการ งานตรวจสอบใบสั่งซื้อถือเป็นงานควบคุมบังคับบัญชา และงานอนุมัติใบขอสั่งซื้อถือเป็นงานระดับจัดการ เป็นต้น

 

3. วิเคราะห์ชั่วโมงและปริมาณงาน
     ให้วิเคราะห์ว่ากิจกรรมนั้น ๆ ใช้เวลาในการทำงานกี่ชั่วโมงกี่นาทีต่อวันหรือต่อ เดือน เช่น ออกใบสั่งซื้อ 300 ใบต่อเดือน ใช้เวลาในการออก ใบละ 5 นาที เวลารวมต่อเดือนคือ 300 x 5 = 1,500 นาที หรือเท่ากับ 25 ชั่วโมงต่อเดือน

 

4. วิเคราะห์ความถี่ในการปฏิบัติงาน
     ลองวิเคราะห์ต่อไปว่ากิจกรรมนั้นต้องทำถี่ หรือบ่อยแค่ไหน เช่น ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน เดือนละ 2-3 ครั้ง สามเดือนครั้ง หรือปีละครั้ง

 

5. วิเคราะห์การใช้ทรัพยากร
     ลองวิเคราะห์ต่อไปว่ากิจกรรมนั้นต้องใช้ทรัพยากรใดบ้าง ที่ไม่ใช่ทรัพยากรบุคคล เช่น ต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์อะไรบ้าง ใช้มากน้อยเพียงใด ใช้บ่อยแค่ไหน เพื่อจะได้นำไปใช้ในการวิเคราะห์เรื่องการจัดสรรทรัพยากรต่อไป

 

6. วิเคราะห์ความเสี่ยงของงานหรือกิจกรรม
     ให้ลองวิเคราะห์ดูว่ากิจกรรมนั้น ๆ มีจุดที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษอะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อจะนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการกำหนดแนวทาง ในการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

 

7. วิเคราะห์ว่าควรจะทำเองหรือให้หน่วยงานข้างนอกทำ
     ขั้นตอนนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการบริหารงานในยุคปัจจุบัน และอนาคต เพราะองค์กรจะได้เตรียมตัวไว้ก่อนว่า งานใดบ้างที่สามารถใช้บริการจากภายนอกทำได้ ซึ่งต้องพิจารณาจากปัจจัยดังนี้ มีบริการภายนอกรองรับหรือไม่ ต้นทุนคุ้มหรือไม่ เมื่อเทียบกับที่ องค์กรดำเนินการเอง มีผลกระทบต่อความลับทางธุรกิจหรือไม่

 

8. ตรวจสอบผลการวิเคราะห์
     เมื่อวิเคราะห์มาทั้ง 7 ขั้นตอนแล้ว ลองตรวจสอบอีกครั้งก่อนที่จะนำไปใช้ในการนำเสนอทางเลือกโดยให้วิเคราะห์ใน 3 ประเด็นคือ

     o งานนั้น (รวมทุกกิจกรรม) ใช้ทรัพยากรเหมาะสมหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกำลังคน เครื่องมืออุปกรณ์

     o งานนั้นมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด

     o งานนั้นมีความเหมาะสมในหลักของการตรวจสอบภายในหรือไม่ เช่น มีการขอเอง ดำเนินการตรวจสอบเองหรือไม่

 

9. กำหนดออกหรือทางเลือก
     เมื่อเราทราบผลการวิเคราะห์งานนั้น ๆ แล้ว ให้ลองนำเสนอแนวทางในการจัดงาน จัดตำแหน่ง จัดกระบวนการในการทำงานที่คิดว่าควรจะเป็น และควรจะกำหนดแนวทางไว้หลาย ๆ แนวทาง และควรวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของแต่ละทางเลือกไว้ เพื่อจะได้นำไปเปรียบเทียบว่า แนวทางใด เหมาะสมมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากิจกรรมที่เราจัดขึ้นอยู่ด้วยกันก็สามารถใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกัน ได้ เป็นต้น

 

10. นำเสนอผู้บริหารระดับสูง
     อย่างไรก็ตาม จากบทความการวิเคราะห์ทั้ง 10 ขั้นตอนที่กล่าวมานี้ เราหวังว่า องค์ใดที่กำลังเผชิญปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกำลังคน เรื่องประสิทธิภาพของงาน เรื่องความเสี่ยงหรือล่อแหลมต่อปัญหาต่าง ๆ คงจะสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นนะคะ


 

ที่มา : www.hrcenter.co.th

 1068
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

People Management

ไม่พบรายการที่คุณค้นหา
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์