10 วิธีทำงานให้เจ้านายรัก

10 วิธีทำงานให้เจ้านายรัก


เกร็ดความรู้จากรามเกียรติ์
     ในวรรณคดีเรื่อง "รามเกียรติ์" นอกเหนือไปจาก
"หนุมาน" พญาลิงเผือกซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ยังมีลิงอีกตัวหนึ่งที่ถูกกล่าวขวัญถึงอยู่เสมอ และเป็นลิงที่สมัยนี้ต้องเรียกว่าเป็นระดับ "บิ๊กลิง" ตัวหนึ่ง นั่นคือ "พาลี" ผู้ครอง "นครขีดขิน" หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า "พาลีสอนน้อง" อันเป็นเรื่องราวตอนหนึ่งในวรรณคดีเรื่องนี้อยู่บ่อยๆ แต่พาลีสอนน้อง น้องคือใคร พาลีมาจากไหน คำสอนว่าอย่างไร เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยคงยังไม่ทราบ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้นำรายละเอียดดังกล่าวมาเผยแพร่

       "พาลี" เป็นลูกของพระอินทร์กับนางกาลอัจนา เดิมมีกำเนิดเป็นคน แต่เพราะถูกฤาษีโคดม สามีของแม่จับได้ว่าเป็นลูกชู้เลยถูกสาปให้เป็นลิง เช่นเดียวกับ "สุครีพ" ที่เป็นลูกของพระอาทิตย์ (ชู้อีกคนของแม่) ทั้งคู่มีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน เพราะเป็นน้องชายของ นางสวาหะ แม่หนุมานที่เป็นพี่สาวร่วมแม่ พาลีเป็นลิงที่มีกายสีเขียว ส่วนสุครีพมีกายสีแดง ทั้งสองเมื่อถูกสาปก็ซัดเซพเนจรอยู่ในป่า พระอินทร์พระอาทิตย์ผู้พ่อ เกิดความสงสารลูกตัวจึงได้สร้างเมืองที่ชื่อว่า "ขีดขิน" ให้ลูกไปอยู่ โดยพาลีมีชื่อเดิมที่พ่อตั้งให้ว่า "พระยากากาศ" เป็นเจ้าเมือง ส่วนสุครีพน้องชายให้ดำรงตำแหน่งเป็นมหาอุปราชแยู่ที่กระทำงานอย่างมีระบบระแบบ

     รามกียรติ์ตอนพาลีสอนน้องนั้นเป็นตอนที่ พาลีกำลังจะตายแล้วเรียกสุครีพ และองคตลูกชายมาสั่งลา พร้อมกับแนะนำสุครีพน้องชายถึงการปฏิบัติตนในการรับใช้ "พระราม" และคำสอนในตอนนี้เอง จึงเป็นที่มาของ "พาลีสอนน้อง" ที่จริง "พาลีสอนน้อง" นี้มีผู้แต่งหลายท่าน แต่ที่นำมาเสนอในที่นี้ เป็นตอนหนึ่งใน บทละครพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเนื้อหาถ้าจะพูดแบบสมัยนี้ก็คือ "แนะวิธีทำงานให้เจ้านายรัก" ว่าต้องทำอย่างไรนั่นเอง สิ่งที่พาลีสอน พอสรุปความได้ว่า

     1. หมั่นเฝ้าเช้าเย็นเป็นนิจกาล อย่าเกียจคร้านแต่ตามอำเภอใจ คือ เป็นลูกน้องต้องหมั่นไปหาเจ้านายหรือผู้บังคับบัญชาอยู่เสมอ เพราะการไปพบเจ้านายบ่อยๆ จะทำให้เจ้านายจำได้ และยังเป็นโอกาสเรียนรู้งานจากนายด้วย

     2. สิ่งใดพระองค์จะตรัสถาม อย่าเบาความพิดทูลแต่โดยได้ นั่นคือ หากเจ้านาย จะพูดคุยซักถามอะไรก็ตอบให้ตรงประเด็น อย่าพูดมาก หรือเลือกพูดเอาแต่ได้

     3. อย่าแต่งตัวโอ่อวดพระทรงชัย ที่ในพระโรงรัตนา หมอบเฝ้าอย่าก้มอย่าเงยหงาย อย่าเตร่ตร่ายเหลือบแลซ้ายขวา หมายถึง เวลาพบเจ้านายต้องแต่งกายให้ถูกกาละเทศะ ในขณะเดียวกันก็ต้องรู้จักสำรวมกิริยา ไม่ลุกลี้ลุกลน ลอกแลก

     4. พระที่นั่งบัลลังก์อลงการ์ อย่าฝ่าฝืนขึ้นนั่งอิงองค์ แปลตรงตัวก็ว่าที่นั่งของเจ้านาย อย่าขึ้นไปนั่ง นั่นคือ สอนว่าอย่าตีตนเสมอผู้ใหญ่

     5. อันฝูงพระสนมนางใน อย่าผูกจิตพิสมัยใหลหลง ความนัยข้อนี้คือ อย่าไปยุ่งกับของรักของหวงของนาย ไม่ว่าจะเป็นคนหรือของ

     6. จงภักดีต่อใต้บาทบงสุ์ อย่าทะนงว่าทรงพระเมตตา เป็นการสอนให้รู้จักจงรักภักดี ให้ความเลื่อมใสเคารพนับถือต่อผู้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ แขกเมืองอย่าบอกความลับ

     7. อย่าสนิทคำนับคบหา หมายถึง อย่าเอาความลับของหน่วยงานไปบอกแก่ผู้อื่น พูดง่ายๆ คือ อย่าไปสาวไส้ให้กากิน

     8. อันรางวัลให้ปันเสนา อย่ามีใจฉันทาทัดทาน เมื่อทำงานดีได้ปูนบำเหน็จ ก็ควรจัดสรรปันส่วนให้ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานด้วย

     9. แม้นกริ้วโกรธลงโทษผู้ใดอย่าใส่ใจยุยงจงผลาญ หมายถึง เมื่อเจ้านายเกิดโมโหลงโทษหรือดุว่าใครก็อย่าได้ร่วมวงทับถมเพื่อน หรือยุยงให้ลงโทษให้หนักขึ้น และ

     10. อย่าโลภลักราชทรัพย์ศฤคาร พระบรรหารสิ่งใดจงจำความ เป็นการสอนว่าอย่าโลภมาก อย่าริอ่านขโมยหรือยักย้ายถ่ายเทสมบัติของนายหรือของหลวงมาเป็นของตัว

     อ่านต่อ:วิธีไต่บันไดเป็นลูกน้องเบอร์ 1 ในดวงใจเจ้านาย

     จะเห็นว่าแม้คำสอนของพาลีทั้งสิบข้อนี้จะเป็นเรื่องโบราณ แต่ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับปัจจุบันได้ เช่นที่กล่าวมาแล้ว และข้อสำคัญ คนที่สามารถขึ้นมาเป็น "เจ้านาย" ได้ ไม่ว่าระดับไหน ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม ย่อมแสดงว่าเขาผู้นั้นย่อมมี "ความสามารถที่ดี ในทางใดทางหนึ่ง"       
     และหากความสามารถในทางนั้นๆ ของเจ้านาย ไม่เป็นที่ชื่นชอบของเรา ก็ต้องระลึกไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่เราได้เป็น "เจ้านาย" ก็อย่าเป็นแบบที่เราไม่ชอบนั้นๆ ด้วย อย่าเข้าทำนอง "ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง"




ที่มา คมชัดลึก  www.2poto.com

 6428
ผู้เข้าชม
ทำเว็บธุรกิจ ทําเว็บขายของ ออกแบบเว็บไซต์ เว็บไซต์สำเร็จรูป SoGoodWeb

People Management

ไม่พบรายการที่คุณค้นหา
Get started for free today. DEMO FREE 60 DAYS
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์